โรคไหม้ของข้าว
โรคไหม้ (Blast Disease) สาเหตุ เกิดจากเชื้อรา Pyricularia oryzae cav ซึ่งสามารถทําลายข้าวได้ทุก ระยะตั้งแต่เริ่มปลูก จนถึงเก็บเกี่ยว โรคไหม้จะเกิดขึ้นและแพร่ระบาดได้รุนแรง ถ้ามีสภาพแวดล้อมเหมาะสม คือ
- ใช้พันธุ์ข้าวอ่อนแอต่อโรค เช่น ขาวตาแห้ง เหนียวอุบล หนียวสันป่าตอง กข6 และ กข 23
- ความชื้นค่อนข้างสูง ตั้งแต่ 80% ขึ้นไป โดยเฉพาะในช่วงบ่ายถึงเช้าวันรุ่งขึ้น
- อุณหภูมิที่เหมาะสมคือ ระหว่าง 22-28 องศาเซลเซียส
- ใช้เมล็ดพันธุ์อัตราสูง เช่น 30 กิโลกรัม/ไร่ ใส่ปุ๋ย อัตราสูง 60-80 กิโลกรัม/ต่อไร่

ลักษณะอาการ
ระยะกล้า ที่ใบมีแผลจุดสีน้ำตาลลักษณะคล้ายรูปตาสีเทาอยู่ตรงกลางแผลมีขนาดแตกต่างกันไป ความกว้างระหว่าง 2-5 มิลลิเมตร และความยาวประมาณ15-20 มิลลิเมตร จุดแผลนี้สามารถขยายลุกลามจนแผลรวมกันทั่วบริเวณใบในกรณีที่โรครุนแรง กล้าข้าวจะแห้ง และฟุบตาย อาการคล้ายถูกไฟไหม้ (blast)
ระยะแตกกอ อาการของโรคพบได้ที่ใบ กาบใบข้อต่อของใบและข้อต่อของลําต้น ขนาดของแผลจะใหญ่กว่าที่พบในระยะกล้าแผลลุกลามติดต่อกันได้ ที่บริเวณข้อต่อใบจะมีลักษณะแผลช้ำสีน้ำตาลดำและใบมักหลุดจากกาบใบเสมอ
ระยะคอรวง ถ้าข้าวเพิ่งจะเริ่มให้รวง เมื่อถูกเชื้อรานี้เข้าทําลาย เมล็ดจะลีบหมดแต่ถ้าเชื้อราเข้าทําลายตอนรวงข้าวแก่ใกล้เก็บเกี่ยวคอรวงจะปรากฎรอยแผลช้ำสีน้ำตาลทําให้เปราะหักพับง่าย รวงข้าว ร่วงหล่นเสียหายมาก
ในปัจจุบันในแหล่งที่มีการทํานามากกว่าปีละครั้ง จะพบโรคนี้แพร่ระบาดเป็นประจํา โดยเฉพาะในแหลงที่ปลูกข้าวหนาแน่น อับลม ใสปุ๋ยสูงและมีสภาพแห้งแล้งในตอนกลางวัน ชื้นจัดในตอนกลางคืน
ถ้าต้นข้าวอยู่ในระยะเจริญเติบโตและสภาพอากาศมีลมพัดแรงและหนาวจัดเป็นเวลาติดต่อกันหลายวันจําทําให้ต้นข้าวชะงักการเจริญเติบโต ใบจะม้วนและเหลือง ต้นแคระแกร็น หากข้าวอยู่ในระยะตั้งท้องจะผสมไม่ติดทําให้เมล็ดลีบ
การป้องกันกำจัด
- ปลูกพันธุ์ข้าวต้านทานต่อโรค เช่น กข.7 กข.13 ชัยนาท 1 สุพรรณบุรี 60 สุพรรณบุรี 90 พิษณุโลก 60-2 หางยี 71 และเหมยนอง
- อย่าปลูกข้าวหนาแน่นมากเกินไป และอย่าใส่ปุ๋ยไนโตรเจนมากเกินไป
- ในแหล่งที่เคยมีการระบาดควรคลุกหรือแช่เมล็ดพันธุ์ข้าวด้วยสารเคมีก่อนปลูก เช่น คาร์เบนดาซิม คาซูก้าไมซิน ไตรไซคาร์โซล คาร์เบนดาซิม + แมนโคเซ็บ โดย
– คลุกเมล็ดพันธุ์ข้าว ด้วยสารเคมีก่อนปลูกในอัตราส่วน สารเคมีประมาณ 20-30 กรัมต่อข้าว 1 ถัง (10 กิโลกรัม) คลุกแล้วเก็บไว้นาน 2-3 สัปดาห์ จึงนําไปปลูกหรือ
-แช่เมล็ดพันธุ์ข้าวด้วยสารเคมีก้อนปลูกในอัตราส่วนสารเคมี 10-15 กรัมต่อน้ำ 5 ลิตร โดยแช่ทิ้งไว้ประมาณ 24-48 ชั่วโมง จึงนําไปปลูก - เกษตรกรควรตรวจแปลงปลูกบ่อย ๆ เมื่อต้นข้าวอยูในระยะแตกกอสูงสุด หรือระยะให้รวงเมื่อพบโรครุนแรง ควรฉีดพ่นด้วยสารเคมีกำจัดเชื้อรา เช่น ไตรโซคาร์โซล คาร์เยนดาซิมบีโนมิล+ไธแรมไตรโฟรีน ไอบีพี
หมายเหตุ
การใช้สารเคมีป้องกันและกําจัดศัตรูพืชทุกชนิดควรระมัดระวัง เพราะอาจเกิดอันตรายแก่ผู้ใช้ได้หากปฏิบัติไม่ถูกต้อง เกษตรกรที่ต้องคําแนะนําในการใช้สารเคมีป้องกันและกําจัดศัตรูพืชที่ถูกต้องและปลอดภัย สอบถามรายละเอียดได้ที่เกษตรตําบลสํานักงานเกษตรอําเภอ ฝ่ายป้องกันและกําจัดศัตรูพืช สํานักงานเกษตรจังหวัด สํานักงานส่งเสริมการเกษตรภาคในท้องที่ของท่านได้ทุกแห่ง หรือที่กองป้องกันและกําจัดศัตรูพืช กรมส่งเสริมการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ :
http://www.eto.ku.ac.th
https://www.flickr.com
One Comment