กระพี้
ชื่ออื่นๆ : กระพี้ (ภาคกลาง) กระพี้เขาควาย (อุดรธานี, ราชบุรี) เกิดเขาควาย (ภาคเหนือ) เกิดแดง (แม่ฮ่องสอน, ลำปาง) เกิดดำ (กาญจนบุรี, ภาคเหนือ) กำพี้, ชิงชัน (เพชรบูรณ์) กำพี้เขาควาย, แดงดง (เลย) จักจั่น, เวียด (ไทยใหญ่-เชียงใหม่) มะขามป่า (เชียงใหม่) เส่งพลิแดละ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน) อีเม็งในมน (อุดรธานี)
ต้นกำเนิด :
ชื่อสามัญ : เก็ดควาย
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Dalbergia cultrata Graham ex Benth.
ชื่อวงศ์ : FABACEAE (LEGUMINOSAE-PAPILIONOIDEAE)
ลักษณะของกระพี้
ลำต้น ไม้ต้นสูงถึง 25 เมตร เรือนยอดรูปไข่ค่อนข้างโปร่ง ลำต้นเปลาตรง เปลือกนอกเรียบหรือแตกเป็นสะเก็ดตื้นๆ สีเทาอ่อน เปลือกในสีแดง
ใบ ประกอบขนนกปลายคี่เรียงสลับ แผ่นใบรูปรีแกมขอบขนานปลายกลมหรือเว้าบุ๋ม โคนใบมน ขอบใบเรียบ ม้วนเข้าหาแกนใบเล็กน้อยทางด้านก้านใบ
ดอก ออกเป็นช่อแบบช่อแยกแขนง ต่ามง่ามใบใกล้ปลายกิ่ง กลีบดอกรูปดอกถั่วสีขาว
ผล แบบฝักสีน้ำตาลแห้งไม่แตกรูปขอบขนาน มี 1-3 เมล็ด
การขยายพันธุ์ของกระพี้
ใช้เมล็ด
ธาตุอาหารหลักที่กระพี้ต้องการ
ประโยชน์ของกระพี้
เนื้อไม้กระพี้สีน้ำตาลอ่อน แก่นสีม่วงแก่ แข็ง เหนียว และทนทานมาก เลื่อยไสกบตกแต่งค่อนข่างยากแต่ขัดมันได้ดี ใช้ทำเสาเครื่องเรื่อนและไม้บุผนังห้องที่สวยงาม ทำชานรองเพลา ใบพัด เรือน ซี่ล้อ วงคุม วงล้อ เพลาและคานเกวียน ทำด้ามเครื่องมือ กระสวยท้อผ้า เครื่องกลึงเครื่องแกะสลัก ซอด้วง กลองโทน รำมะนา จะเข้ ขลุ่ยรางและลูกระนาด กรับ และขาฆ้องวง
สรรพคุณทางยาของกระพี้
–
คุณค่าทางโภชนาการของกระพี้
การแปรรูปของกระพี้
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=9432&SystemType=BEDO
https://www.flickr.com