เล็บครุฑหลวง
ชื่ออื่นๆ : เล็บครุฑใบกุหลาบ
ต้นกำเนิด :
ชื่อสามัญ : Variegated Rose – leaf Panax
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Polyscias paniculata Baker
ชื่อวงศ์ : ARALIACEAE
ลักษณะของเล็บครุฑหลวง
ต้น : ไม้พุ่มขนาดเล็กลำต้นอ่อน ส่วนยอดมีสีเขียวลายสีน้ำตาลอ่อนและเข้ม ลำต้นเมื่อแก่จะเปลี่ยนเป็น สีน้ำตาลอ่อน ลำต้นเป็นข้อ ลักษณะขรุขระ ไม่มียาง
ใบ : ใบคล้ายใบกุหลาบ ส่วนโคนใบสอบเข้า ปลายใบยาวเรียวแหลม ขอบริมใบหยักย่อยละเอียด พื้นผิวของใบสีเขียวเข้มเป็นด่างสีขาวครีม ก้านใบส่วนบนเป็นกาบ ก้านใบสีเขียวอ่อนมีลายสีน้ำตาลไหม้ ขนาดใบกว้าง 7 ซ.ม. ยาว 10 ซ.ม.


การขยายพันธุ์ของเล็บครุฑหลวง
การตอนกิ่ง, การปักชำ
ธาตุอาหารหลักที่เล็บครุฑหลวงต้องการ
เจริญเติบโตได้ดีในดินที่อุดมสมบูรณ์ร่วนซุย หรือดินปนทรายที่มีการระบาย น้ำได้ดี ชอบแสงแดดอ่อนหรือเพียงรำไร
ประโยชน์ของเล็บครุฑหลวง
- นิยมปลูกเป็นไม้กระถางประดับภายในอาคาร หรืออาจปลูกลงดินตามมุมบ้าน ประดับสวนในที่ร่มรำไร
- ยอด ใบอ่อน รับประทานเป็นผักสดร่วมกับลาบ

สรรพคุณทางยาของเล็บครุฑหลวง
–
คุณค่าทางโภชนาการของเล็บครุฑหลวง
การแปรรูปของเล็บครุฑหลวง
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=9937&SystemType=BEDO
http:// area-based.lpru.ac.th
http:// nwk.ac.th