ผักเชียงดา
ชื่ออื่นๆ : เชียงดา, เจียงดา, ผักเจียงดา, ผักเซียงดา, ผักกูด, ผักจินดา, ผักเซ่งดา, ผักม้วนไก่, ผักเซ็ง, ผักว้น, ผักฮ่อนไก่, ผักอีฮ่วน, เครือจันปา
ต้นกำเนิด : ผักพื้นบ้านที่พบมากในภาคเหนือของประเทศไทย
ชื่อสามัญ : ผักเชียงดา
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Gymnema inodorum (Lour.) Decne
ชื่อวงศ์ : APOCYNACEAE
ลักษณะของผักเชียงดา
ต้น เป็นไม้เถาเลื้อย เส้นผ่าศูนย์กลาง 0.5-5 ซม. เลื้อยพาดไปตามต้นไม้ใหญ่ ยาวประมาณ 5-10 เมตรมียางสีขาว ใบเดี่ยว รูปกลมรี ปลายแหลม ใบสีเขียวเข้ม ฐานใบแหลมเรียบ ไม่มีขน ขอบใบเรียบ หรือมีคลื่นเล็กน้อย หน้าใบเขียวเข้มกว่าหลังใบ ใบออกจากข้อเรียงเป็นคู่ตรงข้ามกัน ดอก กลมเล็ก ๆ ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 5-6 มม. รวมกันเป็นช่อแน่นสีขาวอมเขียวอ่อน
พันธุ์ที่พบมากคือ ผักเชียงดาสายพันธุ์ Gymnema inodorum ผักเชียงดานำไปประกอบอาหารได้หลากหลาย จึงทำให้ได้รับความนิยมจากคนในพื้นที่มาก ส่วนรากและใบของผักเชียงดามี Gymnemic acid ช่วยสกัดกั้นสารน้ำตาลตัวจริงที่เข้ามาสู่ร่างกายได้ และยังสามารถช่วยควบคุมสมดุลของระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานทั้งชนิดที่พึ่งอินซูลินและชนิดไม่พึ่งอินซูลิน

การขยายพันธุ์ของผักเชียงดา
ใช้เมล็ด, ปักชำ
ธาตุอาหารหลักที่ผักเชียงดาต้องการ
ประโยชน์ของผักเชียงดา
ใบอ่อนและยอดอ่อนของผักเชียงดาสามารถนำมาเป็นอาหาร ทั้งผักลวกจิ้มน้ำพริก ผัดใส่ไข่ หรือใส่ในแกงและสามารถแกงร่วมกับผักเสี้ยวได้
สรรพคุณทางยาของผักเชียงดา
- ช่วยลดน้ำตาล
- แก้ไข้และแก้หวัด
- ใช้รักษาอาการท้องผูกและโรคริดสีดวงทวาร
- ช่วยกำจัดสารพิษต่างๆ ที่ตกค้างในร่างกาย
- ช่วยฟื้นฟูและบำรุงตับอ่อนให้แข็งแรง
- ช่วยลดน้ำหนัก
- ช่วยบรรเทาอาการปวดข้อและปวดกระดูก
- ช่วยบรรเทาอาการภูมิแพ้และโรคหอบหืด
สารสำคัญในผักเชียงดาที่ช่วยลดน้ำตาลในเลือด เป็นกลุ่มไตรเทอปินอยด์ซาโปนินหลายชนิด เช่น กรดที่มีชื่อเคมียาว ( 3 bet, 4 alpha , 16 beta)-16, 23, 28-trihydroxyolean-12-ene-3-yl-beta-D-glucopyranuronic acid และอนุพันธ์ของกรดนี้อีกหลายชนิด ซึ่งสารสำคัญเหล่านี้จะช่วยต้านการดูดซึมน้ำตาลจากลำไส้ โดยไม่มีรสฝาดและขมจนเกินไป ทั้งยังไม่กดความหวานด้วย นอกจากนั้นยังพบปริมาณวิตามินซีและวิตามินอีสูง รวมทั้งคาโรทีนอยด์และสารกลุ่มฟีนอลิค ซึ่งทำให้ผักเชียงดามีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระสูงมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งน้ำคั้นใบสด
การวิจัยที่เกี่ยวข้อง
การวิจัยของนักวิจัยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ใช้อาสาสมัครที่มีสุขภาพปกติรับประทานผักเชียงดาพบว่า ลดปริมาณน้ำตาลในเลือดได้และการบริโภคติดต่อกันนาน 28 วันไม่ทำให้เกิดอาการน้ำตาลต่ำกว่าปกติหรือตับอักเสบ

คุณค่าทางโภชนาการของผักเชียงดา
คุณค่าทางโภชนาการของผักเชียงดาปริมาณ 100 กรัม ให้พลังงาน 70 กิโลแคลอรี
- น้ำ 82.9 กรัม
- โปรตีน 5.4 กรัม
- ไขมัน 1.5 กรัม
- คาร์โบไฮเดรต 8.6 กรัม
- กากใยอาหาร 2.5 กรัม
- เถ้า 1.6 กรัม
- แคลเซียม 78 มิลลิกรัม
- แคลเซียม 78 มิลลิกรัม
- ธาตุเหล็ก 2.3 มิลลิกรัม
- วิตามินเอ 984 ไมโครกรัม
- วิตามินซี 153 มิลลิกรัม
- เบต้าแคโรทีน 5,905 ไมโครกรัม
- ไทอะมีน 0.12 มิลลิกรัม
- ไรโบฟลาวิน 0.35 มิลลิกรัม
- ไนอะซิน 1.0 มิลลิกรัม
การแปรรูปของผักเชียงดา
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=11462&SystemType=BEDO
www.wattano.ac.th
www.ananhosp.go.th
www.stri.cmu.ac.th
www.flickr.com
ใครต้องการ เมล็ด ผักเชียงดา ไปปลูกต่อ
แจ้งได้นะ
https://www.kasettambon.com/webboard/viewforum.php?f=106