กกสานเสื่อ ปลูกเพื่อใช้ทอเสื่อคุณภาพสูง และสานตะกร้า

กกสานเสื่อ

ชื่ออื่นๆ : กกกลม (ภาคกลาง) กกจันทบุรี (กรุงเทพฯ) กกสานเสื่อ (จันทบุรี)

ต้นกำเนิด : เขตร้อนทวีปเอเชีย พบในที่ลุ่มน้ำขังทั่วไป

ชื่อสามัญ : –

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Cyperus corymbosus Rottb.

ชื่อวงศ์ : Cyperaceae

ลักษณะของกกสานเสื่อ

ต้น  กกมีเหง้าทอดเลื้อย ลำต้นออกตามเหง้า รูปสามเหลี่ยมมน สูง 0.9–2 ม.

ใบ  ใบมักลดรูปเป็นกาบ หรือรูปแถบ ยาวได้ถึง 6 ซม. วงใบประดับ 2–4 อัน ยาวไม่เท่ากัน รูปใบหอก ยาวได้ถึง 3.5 ซม.

ดอก ช่อดอกออกเดี่ยว ๆ หรือแยกแขนง ยาว 10–17 ซม. กว้าง 4–9 ซม. ช่อแยกแขนง 6–15 ช่อ ยาวได้ถึง 11 ซม. ช่อแขนงย่อยสั้นหรือช่อดอกย่อยเป็นกระจุกไร้ก้าน มี 5–15 ช่อกระจุกย่อย รูปแถบ ยาว 0.5–1.8 ซม. แบนเล็กน้อย แกนเป็นปีก กาบมีมากกว่า 9 อัน สีน้ำตาล รูปไข่ ยาวประมาณ 2 มม. ปลายมน แกนกลางเป็นสัน เกสรเพศผู้ 3 อัน ยอดเกสรเพศเมีย 3 อัน

ผล  ผลรูปทรงกระบอก เป็นสามเหลี่ยม ยาวประมาณ 1 มม. ผิวมีตุ่ม

กกสานเสื่อ
กกสานเสื่อ ลำต้นออกตามเหง้า รูปสามเหลี่ยมมน

การขยายพันธุ์ของกกสานเสื่อ

ใช้เมล็ด

ธาตุอาหารหลักที่กกสานเสื่อต้องการ

ประโยชน์ของกกสานเสื่อ

ปลูกเพื่อใช้ทอเสื่อคุณภาพสูง ทำเครื่องสานหัตถกรรมพื้นบ้าน และสานตะกร้า

สรรพคุณทางยาของกกสานเสื่อ

คุณค่าทางโภชนาการของกกสานเสื่อ

การแปรรูปของกกสานเสื่อ

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=9896&SystemType=BEDO
www.dnp.go.th

Add a Comment