สาเก
ชื่ออื่นๆ : ขนุนสำปะลอ (ภาคกลาง) สาเก (ภาคกลาง)
ต้นกำเนิด : โพลีนีเซีย
ชื่อสามัญ : Bread Fruit Tree Bread nut Tree
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Artocarpus altilis (Parkinson) Fosberg
ชื่อวงศ์ : MORACEAE
ลักษณะของสาเก
ต้น เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง ไม่ผลัดใบ แตกกิ่งก้านทรงพุ่มแผ่กว้าง มีความสูงได้ประมาณ 10-20 เมตร ลำต้นสีน้ำตาลปนเทา ทุกส่วนของสาเกจะมียางขาว
ใบ ใบเป็นใบเดี่ยวออกสลับกัน ลักษณะใบคล้ายรูปไข่ ใบมีสีเขียวเข้ม ใบใหญ่และหนา มีรอยหยักหรือร่องลึกเกือบถึงก้านกลางใบ (คล้ายใบมะละกอ) ก้านใบเห็นเด่นชัด
ดอก ออกดอกเป็นช่อตามซอกใบใกล้ปลายยอด ดอกมีสีเหลือง ดอกตัวผู้และดอกตัวเมียจะอยู่บนต้นเดียวกัน ช่อดอกตัวผู้มีลักษณะคล้ายกระบองและห้อยลง มีความยาวประมาณ 30 เซนติเมตร ส่วนช่อดอกตัวเมียมีลักษณะกลม แต่จะแยกกันคนละดอก และสามารถออกดอกได้ตลอดทั้งปี
ผล ลักษณะของผลกลมรี ผลมีสีเขียวอมเหลือง ลูกคล้ายขนุน แต่จะลูกเล็กกว่า มีความกว้างประมาณ 15-20 เซนติเมตร ส่วนเนื้อในเป็นสีเหลืองซีดหรือขาวและไม่มีเมล็ด (แต่มีสายพันธุ์หนึ่งที่มีเมล็ด จะเรียกว่า ขนุนสำปะลอ) ให้ผลในช่วงเดือนตุลาคม

การขยายพันธุ์ของสาเก
การปักชำราก
โดยสายพันธุ์ที่ปลูกในบ้านเรานั้นจะแบ่งออกเป็น 2 สายพันธุ์หลัก ๆ ได้แก่
- สาเกพันธุ์ข้าวเหนียว (ผลใหญ่ ผลสุกเนื้อเหนียว นิยมปลูกทั่วไป หรือปลูกไว้ทำขนมสาเก)
- สาเกพันธุ์ข้าวเจ้า (ผลเล็กกว่า เนื้อหยาบร่วน ไม่เป็นที่นิยมปลูก และไม่ค่อยนำมารับประทานมากนัก)
ธาตุอาหารหลักที่สาเกต้องการ
ประโยชน์ของสาเก
- ปลูกเป็นไม้ประดับให้ร่มเงา
- ผลสาเกนำไปต้มหรืออบจะได้เนื้อนุ่มเหมือนก้อนแป้ง ใช้ทำขนม เช่น เชื่อม แกงบวด
- ชาวอินโดนีเซียนำสาเกไปอบกรอบใช้เป็นอาหารว่าง และมีการนำไปป่นเป็นแป้งเพื่อทำขนมปังกรอบ
- เนื้อสาเกมีพลังงานสูง ให้แคลเซียมและวิตามินเอสูง ช่วยป้องกันโรคหัวใจและกระดูกพรุน ผลแก่ใช้ทำขนมปัง โดยหั่นเป็นชิ้นบางๆตากแดดหรืออบแห้ง
- ในฟิลิปปินส์นำผลสาเกต้มสุกกินกับน้ำตาลและมะพร้าวขูดฝอย หรือเคลือบน้ำตาลแล้วทำให้แห้ง
- ใบและผลใช้เป็นอาหารสัตว์
- ยางสาเกนิยมใช้เป็นชันยาเรือและใช้ดักนก
- ก้านดอกตัวผู้มีเส้นใยนำมาผสมกับใยปอสาใช้ทอผ้า
- เปลือกลำต้นมีเส้นใย ใช้ทอผ้าได้เช่นกัน
- เนื้อไม้ใช้ทำเรือแคนู กระดานโต้คลื่น หีบและลังไม้

สรรพคุณทางยาของสาเก
เปลือกต้น มีสรรพคุณช่วยปรับสมดุลในร่างกาย
คุณค่าทางโภชนาการของสาเก
การแปรรูปของสาเก
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=11368&SystemType=BEDO
https://www.flickr.com
2 Comments