กล้วยนมสาว พันธุ์กล้วยโบราณ พบมากในจังหวัดทางภาคใต้

กล้วยนมสาว

ชื่ออื่นๆ : กล้วยงาหมู หรือ กล้วยนมสาว, กล้วยน้ำญิ่ปุ่น, ทองกำปั้น, นมสาวหาดใหญ่

ต้นกำเนิด : มีมากในจังหวัดทางภาคใต้และพรมแดนไทยพม่าทางภาคตะวันตก เช่น จังหวัดสงขลา กระบี่ เพชรบุรี ราชบุรี

ชื่อสามัญ :

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Musa Xparadisiaca ‘Kluai Nom Sao’   Musa (AAB group)

ชื่อวงศ์ : MUSACEAE

ลักษณะของกล้วยนมสาว

ต้น ลำต้นสูง 2.5 – 3.5 เมตร กาบด้านนอกสีเขียวเจือน้ำตาลตอนล่างมีประน้ำตาลเข้ม มีปื้นสีดำ ตอนบนขึ้นไปมีสีเขียวนวล กาบลำต้นด้านในสีเขียวเจือชมพู หน่อเกิดชิดลำต้นจำนวน 8-10 หน่อ

ใบ  หางใบยาว แป่นใบกว้างลู่ลงเล็กน้อย ใบค่อนข้างบางสีเขียวสด ร่องใบกว้าง ขอบก้านสีชมพูแดง ก้านใบสีเขียวนวลโคนก้านใบมีประน้ำตาล

ดอก ปลีรูปทรงกระบอกปลายแหลมชี้ลงดิน กาบด้านนอกสีแดงเจือเขียว กาบด้านในสีซีด  เมื่อบานกาบปลีเปิดม้วนขึ้นเห็นผลกล้วยสีเขียวอ่อน กาบปลีจะค้างอยู่บนหวีกล้วย 2-3 วัน จึงจะแห้งหลุดไป หลังติดผลหวีสุดท้ายแล้ว ปลีจะมีรูปร่างป้อมขึ้น

ผล  ใน 1 เครือจะมี 6-7 หวี หวีหนึ่งมี 10 -12 ผล ผลมีลักษณะอ้วนป้อม ปลายผลมีจุกใหญ่งอนขึ้น ผลดิบสีเขียวสดเป็นมัน เปลือกหนาผลสีเหลืองจัด เนื้อสีครีมอมส้มค่อนข้างแข็ง รสหวาน กลิ่นหอมเฉพาะตัวคล้ายกล้วยหอมผสมกล้วยไข่

ต้นกล้วยนมสาว
ต้นกล้วยนมสาว กาบด้านนอกสีเขียวเจือน้ำตาลตอนล่างมีประน้ำตาลเข้ม มีปื้นสีดำ
กล้วยนมสาว
กล้วยนมสาว อ้วนป้อม ปลายผลมีจุกใหญ่งอนขึ้น

การขยายพันธุ์ของกล้วยนมสาว

การแยกหน่อ, การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ

กล้วยชนิดนี้ หากปลูกด้วยหน่อถึงออกปลีใช้เวลาประมาณ 8 เดือน และหลังจากออกปลีถึงผลแก่จัด  90 วัน  ส่วนการปลูกเพียงขุดหลุมขนาด 30x30x30 เซนติเมตร วางหน่อลงปลูกในหลุม จากนั้นกลบดินโดยรอบให้แน่น หลังปลูก 1 เดือน อาจใส่ปุ๋ยสูตร 46-0-0 จากนั้นเสริมด้วยปุ๋ยสูตร 15-15-15 สลับกับปุ๋ยอินทรีย์

ธาตุอาหารหลักที่กล้วยนมสาวต้องการ

ประโยชน์ของกล้วยนมสาว

  • ผลใช้รับประทานสด
  • กล้วยนมสาว พันธุ์กล้วยโบราณ

สรรพคุณทางยาของกล้วยนมสาว

สามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่ *สรรพคุณของกล้วย*

คุณค่าทางโภชนาการของกล้วยนมสาว

การแปรรูปของกล้วยนมสาว

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : www.scitech.kpru.ac.th, www.acc.kpru.ac.th
ภาพประกอบ : www.youtube.com, www.pantip.com

2 Comments

Add a Comment