กล้วยไข่พระตะบอง
ชื่ออื่นๆ : กล้วยไข่บอง, หอมเบา, เจ็กบอง (สุรินทร์)
ต้นกำเนิด : เอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ชื่อสามัญ : Kluai Khai Phra Tabong
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Musa (AAA) ‘Khai Phra Tabong’
ชื่อวงศ์ : MUSACEAE
ลักษณะของกล้วยไข่พระตะบอง
ต้น ลำต้นเทียมสูง 3.5-4.0 ม. เส้นผ่านศูนย์กลางลำต้นเทียมมากกว่า 15 ซม. กาบลำต้นด้านนอกสีชมพูแดง มีปื้นดำค่อนข้างมาก ด้านในสีเขียวอ่อน มีเส้นสีชมพู
ใบ ก้านใบมีประดำเล็กน้อย มีร่องค่อนข้างแคบ ครีบสีชมพูอ่อน เส้นกลางใบสีเขียวอ่อน

ดอก หรือปลี ช่อดอกประกอบด้วยดอกตัวเมียซึ่งมีดอกตัวผู้ที่เป็นหมัน ไม่มีดอกตัวผู้ เมื่อดอกตัวเมียเป็นผลจึงไม่มีปลีเหลืออยู่ ก้านช่อดอกไม่มีขน

ผล เครือหนึ่งมี 1-2 ช่อหรือหวี หนึ่งหวีมีผล 6-7 ผล เครือหนึ่งมี 12-13 ผล ผลยาวประมาณ 36 ซม. เส้นผ่านศูนย์กลางยาวประมาณ 36 ซม. เรียงไม่เป็นระเบียบเช่นกล้วยชนิดอื่นๆ ก้านผลสั้น โค้งงอ มีเหลี่ยม เปลือกค่อนข้างหนา เมื่อสุกมีสีเหลือง เหมือนกล้วยน้ำว้า เนื้อสีส้ม รสหวานอมเปรี้ยว มีกลิ่นหอมเล็กน้อย และจะมีผลที่มีขนาดใหญ่กว่ากล้วยไข่พันธุ์กำแพงเพชร

การขยายพันธุ์ของกล้วยไข่พระตะบอง
การแยกหน่อ, การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ
การปลูก ขุดหลุมขนาด 30x30x30 เซนติเมตร วางหน่อลงปลูกกลางหลุม กลบดินโดยรอบให้แน่น หลังปลูก 1 เดือนให้ใส่ปุ๋ยสูตร 46-0-0 จากนั้นให้ปุ๋ยสูตร 15-15-15 สลับกับปุ๋ยอินทรีย์ทุก 3 เดือน
พบมากแถบภาคตะวันออกด้านชายแดนกัมพูชา โดยเฉพาะบริเวณ จ.ฉะเชิงเทรา
ธาตุอาหารหลักที่กล้วยไข่พระตะบองต้องการ
ชอบชื้น ดินเหนียวปนทราย
ประโยชน์ของกล้วยไข่พระตะบอง
- ผลรับประทานสด ส่วนใหญ่ไม่รับประทานผลสด เพราะมีเนื้อเหนียวและไส้แข็ง ไม่หวาน มักจะทำให้สุก เช่น ต้ม เผา จะทำให้รสหวานขึ้น
- นำผลดิบมาฝาน แล้วทอด มีสีเหลืองกรอบ
- วิธีการแก้รสเปรี้ยวให้นำไปต้มทั้งเปลือก
สรรพคุณทางยาของกล้วยไข่พระตะบอง
สามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่ *สรรพคุณของกล้วย*
คุณค่าทางโภชนาการของกล้วยไข่พระตะบอง
การแปรรูปของกล้วยไข่พระตะบอง
แปรรูปกล้วยไข่พระตะบองเป็นกล้วยบวชชี กล้วยทอดกรอบ กล้วยอบ กล้วยเชื่อม เป็นต้น
สามารถติดตามความรู้เเกี่ยวกับเรื่องกล้วย การปลูกกล้วย พันธุ์กล้วย เพิ่มเติมได้ที่ เกษตรตำบล.คอม
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : รวบรวมสายพันธุ์กล้วย