อัคคีทวาร ทั้งต้นมีสรรพคุณรักษากลากเกลื้อน โรคเรื้อน

อัคคีทวาร

ชื่ออื่นๆ : ตรีชะวา (ภาคกลาง) ตั่งต่อ ปอสามเกี๋ยน สามสุม (ภาคเหนือ) พรายสะเลียง สะเม่าใหญ่ (นครราชสีมา) หลัวสามเกียน (เชียงใหม่) อัคคี (สุราษฎร์ธานี) อัคคีทวาร (ภาคกลาง, เชียงใหม่)

ต้นกำเนิด :

ชื่อสามัญ : The White Shrimp Plant.

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Clerodendrum serratum L. var. wallichii C.B.clarke

ชื่อวงศ์ : VERBENACEAE

ลักษณะของอัคคีทวาร

ไม้พุ่มขนาดเล็ก สูง 1 – 4 เมตร ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม รูปขอบขนาน รูปขอบขนานแกมใบหอก หรือรูปใบหอกแกมรูปไข่กลับ กว้าง 4 – 6 ซม. ยาว 15 – 20 ซม. ขอบใบหยักฟันเลื่อย ดอกช่อ ออกที่ปลายกิ่ง กลีบดอก 5 กลีบ กลีบกลางสีม่วงเข้ม กลีบข้างสี่กลีบสีฟ้าสด รูปค่อนข้างกลม หรือรูปไข่กลับกว้าง เมื่อสุกสีม่วงเข้มหรือดำ
ส่วนที่ใช้ : ทั้งต้น ใบแห้ง ผล ราก

อัคคีทวาร
อัคคีทวาร ใบรูปขอบขนาน รูปขอบขนานแกมใบหอก . ขอบใบหยักฟันเลื่อย
ดอกอัคคีทวาร
ดอกอัคคีทวาร ออกที่ปลายกิ่ง กลีบดอก 5 กลีบ กลีบกลางสีม่วงเข้ม

การขยายพันธุ์ของอัคคีทวาร

ใช้หัว/เหง้า/หน่อ/-

ธาตุอาหารหลักที่อัคคีทวารต้องการ

ประโยชน์ของอัคคีทวาร

ชาวลั้วะจะใช้ยอดอ่อนและดอกนำมารับประทานสดร่วมกับน้ำพริก หรือนำไปลวกแล้วนำไปยำ หรือใช้ประกอบอาหาร เช่น แกง หรือผัด เป็นต้น ส่วนคนอีสานจะนำช่อดอกของต้นอัคคีทวารมาหมกไฟหรือย่างกินกับซุปหน่อไม้ แกงหน่อไม้ หมกหน่อไม้

สรรพคุณทางยาของอัคคีทวาร

ทั้งต้น – รักษากลากเกลื้อน โรคเรื้อน
วิธีและปริมาณที่ใช้ : ใช้ใบ และต้น ตำพอกรักษากลากเกลื้อน โรคเรื้อน พอกแก้ปวดศีรษะเรื้อรัง และแก้ขัดตามข้อ และดูดหนอง

คุณค่าทางโภชนาการของอัคคีทวาร

การแปรรูปของอัคคีทวาร

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=11493&SystemType=BEDO
https://www.flickr.com

Add a Comment