กล้วยกล้าย เปลือกผลค่อนข้างหนา เมื่อสุกรสหวาน ไม่มีเมล็ด

กล้วยกล้าย

ชื่ออื่นๆ : กล้วยหมอนทอง, กล้วยโกก, กล้วยยักษ์

ต้นกำเนิด : เอเชียตะวันออกเฉียงใต้, เอเชียใต้

ชื่อสามัญ : Plantain

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Musa acuminata

ชื่อวงศ์ : MUSACEAE

ลักษณะของกล้วยกล้าย

ต้น  ลำต้นเทียมสูง 3.5-4 เมตร เส้นผ่านศูนย์กลางลำต้นเทียมมากกว่า 15 เซนติเมตร กาบลำต้นด้านนอกสีชมพูแดง มีปื้นดำค่อนข้างมาก ด้านในสีเขียวอ่อน มีเส้นสีชมพุ

ใบ ก้านใบมีประดำเล็กน้อย มีร่องค่อนข้างแคบ มีปีก สีชมพูอ่อน

ดอก ช่อดอกประกอบด้วยดอกตัวเมีย ซึ่งมีดอกตัวผู้เป็นหัน ไม่มีดอกตัวผู้หรือดอกกะเทย เมื่อดอกเป็นผลจึงไม่มีปลีเหลืออยู่ ก้านปลีไม่มีขน

ผล เครือหนึ่งมี 1-2 ช่อหรือหวี หนึ่งหวีมีผล 6-7 ผล เครือหนึ่งมี 12-13 ผล ผลยาวประมาณ 36 เซนติเมตร เส้นผ่านศูนย์กลางยาวประมาณ 36 เซนติเมตร เรียงไม่เป็นระเบียบเช่นกล้วยชนิดอื่นๆ ก้านผลสั้น โค้งงอ มีเหลี่ยม เปลือกค่อนข้าวงหนา เมื่อสุกมีสีเหลือง เหมือนกล้วยน้ำว้า เนื้อสีส้ม รสหวาน ไม่มีเมล็ด

ต้นกล้วยกล้าย
ต้นกล้วยกล้าย กาบลำต้นด้านนอกสีชมพูแดง
ใบกล้วยกล้าย
ใบกล้วยกล้าย มีร่องค่อนข้างแคบ มีปีก สีชมพูอ่อน

การขยายพันธุ์ของกล้วยกล้าย

ขยายพันธุ์ด้วยหน่อ

การปลูกเลี้ยง    ขุดหลุมขนาด 30x30x30 เซนติเมตร วางหน่อลงปลูกกลางหลุม กลบดินโดยรอบให้แน่น หลังปลูก 1 เดือนให้ใส่ปุ๋ยสูตร 46-0-0 จากนั้นให้ปุ๋ยสูตร 15-15-15 สลับกับปุ๋ยอินทรีย์ทุก 3 เดือน

ธาตุอาหารหลักที่กล้วยกล้ายต้องการ

ประโยชน์ของกล้วยกล้าย

ส่วนใหญ่ไม่รับประทานผลสด เพราะมีเนื้อเหนียวและไส้แข็ง ไม่หวาน มักจะทำให้สุก เช่น ต้ม เผา จะทำให้รสหวานขึ้น

ปลีกล้วยกล้าย
ปลีกล้วยกล้าย ปลีสีม่วงแดง

สรรพคุณทางยาของกล้วยกล้าย

คุณค่าทางโภชนาการของกล้วยกล้าย

กล้วยกล้ายให้พลังงานประมาณ 220 แคลอรี มีโพแทสเซียมและใยอาหารสูง

ผลกล้วยกล้าย
ผลกล้วยกล้าย ผลโค้งงอ มีเหลี่ยม เปลือกค่อนข้างหนา

การแปรรูปของกล้วยกล้าย

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=10249&SystemType=BEDO
www.th.wikipedia.org
www.flickr.com

3 Comments

Add a Comment