กระถิน กระถินไทย ประโยชน์และสรรพคุณทางยา

กระถิน

ชื่ออื่นๆ : กระถิน, กระถินไทย, กระถินบ้าน (ภาคกลาง) กะเส็ดโคก, กะเส็ดบก (ราชบุรี) ตอเบา, สะตอเทศ, สะตอเบา (ภาคใต้) ผักก้านถิน (เชียงใหม่) ผักหนองบก (ภาคเหนือ)

ต้นกำเนิด : อเมริกาเขตร้อนและในหมู่เกาะในมหาสมุทรแปซิฟิค

ชื่อสามัญ : White popinac, Lead tree, Horse tamarind, Leucaena, Lpil-lpil

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Leucaena leucocephala (Lam.) de Wit

ชื่อวงศ์ : LEGUMINOSAE – FABACEAE

ลักษณะของกระถิน

ต้น ไม้พุ่มสูง 1.5 – 5 เมตร ลำต้นมีสีน้ำตาล มีรอยแตกสีขาวเป็นรูหายใจทั่วไป

ใบ ใบประกอบแบบขนนก 2 ชั้น ออกสลับช่อ มีใบย่อย 5 – 20 คู่ รูปขอบขนาน โคนและปลายมน ขอบมีขน

ดอก ดอกช่อ ออกเป็นช่อกลม 1 – 3 ช่อ ตามซอกใบ ปลายกิ่งมีปลาย 5 แฉก กลีบดอก 5 กลีบ ไม่ติดกัน สีขาว ออกดอกตลอดปี

ผล ผลเป็นฝักแบนกว้างประมาณ 2 ซม. ยาว 10 – 20 ซม. เมื่อแก่สีน้ำตาล แตก 2 ซีก เมล็ดแบนสีน้ำตาล 15-30 เมล็ด

ต้นกระถิน
ต้นกระถิน ไม้พุ่ม ใบประกอบแบบขนนก

การขยายพันธุ์ของกระถิน

การใช้เมล็ด

กระถินเป็นไม้ที่เมล็ดดก ใต้ต้นกระถินจะสังเกตเห็นมีต้นอ่อนเล็กๆ งอกอยู่จำนวนมาก เราจึงขุดต้นอ่อนไปปลูกได้ กระถินขึ้นได้ดีในดินร่วนซุย หรือดินเหนียว ที่อุ้มน้ำได้ดี หรือใช้วิธีเพาะเมล็ดโดยจะโรยเมล็ดลงในหลุม หรือตามแนวดินที่ไถไว้ เป็นร่องก็ได้ เนื่องด้วยกระถินเป็นไม้ไม่ผลัดใบ จึงอาจปลูกเป็นแนวยาวเพื่อแนวกันลมหรือแนวกันไฟ

ธาตุอาหารหลักที่กระถินต้องการ

ประโยชน์ของกระถิน

  • ใบหมักเป็นปุ๋ย
  • ใบ ยอด ฝัก และเมล็ดอ่อนใช้เป็นอาหารของวัว ควาย แพะ แกะ ไก่ ฯลฯ
  • ยอดอ่อน ดอกอ่อน ฝักอ่อน และ เมล็ดสด รับประทานเป็นเครื่องเคียง
  • เมล็ดนำมาทำเป็นเครื่องประดับหลายชนิด เช่น สายสร้อย เข็มกลัด เข็มขัด ฯลฯ
  • เปลือกให้เส้นใยสั้นใช้ทำกระดาษได้ แต่คุณภาพไม่ดี ม
  • ปลูกเพื่อกันลมและบังแดดให้แก่พืชที่ปลูก เช่น ชา กาแฟ และใช้ทำฟืน

โทษ : สัตว์กระเพาะเดียวที่กินใบกระถินในปริมาณสูงจะทำให้ขนร่วง เป็นหมัน เนื่องจากมีสารพวก leucenine ซึ่งเป็นพิษ แต่ไม่มีรายงานของการเป็นพิษเนื่องจากการกินกระถินเกิดขึ้นในคน มีรายงานว่ากระถินเป็นพืชที่ดูดธาตุซีลีเนียมจากดินมาสะสมไว้ได้มาก จึงทำให้เกิดพิษเนื่องจากธาตุนี้ได้อีก

ดอกกระถิน
ดอกกระถิน ดอกสีขาว

สรรพคุณทางยาของกระถิน

  • ดอก รสมัน บำรุงตับ แก้เกล็ดกระดี่ขึ้นตา
  • ราก รสเจื่อน ขับลม ขับระดูขาว เป็นยาอายุวัฒนะ
  • เมล็ด ใช้ถ่ายพยาธิตัวกลม (ascariasis)
  • ใบและเมล็ดเป็นยารักษาเบาหวาน ความดันโลหิตสูง แก้ท้องร่วง
  • ใบแก่ตากให้แห้งใช้ผสมเป็นอาหารสัตว์ให้โปรตีนสูง
ผลกระถิน
ผลกระถิน ผลเป็นฝักแบน สีเขียว เมื่อแก่สีน้ำตาล

คุณค่าทางโภชนาการของกระถิน

การแปรรูปของกระถิน

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ :
http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=9425&SystemType=BEDO
http://www.rspg.or.th/plants_data/plantdat/mimosoid/lleuco_1.htm
https://www.flickr.com

2 Comments

Add a Comment