แสมสาร แก่นและลำต้นเป็นยาระบาย ถ่ายเสมหะ

แสมสาร

ชื่ออื่นๆ : ขี้เหล็กโครก ขี้เหล็กแพะ (ภาคเหนือ) ขี้เหล็กป่า (ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) แสมสาร(ภาคกลาง) ขี้เหล็กสาร (นครราชสีมา ปราจีนบุรี) กราบัด กะบัด (นครราชสีมา)

ต้นกำเนิด :

ชื่อสามัญ : Samae saan.

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Senna garrettiana (Craib) Irwin & Barneby.

ชื่อวงศ์ : LEGUMINOSAE-CAESALPINIOIDEAE

ลักษณะของแสมสาร

ต้น  ไม้ต้นขนาดกลาง ผลัดใบ  สูง 7-13 เมตร เรือนยอดเป็นพุ่มกลมแน่นทึบ

ใบ  เป็นใบประกอบแบบขนนก ออกสลับ มีใบย่อย 6-9 คู่ ลักษณะใบรูปใบหอกหรือรูปไข่ค่อนข้างป้อม  กว้าง 3-5 ซม. และยาว 6-10 ซม. ปลายใบเรียวแหลม โคนใบกลม ใบหนามีสีเขียวสด

ดอก   ออกดอกเป็นช่อที่ปลายกิ่ง ยาวประมาณ 8-20 ซม. มีขนสีน้ำตาลเหลืองหนาแน่น ดอกมีจำนวนมากสีเหลือง และมักบิด กลีบดอก 5 กลีบรูปไข่กลับ เมื่อบานเส้นผ่านศูนย์กลาง 3-4 ซม. ออกดอกช่วงเดือนพฤษภาคม ถึงกรกฎาคม

ผล  เป็นฝักแบนรูปบรรทัด มักบิด กว้าง 2-4 ซม. และะยาว 15-20 ซม. ผนังฝักค่อนข้างบาง เกลี้ยง ไม่มีขน เมื่อแก่แตกได้ ฝักหนึ่งมีเมล็ดประมาณ 20 เมล็ด ขนาดกว้าง 5 มม. ยาว 1 ซม. สัน้ำตาล กระพี้สีขาวนวล

แสมสาร
แสมสาร ใบรูปหอก สีเขียวหนา ปลายใบเรียวแหลม ดอกสีเหลือง

การขยายพันธุ์ของแสมสาร

การเพาะเมล็ด

ธาตุอาหารหลักที่แสมสารต้องการ

ประโยชน์ของแสมสาร

  • ดอกอ่อนและใบอ่อนใช้รับประทานเป็นผักได้ แต่ต้องนำมาต้มเพื่อลดความขมลงก่อนจะนำไปแกง คล้ายกับแกงขี้เหล็ก
  • เนื้อไม้แสมสารมีความทนทาน เหนียว เสี้ยนตรง ไม่หักง่าย และไม่แข็งมากจนเกินไป

สรรพคุณทางยาของแสมสาร

แก่นและลำต้น รสขม เป็นยาระบาย ถ่ายเสมหะ แก้กษัย ทำให้เส้นหย่อน ถ่ายโลหินระดูสตรี โดยมากจะใช้ร่วมกับ
แกนแสมทะเล และแกนขี้เหล็ก

วิธีใช้และปริมาณที่ใช้
ขับโลหิตระดูสตรี ยาระบาย โดยใช้แกนแสมสารและแกนขี้เหล็กรวมกันอย่างละเท่าๆกัน ประมาณ 2 กำมือ หรือประมาณ 40 กรัม ต้มในน้ำสะอาด 1 ลิตร เคี่ยวให้เหลือ 3 ใน 4 ส่วน กรองเอาน้ำดื่ม วันละ 2-3 เวลาก่อนอาหาร

คุณค่าทางโภชนาการของแสมสาร

การแปรรูปของแสมสาร

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=9618&SystemType=BEDO
http://www.botany.sc.chula.ac.th

2 Comments

Add a Comment