หญ้าไทร ลำต้นทอดเลื้อยไปตามพื้นดินหรือในน้ำ เป็นแหล่งอาหารสัตว์ตามธรรมชาติ

หญ้าไทร

ชื่ออื่นๆ : หญ้าคมบาง(นครศรีธรรมราช) ;หญ้าทราย ,หญ้าไทร (กรุงเทพฯ)

ต้นกำเนิด : พบขึ้นอยู่ริมน้ำ ในหนองน้ำ ที่ชุ่มชื้น ดินร่วน ดินเหนียว พื้นที่มีความสูงเหนือระดับน้ำทะเลตั้งแต่ 35 เมตร 

ชื่อสามัญ :

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Leersia hexandra (L.)

ชื่อวงศ์ : Gramineae 

ลักษณะของหญ้าไทร

ต้น เป็นหญ้าอายุหลายปี (perennial) ชอบขึ้นอยู่ที่ริมน้ำ ที่ชุ่มชื้น มีรากยาวและมีเหง้าใต้ดิน (rhizome) ที่แข็งแรง ลำต้นทอดเลื้อย (trailing) ไปตามพื้นดินหรือในน้ำ แตกรากตามข้อ ต้นสูง 96.82- 118.38 เซนติเมตร ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางลำต้น 1.35- 1.81 มิลลิเมตร ลำต้นสีเขียวอมน้ำตาล กลม เรียบ ข้อมีขนสีขาวคลุมรอบๆ

ใบ ใบเป็นแบบรูปใบแถบ (linear) โคนใบสอบเรียว ปลายใบเรียวแหลม (acuminate) ใบยาว 13.5- 17.04 เซนติเมตร กว้าง 0.59- 0.97 เซนติเมตร ใบสีเขียว ผิวใบหยาบสากมือและไม่มีขน เส้นกลางใบด้านหลังเป็นสันเล็กยาวตลอด ขอบใบหยักแบบขนครุย (ciliate) กาบใบสีเขียว เรียบ กาบใบยาว 5.21- 6.75 เซนติเมตร ลิ้นใบเป็นแผ่นเยื่อเรียบ (membranous entire) ยาว 1.5- 2 มิลลิเมตร ยอดอ่อนโผล่แบบม้วน

ดอก ออกดอกเดือนกุมภาพันธ์ – ธันวาคม ช่อดอกออกที่ปลายยอดแบบช่อแยกแขนง (panicle) ช่อดอกยาว 13- 21 เซนติเมตร ส่วน Head ยาว 2.5- 4 เซนติเมตร กลุ่มดอกย่อย (spikelet) รูปรี ยาว 3- 4 มิลลิเมตร มีกาบหุ้ม (glume) ที่มีขนหยาบสั้นๆ กลุ่มดอกย่อยขึ้นเรียงตามกันอยู่บนแกนช่อดอกย่อยด้านเดียว แต่ละกลุ่มประกอบด้วยดอก (floret) ที่มี Lemma หุ้มและไม่มีหาง (awnless) เป็นดอกสมบูรณ์ (fertile) อับเรณูสีเหลือง ดอกแก่ร่วงง่าย

ผล รูปยาว ติดเมล็ดน้อยมาก มักร่วงไปพร้อมกับดอก

ต้นหญ้าไทร
ต้นหญ้าไทร ลำต้นทอดเลื้อยไปตามพื้นดินหรือในน้ำ

การขยายพันธุ์ของหญ้าไทร

ใชเมล็ด

ธาตุอาหารหลักที่หญ้าไทรต้องการ

ประโยชน์ของหญ้าไทร

เป็นแหล่งอาหารสัตว์ตามธรรมชาติสำหรับแทะเล็ม ของโค กระบือ

สรรพคุณทางยาของหญ้าไทร

โบราณว่าทั้งต้นมีรสจืดขื่น ต้มน้ำดื่มเป็นยาขับปัสสาวะ ขับฟอกโลหิตประจำเดือนของสตรี แก้โลหิตประจำเดือนเป็นลิ่ม เป็นก้อนแข็ง ดำเน่าเหม็น ซึ่งทำให้เจ็บปวดตามท้องน้อยและบั้นเอว และขับฟอกพิษในตับ

คุณค่าทางโภชนาการของหญ้าไทร

หญ้าอายุ 45 วัน มีค่า โปรตีน 13.98 เปอร์เซ็นต์ เยื่อใยส่วน ADF 31.30 เปอร์เซ็นต์ NDF 60.95 เปอร์เซ็นต์ แคลเซียม 0.39 เปอร์เซ็นต์ ฟอสฟอรัส 0.27 เปอร์เซ็นต์ โปแตสเซียม 1.90 เปอร์เซ็นต์ เฮมิเซลลูโลส 31.02 เปอร์เซ็นต์ เซลลูโลส 26.77 เปอร์เซ็นต์ ลิกนิน 4.1 เปอร์เซ็นต์

การแปรรูปของหญ้าไทร

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th
http:// nutrition.dld.go.th
https://www.flickr.com

Add a Comment