กล้วยนิ้วนางรำ
ชื่ออื่นๆ : กล้วยนิ้วนางรำ
ต้นกำเนิด : พบมากในภาคตะวันออก
ชื่อสามัญ :
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Musa (AAB group) “Kluai Niu Nang Ram”
ชื่อวงศ์ : MUSACEAE
ลักษณะของกล้วยนิ้วนางรำ
ต้น ลำต้นเทียมสูงประมาณ 3.5 เมตร เส้นผ่านศูนย์กลางของลำต้นเทียมประมาณ 15 เซนติเมตร สีของกาบลำต้นเทียมด้านนอกสีชมพูอมแดง ลำต้นใบผลมีความคล้ายกับกล้วยเล็บมือนาง
ใบ มีปื้นดำที่คอใบ ไม่มีนวล กาบด้านในสีเหลืองอมชมพู ไม่มีปื้นแดง ก้านใบเปิด ก้านใบสีส้มอมชมพู มีครีบ ก้านใบสีแดง ลักษณะใบเรียวยาวชูตั้งขึ้น โคนใบเรียว ตำแหน่งโคนใบทั้งสองข้างไม่เท่ากัน
ดอก หรือปลีดอกก้านช่อดอกมีขนอ่อนๆ ใบประดับด้านนอกสีม่วงแดง ใบรูปประดับม้วนงอขึ้น ปลายก้านช่อดอกโค้งลง
ผล ขนาดผลเล็กเรียวยาว ปลายผลมีจุกชัดเจน และเกสรตัวเมียเมื่อแห้งไม่หลุดจากผล บางผลตรง บางผลโค้งงอ การเรียงของผลไม่เป็นระเบียบ จำนวนหวีต่อเครือประมาณ 8 หวี หวีหนึ่งมีประมาณ 8-10 ผล ผิวดิบสีเขียวอมม่วงแดง ผิวผลสุกสีเหลืองอมแดง มีเนื้อผลสุกสีเหลือง รสหวานอมเปรี้ยวเล็กน้อยเหมือนกินกล้วยน้ำว้าห่าม ไม่มีเมล็ด
การขยายพันธุ์ของกล้วยนิ้วนางรำ
การแยกหน่อ
ธาตุอาหารหลักที่กล้วยนิ้วนางรำต้องการ
ประโยชน์ของกล้วยนิ้วนางรำ
ผลสุกรับประทานเป็นผลไม้
สรรพคุณทางยาของกล้วยนิ้วนางรำ
สามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่ *สรรพคุณของกล้วย*
คุณค่าทางโภชนาการของกล้วยนิ้วนางรำ
การแปรรูปของกล้วยนิ้วนางรำ
สามารถติดตามความรู้เเกี่ยวกับเรื่องกล้วย การปลูกกล้วย พันธุ์กล้วย เพิ่มเติมได้ที่ เกษตรตำบล.คอม
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : ชุมชนคนรักษ์พรรณไม้