กล้วยกรู
ชื่ออื่นๆ : กล้วยกรู, กล้วยกระบุง
ต้นกำเนิด : เอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ชื่อสามัญ : Kluai Kroo
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Musa (AAB) ‘Kroo’
ชื่อวงศ์ : MUSACEAE
ลักษณะของกล้วยกรู
ต้น กาบหุ้มลำต้นมีสีแดงอมชมพูเล็กน้อย สลับกับสีเขียวอ่อน ๆ
ใบ ก้านใบมีร่องค่อนข้างแคบ เส้นกลางใบสีเขียว แผ่นใบหนาและมีนวลสีเขียวสด
ดอก หรือปลี ช่อดอกตั้งห้อยลง มีใบประดับขนาดใหญ่หุ้มช่อดอก
ผล เครือหนึ่งมี 10-12 หวี หวีหนึ่งมี 10-16 ผล ผลรูปรียาว มีเหลี่ยม ก้านผลสั้น เปลือกค่อนข้างหนา ทรงผลโดยรวมจะดูคล้ายผลกล้วยหอม ผลดิบสีเขียว เมื่อสุกเป็นสีเหลือง เนื้อมีสีขาวหรืออมสีส้มเล็กน้อย รสเปรี้ยวปนหวานเล็กน้อย เหมือนรสชาติกล้วยน้ำว้า
การขยายพันธุ์ของกล้วยกรู
การแยกหน่อ, การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ
ธาตุอาหารหลักที่กล้วยกรูต้องการ
ประโยชน์ของกล้วยกรู
- ผลรับประทาน
- เป็นไม้ประดับ
กลุ่ม AAB กล้วยชนิดนี้มีรสหวาน มีแป้งผสมอยู่บ้างในเนื้อ ทำให้มีความเหนียว บางชนิดรับประทานสดได้ บางชนิดต้องทำให้สุก ซึ่งเราเรียกกล้วยชนิดที่ต้องทำให้สุกนี้ว่า กล้าย (plantain)
กลุ่ม AAB เป็นกล้วยลูกผสมระหว่างกล้วยป่ากับกล้วยตานี โดยมีเชื้อของกล้วยป่า 2 ใน 3 และมีเชื้อของกล้วยตานี 1 ใน 3
สรรพคุณทางยาของกล้วยกรู
สามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่ *สรรพคุณของกล้วย*
คุณค่าทางโภชนาการของกล้วยกรู
การแปรรูปของกล้วยกรู
สามารถติดตามความรู้เเกี่ยวกับเรื่องกล้วย การปลูกกล้วย พันธุ์กล้วย เพิ่มเติมได้ที่ เกษตรตำบล.คอม
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : www.rpplant.royalparkrajapruek.org
ภาพประกอบ : www.pantip.com