กล้วยครั่ง
ชื่ออื่นๆ : กล้วยครั่ง, กล้วยน้ำครั่ง
ต้นกำเนิด : ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ พบมากที่จังหวัดอุบลราชธานี
ชื่อสามัญ : Banana, Cultivated banana
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Musa (AAA group)
ชื่อวงศ์ : MUSACEAE
ลักษณะของกล้วยครั่ง
ต้น คล้ายกล้วยนาก ลำต้นเทียมสูง 2.5-3.5 เมตร เส้นผ่านศูนย์กลางมากกว่า 15 เซนติเมตร กาบลำต้นเทียมด้านนอกมีสีเขียวปนแดง มีปื้นดำมาก ด้านในสีชมพูอมแดง มีครีบ
ใบ เส้นกลางใบสีชมพูปนแดง ก้านใบกางแกด้านข้าง แผ่นใบสีเขียวมีสีแดงเรื่อๆ
ดอก ปลี หรือดอก ก้านช่อดอกสีแดง มีขน ใบประดับรูปไข่ค่อนข้างยาว ม้วนขึ้น ปลายแหลม ด้านบนสีแดงม่วง ด้านล่างสีแดงซีด
ผล มีจำนวนผลและจำนวนหวีมากกว่ากล้วยนาก ผลขนาดเล็กกว่ากล้วยนากขนาดประมาณกล้วยน้ำว้า เครือหนึ่งมีน้อยกว่า 7 หวี หวีหนึ่งมี 12-14 ผล ผลสีเขียวอมม่วงเข้ม เมื่อสุกเปลี่ยนเป็นสีแดงอมม่วงเข้มหรือคล้ำกว่ากล้วยนาก ก้านผลสั้น เนื้อสีเหลืองอมส้ม กลิ่นหอม รสชาติหวานคล้ายกล้วยหอม ไม่มีเมล็ด
การขยายพันธุ์ของกล้วยครั่ง
การแยกหน่อ
การปลูก ขุดหลุมขนาด 30x30x30 เซนติเมตร วางหน่อลงปลูกกลางหลุม กลบดินโดยรอบให้แน่น หลังปลูก 1 เดือนให้ใส่ปุ๋ยสูตร 46-0-0 จากนั้นให้ปุ๋ยสูตร 15-15-15 สลับกับปุ๋ยอินทรีย์ทุก 3 เดือน
ธาตุอาหารหลักที่กล้วยครั่งต้องการ
ประโยชน์ของกล้วยครั่ง
- ผลสุกรับประทานเป็นผลไม้
- ปลูกประดับหน้าบ้าน
สรรพคุณทางยาของกล้วยครั่ง
สามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่ *สรรพคุณของกล้วย*
คุณค่าทางโภชนาการของกล้วยครั่ง
การแปรรูปของกล้วยครั่ง
สามารถติดตามความรู้เเกี่ยวกับเรื่องกล้วย การปลูกกล้วย พันธุ์กล้วย เพิ่มเติมได้ที่ เกษตรตำบล.คอม
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : ชุมชนคนรักษ์พรรณไม้
One Comment