กล้วยนากค่อม
ชื่ออื่นๆ : กล้วยแดงสยาม, กล้วยแดงอิสราเอล (ทั่วไป)
ต้นกำเนิด : เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในไทยพบที่จังหวัดกาญจนบุรี และมีการปลูกแพร่หลายในเขตบากกอกน้อย กรุงเทพฯ
ชื่อสามัญ : Kluai Nak Khom
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Musa (AAA) ‘Nak Khom’
ชื่อวงศ์ : MUSACEAE
ลักษณะของกล้วยนากค่อม
ต้น ลำต้นสูง 1.80-2.50 เมตร เส้นผ่าศูนย์กลาง 28-30 เซนติเมตร กาบลำต้นด้านนอกสีเขียวปนชมพูแดง มีปื้นสีดำบ้าง ด้านในสีชมพูอมแดง
ใบ มีครีบ เส้นกลางใบสีชมพูปนแดง แผ่นใบสีเขียวมีสีแดงเรื่อๆก้านช่อดอกสีแดง มีขน ใบประดับรูปไข่ค่อนข้างยาว ปลายแหลมและม้วนขึ้น ด้านบนสีแดงอมม่วง ด้านล่างสีแดงซีด

ดอก หรือปลี ปลีรูปไข่ ปลายแหลม ปลีมีสีแดงอมม่วง กาบปลีเปิดม้วนงอขึ้น
ผล ในหนึ่งเครือจะมี 7-8 หวี หวีละ 14-15 ผล ผลรูปยาวโค้งเล็กน้อย ผลสีเขียวอมม่วง เมื่อสุกเปลี่ยนเป็นสีแดงถึงแดงอมม่วงเข้ม เนื้อสีเหลืองอมส้ม กลิ่นหอมเย็น เนื้อนิ่มละเอียด รสชาติหวานคล้ายกล้วยหอมผสมกล้วยไข่ ไม่มีเมล็ด

การขยายพันธุ์ของกล้วยนากค่อม
การแยกหน่อ
การปลูก การขยายพันธุ์ สามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่ *การปลูกกล้วยนาก*
ธาตุอาหารหลักที่กล้วยนากค่อมต้องการ
ประโยชน์ของกล้วยนากค่อม
ผลสุกรับประทาน
สรรพคุณทางยาของกล้วยนากค่อม
สามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่ *สรรพคุณของกล้วย*
คุณค่าทางโภชนาการของกล้วยนากค่อม
การแปรรูปของกล้วยนากค่อม
ผลห่ามนำมาฝานทอดน้ำมันเคลือบน้ำตาล
สามารถติดตามความรู้เเกี่ยวกับเรื่องกล้วย การปลูกกล้วย พันธุ์กล้วย เพิ่มเติมได้ที่ เกษตรตำบล.คอม
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : www.rpplant.royalparkrajapruek.org
ภาพประกอบ : คลังทรัพยากรการศึกษาแบบเปิด