กล้วยตานีอีสาน
ชื่ออื่นๆ : กล้วยตานีอีสาน
ต้นกำเนิด :
ชื่อสามัญ : Kluai Tani Isan
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Musa balbisiana Colla
ชื่อพ้อง : Musa martini Van Geert, Musa elata Nakai, Musa pruinosa (King ex Baker) Burkill, Musa rosacea Jacq.
ชื่อวงศ์ : MUSACEAE
ลักษณะของกล้วยตานีอีสาน
ต้น ลำต้นสูง 3.5-4.0 ม. เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 20 ซม. สีเขียวไม่มีปื้นดำ กาบลำต้นด้านในสีเขียว
ใบ ก้านใบสีเขียว เส้นกลางใบสีเขียว ไม่มีร่อง ใบสีเขียวเป็นมัน มีความเหนียวมากกว่ากล้วยพันธุ์อื่นๆ
ดอก หรือปลี ก้านช่อดอกสีเขียวไม่มีขน ใบประดับรูปร่างค่อนข้างป้อม มีความกว้างมาก ปลายมนด้านบนสีแดงอมม่วง มีนวล ด้านล่างสีแดงเข้มสดใส เมื่อใบประดับบานขึ้นจะตั้งฉากกับช่อดอกและไม่ม้วนงอ ใบประดับแต่ละใบซ้อนกันลึก
ผล เครือหนึ่งมีประมาณ 8 หวี หวีละ 10-14 ผล ผลป้อมขนาดใหญ่มีเหลี่ยมเห็นชัดเจน ลักษณะคล้ายกล้วยหักมุกแต่ปลายทู่ ก้านผลยาว ผลสุกสีเหลืองรสหวาน มีเมล็ดจำนวนมาก เมล็ดใหญ่สีดำ ผนังหนา แข็ง
การขยายพันธุ์ของกล้วยตานีอีสาน
การแยกหน่อ, การเพาะเมล็ด
กล้วยตานีที่พบในประเทศไทยมี 3 ชนิด แตกต่างที่ลำต้นเทียมและผล กล่าวคือกล้วยตานีพบทางภาคเหนือนั้น ลำต้นเทียมเกลี้ยงไม่มีปื้นดำเลย ผลจะสั้น ป้อม ส่วนตานีอีสานจะมีลำต้นเทียมที่มีประดำเล็กน้อย ผลคล้ายกล้วยน้ำว้า แต่ตานีทางภาคใต้ ลำต้นเทียมค่อนข้างจะมีปื้นดำหนา ผลคล้ายตานีเหนือแต่หนากว่า และมีสีเขียวเป็นเงา นอกจากนี้ยังได้มีการนำตานีดำมาจากฟิลิปปินส์ แต่ตานีดำนี้เป็นพันธุ์พื้นเมืองของอินโดนีเซีย ลำต้นเทียมสีม่วงดำและเส้นกลางใบสีม่วงดำสีเข้มมากจนดูเหมือนสีดำ ผลสีเขียวเข้มเป็นมันมีลักษณะคล้ายตานีใต้ มีเมล็ดมาก
ธาตุอาหารหลักที่กล้วยตานีอีสานต้องการ
ชอบความชื้น ดินเหนียวปนทราย
ประโยชน์ของกล้วยตานีอีสาน
- ใบของกล้วยตานีนั้นจะนิยมนำมาทำงานประดิษฐ์ต่างๆเพราะใบกล้วยตานีนั้นมีใบที่ใหญ่และเหนียวไม่แตกง่าย
- ส่วนปลีและหยวกกล้วย สามารถนำไปปรุงอาหารได้ เช่น นำไปใส่แกงหรือหมกใส่ไก่ได้ หรือจะ กินสดโดยใส่กับผัดไทยก็สามารถทำได้ ผลอ่อนที่เมล็ดยังไม่แข็งมากสามารถนำมาตำทำเป็นตำกล้วยได้
- ลำต้น หรือกาบตรงลำต้น สามารถนำมาทำเป็นเชือกใช้ทอผ้าได้
สรรพคุณทางยาของกล้วยตานีอีสาน
สามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่ *สรรพคุณของกล้วย*
คุณค่าทางโภชนาการของกล้วยตานีอีสาน
การแปรรูปของกล้วยตานีอีสาน
สามารถติดตามความรู้เเกี่ยวกับเรื่องกล้วย การปลูกกล้วย พันธุ์กล้วย เพิ่มเติมได้ที่ เกษตรตำบล.คอม
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : www.rpplant.royalparkrajapruek.org
ภาพประกอบ : www.flickr.com
One Comment