เลี่ยน ดอกและผล ถ้ารับประทานเข้าไปทำให้ท้องร่วง

เลี่ยน

ชื่ออื่นๆ : เลี่ยน, เคี่ยน, เลี่ยนใบใหญ่ (ภาคกลาง) เกรียน, เฮี่ยน  (ภาคเหนือ)

ต้นกำเนิด :

ชื่อสามัญ : Bastard Cedar, Persian Lilac

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Melia azedarach L.

ชื่อวงศ์ : Meliaceae

ลักษณะของเลี่ยน

ต้น ไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ ตระกูลเดียวกันกับสะเดา ลักษณะลำต้นและใบมีความใกล้เคียงกันกับสะเดา มีความสูงประมาณ 20-30 เมตร เป็นต้นไม้ที่มีการเจริญเติบโตเร็ว แตกกิ่งก้านออกไปรอบ ๆ ลำต้นเป็นจำนวนมาก เปลือกผิวลำต้นมีสีน้ำตาล มีแผลเป็นร่องตามยาว ลำต้นเจริญขึ้นตรง ทรงพุ่มกลมรูปกรวยโปร่ง

ใบ ใบออกเป็นช่อ ช่อหนึ่งมีใบอยู่ประมาณ 3-5 ใบ ช่อใบยาวประมาณ 12 – 15 เซนติเมตร ลักษณะของใบย่อย ปลายใบแหลมเรียวโคนใบสอบขอบใบหยักแบบฟันเลื่อย บนใบเกลี้ยงสีเขียวส่วนล่างของใบมีขนสีเขียวอ่อนเห็นเส้นใบชัด ขนาดความกว้างของใบประมาณ 3-5 เซนติเมตร ยาวประมาณ 3-6 เซนติเมตร

ดอก ออกดอกเป็นช่อ เป็นกระจุกใหญ่ออกตามปลายกิ่งที่ง่าม ใบ ดอกมีฐานรองดอกเล็กมีกลีบดอก 5-6 กลีบ ดอกมีสีม่วงอ่อนหรือสีฟ้า กลิ่นหอม

ผล ผลกลม รี สีเขียวมีขนาดโตประมาณ 0.5 เซนติเมตร เมื่อแก่จะเปลี่ยนเป็นสีเหลือง ภายในผลมีเมล็ดประมาณ 4-5 เมล็ด

ต้นเลี่ยน
ต้นเลี่ยน ไม้ต้นขนาดใหญ่ แตกกิ่งก้านออกไปรอบ ๆ ลำต้น
ผลเลี่ยน
ผลเลี่ยน ผลกลม รี สีเขียว

การขยายพันธุ์ของเลี่ยน

การใช้เมล็ด

ธาตุอาหารหลักที่เลี่ยนต้องการ

ประโยชน์ของเลี่ยน

  • ยอดและใบอ่อน นำมาเผาเพื่อลดความขม รับประทานเป็นผักแกล้มกับ ลาบ น้ำพริก
  • เนื้อไม้ มีลวดลายใช้ทำกระดาน ปุฝาหนัง ทำด้ามแร็กเกต ทำไม้อัด
  • เปลือก ใช้ทำเชือกชนิดหยาบ
  • ใบ ให้สีเขียวใช้ย้อมผ้า

สรรพคุณทางยาของเลี่ยน

สรรพคุณ :

  • ทุกส่วนของต้นเลี่ยน รสขม เมา แก้โรคผิวหนัง แก้โรคเรื้อนและกุดถัง ทำให้ผิวหนังดำเกรียมแล้วลอกเป็นขุย เป็นยาอายุวัฒนะ ทำให้ร่างกายแข็งแรง
  • ยาง – แก้ม้ามโต
  • เมล็ด – แก้ปวดในข้อ
  • ผล – แก้โรคเรื้อนและฝีคันทะมาลา
  • ดอก – แก้โรคผิวหนัง
  • น้ำคั้นจากใบ – ขับพยาธิ ขับปัสสาวะ แก้นิ่ว บำรุงโลหิต ประจำเดือน
  • ดอกและใบ – พอกแก้ปวดศีรษะ ปวดประสาท
  • เปลือกต้น – รักษาเหา

วิธีและปริมาณที่ใช้

  • ทาแก้โรคผิวหนัง โรคเรื้อน กุดถึง
    ใช้ดอก 1 ช่อเล็ก หรือ ผล 5-7 ผล
    เอาดอกหรือผลตำให้ละเอียด เติมน้ำมันพืช แล้วใช้ทาบริเวณที่เป็นวันละ 2-3 ครั้ง ติดต่อกันจนกว่าจะหาย
  • ใช้รักษาเหา
    ใช้เปลือกต้นประมาณครึ่งฝ่ามือ หรือ ผลที่โตเต็มที่สดๆ 10-15 ผล โขลกให้ละเอียด เติมน้ำมันมะพร้าว 3-4 ช้อนแกง ชะโลมผมที่เป็นเหาทิ้งไว้ 1 ชั่วโมง แล้วสระให้สะอาดติดต่อกัน 2-3 วัน
  • ใช้เป็นยาฆ่าแมลงและไล่แมลง
    ใช้ใบเปลือกแห้งต้มกับน้ำ ใช้ฉีดไล่ตั๊กแตนและตั๊กแตนห่า
  • ผล ใช้เบื่อปลา
    โดยใช้ผล ตำๆ แล้วเทลงในบ่อปลา จะฆ่าปลาได้ เป็นพิษต่อตัวมวน มวนชอบทำอันตรายต่อผลส้ม เป็นพิษต่อคน (ถ้ารับประทานถึงขนาดหนึ่งจะทำให้อาเจียนและท้องเดิน)

สารเคมี : มีสารกลุ่มแอลคาลอยด์ ชื่อ Azadirachtin, Toosendanin ในส่วนผลยังพบ Bakayknin, Steroid สารขมชื่อ Margosine, Fixed oil และกำมะถัน

ข้อควรระวัง ดอกและผล ถ้ารับประทานเข้าไปทำให้ท้องร่วง อาเจียน กระเพาะอาหารอักเสบ ชัก เป็นอัมพาตได้โดยเฉพาะในเด็ก

ดอกเลี่ยน
ดอกเลี่ยน ดอกมีสีม่วงอ่อนหรือสีฟ้า กลิ่นหอม

คุณค่าทางโภชนาการของเลี่ยน

การแปรรูปของเลี่ยน

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=11642&SystemType=BEDO
ภาพประกอบ : www.flickr.com

Add a Comment