เสลดพังพอน
ชื่ออื่นๆ : ชองระอา, เสลดพังพอนตัวผู้, พิมเสนต้น (ภาคกลาง) ทองระอา, ช้องระอา, ลิ้นงูเห่า, เสลดพังพอนตัวผู้ (กรุงเทพฯ) คันชั่ง (ตาก) อังกาบ, อังกาบเมือง (ไทย) ก้านชั่ง (พายัพ) เซ็กเซเกี่ยม (จีน)
ต้นกำเนิด :
ชื่อสามัญ : เสลดพังพอน
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Barleria Lupulina Lindl.
ชื่อวงศ์ : Acanthaceae
ลักษณะของเสลดพังพอน
ต้น ไม้พุ่ม สูงประมาณ 1 – 2 เมตร แตกกิ่งก้านสาขามากมาย ลำต้นมีหนามสีน้ำตาลคู่ ตามข้อและโคนใบ กิ่งก้านมีสีน้ำตาลแดงอมเขียว
ใบ เป็นไม้ใบเดี่ยว ออกตรงข้ามกันเป็นคู่ ๆ ลักษณะของใบเรียวแคบ ปลายใบแหลม โคนใบเรียวเล็กจนถึงก้านใบ ขอบใบเรียบ ผิวใบเกลี้ยง พื้นใบมีสีเขียวเข้มและมัน ก้านใบตลอดจนเส้นกลางใบสีแดง ใบยาวประมาณ 1.5 – 3.5 นิ้ว ก้านใบสั้น และที่โคนก้านมีหนามแหลมหนึ่งคู่สีม่วงชี้ลง
ดอก ออกดอกเป็นช่อตามยอดหรือปลายกิ่ง ดอกมีใบประดับขนาดใหญ่ซึ่งจะเรียงกันเป็นรูปทรงกระบอกสีเขียว ปลายใบสีม่วงแดง เมื่อดอกยังอ่อนมีใบประดับหุ้มมิด เมื่อดอกบานจะโผล่เลยใบประดับออกมาครึ่งหนึ่ง ใบประดับรูปกลมรี ตอนปลายมีสีน้ำตาลอมแดง กลีบรองกลีบดอกสีเขียวมี 5 กลีบ กลีบดอกสีเหลืองจำปา ตรงโคนเป็นหลอดตรงปลายแยกเป็น 5 กลีบ แบ่งออกเป็นกลีบบนและล่าง กลีบบนจะมี 3 กลีบ และใหญ่กว่ากลีบล่าง 2 กลีบ
ผล เป็นฝัก รูปมนรี แบนและยาว โคนกว้าง ปลายแหลม ภายในผลมีเมล็ด 2 – 4 เมล็ด


การขยายพันธุ์ของเสลดพังพอน
ใช้กิ่ง/ลำต้น
ใช้วิธีตัดลำต้นปักชำ ตัดท่อนพันธุ์เป็นท่อน ยาวท่อนละ 1-2 คืบ ปักชำในแปลงที่เตรียมไว้ หรือปักชำในที่ชุ่มชื้นก่อน เมื่อออกรากดีแล้วค่อยย้ายไปลงที่แปลง
ธาตุอาหารหลักที่เสลดพังพอนต้องการ
ประโยชน์ของเสลดพังพอน
–
สรรพคุณทางยาของเสลดพังพอน
- ใบ ตำผสมน้ำข้าวสารใช้พอกหรือทาแผลแมลงกัดต่อยเพื่อแก้พิษ หรือเป็นลมพิษ หรือต้มกิน ช่วยลดอาการจากไข้มาลาเรีย มีรสขมมาก แก้พิษแมลงสัตว์กัดต่อย เช่น ผึ้ง แมงป่อง ตะขาบ แผลฟกช้ำจากการกระทบกระแทก หรือแผลมีเลือดออก ให้ใช้ใบตำพอกหรือผสมกับเหล้าตำพอก และอาจจะใช้ต้มน้ำกินทำให้เลือดไหลเวียนดี
- ต้น ปลูกเป็นแนวรั้วป้องกันงู
- ราก รสจืดเย็น ฝนกับสุราดื่ม และทาแก้พิษงู แมลงสัตว์กัดต่อย

คุณค่าทางโภชนาการของเสลดพังพอน
การแปรรูปของเสลดพังพอน
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=9300&SystemType=BEDO
www.pharmacy.su.ac.th
7 Comments