ส้านใหญ่
ชื่ออื่นๆ : ส้านใหญ่ (สุราษฎร์ธานี) ส้าน, ส้านต้อง (ใต้) ส้านแข็ง (เชียงใหม่) ดอนเปอซา (มาเลย์-นราธิวาส) ชะวิง (ชอง-จันทบุรี)
ต้นกำเนิด : เอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ชื่อสามัญ : Great elephant apple
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Dillenia obovata (Blume) Hoogland
ชื่อวงศ์ : DILLENIACEAE
ลักษณะของส้านใหญ่
ต้น ไม้ต้นผลัดใบ ขนาดกลาง ความสูง 10-20 เมตร ลำต้นมักคดงอ และมีพู เตี้ยๆที่โคนต้น กิ่งอ่อนเกลื้ยงแต่ใบอ่อนมีขน เรือนยอดกลมทึบ เปลือกนอกค่อนข้างเรียบหรือแตกเป็นสะเก็ด สีเหลืองอ่อนหรือชมพูปนเทา เปลือกในสีแดงคล้ำ
ใบ ใบเดี่ยว เรียงเวียนสลับ ใบกว้าง 8-10 เซนติเมตร ยาว 14-18 เซนติเมตร ใบรูปไข่กลับ ปลายใบทู่หรือเป็นติ่งสั้นๆแล้วค่อยๆ สอบเรียวไปหาโคนใบ ฐานใบแหลมหรือรูปลิ่ม เนื้อใบหนา หลังใบเกลี้ยง แต่เส้นกลางใบมีขนและมีออกสีน้ำตาลแดงเมื่อแห้ง ท้องใบมีขนประปราย เส้นแขนงใบตรงและขนานกัน มี 15-30 คู่ ปลายเส้นแขนงใบจะโผล่เลยขอบใบ ขอบใบจักฟันเลื่อย ก้านใบเกลี้ยง ผลัดใบเดือนมกราคมถึงกุมภาพันธ์

ดอก ดอกเดี่ยวหรือเป็นช่อแบบกระจะ เกิดตามปลายกิ่งหรือใกล้ๆปลายกิ่งแขนง กลีบเลี้ยงหนา สีเขียวนวล จำนวน 5 กลีบ กลีบดอกมี 5 กลีบ สีเหลือง รูปช้อน ขนาดใหญ่เป็น 3 เท่าของกลีบเลี้ยง เกสรเพศผู้จำนวนมาก แบ่งออกเป็น 2 ชั้น ชั้นนอกมีสีเหลืองเข้มกว่าชั้นใน รังไข่แบ่งเป็น 9-11 ช่อง แต่ละช่องมี 25-35 ออวุล บริเวณโคนกลีบเลี้ยงจะมีกาบเล็กๆแหลมๆ 3 กาบ และที่โคนก้านดอกจะมีอีก 3 กาบ ออกดอกเดือนกุมภาพันธ์ถึงเมษายน

ผล เป็นผลสด มีหลายเมล็ด มีกลีบเลี้ยงพัฒนากลายเป็นกาบหุ้มส่วนเนื้อผลจนมิด เนื้อผลแก่มีสีเหลืองหรือสีส้ม ค่อนข้างกลม ผลแห้งสีน้ำตาล ผลแก่ในเดือนมีนาคมถึงพฤษภาคม
การขยายพันธุ์ของส้านใหญ่
การใช้เมล็ด
พบขึ่นทั่วไปในป่าเบญจพรรณแล้ง ป่าเบญจพรรณชื้น และป่าเต็งรังทั่วประเทศ ซึ่งสูงจากระดับน้ำทะเลตั้งแต่ 50-1,300 เมตร
ธาตุอาหารหลักที่ส้านใหญ่ต้องการ
ประโยชน์ของส้านใหญ่
- เนื้อไม้ ใช้ก่อสร้าง
- ผลแก่ รับประทานเป็นผักสดร่วมกับน้ำพริก
- ดอก กลีบรองกลีบดอก ใช้แต่งรสอาหาร
สรรพคุณทางยาของส้านใหญ่
- ลำต้น ต้มน้ำดื่ม ขับน้ำคาวปลาหลังอยู่ไฟ
- เปลือก เคี้ยวพ่นเป่าแผล เป็นยารักษาแผล แก้ไฟไหม้
- เปลือกต้น ต้มน้ำดื่มแก้ท้องเสีย เคี้ยวช่วยให้เหงือกและฟันกระชับแน่น
คุณค่าทางโภชนาการของส้านใหญ่
การแปรรูปของส้านใหญ่
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : www.forest.go.th, www.biodiversity.forest.go.th
ภาพประกอบ : www.flickr.com
เรียบเรียงข้อมูลโดย : เกษตรตำบล.คอม
เปลือกต้น เป็นยารักษาแผล แก้ไฟไหม้
ผลแก่รับประทานเป็นผักสด มีรสหวานหอม