กล้วยน้อย
ชื่ออื่นๆ : สะทาง (อุบลราชธานี), เกรา (สุรินทร์), ตาเหลว (นครราชสีมา), ทัดทาง (กรุงเทพมหานคร) ต้นทาง กั้นทาง ตันทาง
ต้นกำเนิด :
ชื่อสามัญ : กล้วยน้อย
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Xylopia vielana pierre
ชื่อวงศ์ : ANNONACEAE
ลักษณะของกล้วยน้อย
ไม้ต้นขนาดใหญ่ สูงได้ถึง 20 เมตร ผลัดใบ แตกกิ่งเกือบตั้งฉาก กับลำต้น เปลือกสีน้ำตาลแดงอมเทา ใบเดี่ยวเรียงสลับ ใบรูปไข่แกมขอบขนานหรือรูปรีแกมขอบขนาน ปลายใบมน ใบมีขนเฉพาะด้านบน โคนใบเว้าเข้า แผ่นใบหนานิ่ม ดอกมีสีเหลือง โคนดอกสีม่วงแดง ดอกเดี่ยว ออกเป็นกรัจุก ตามซอกใบใกล้ปลายกิ่ง กลีบเลี้ยงสีเขียว โคนติดกันเป็นรูปถ้วย กลีบดอกซ้อนสองชั้นๆละ 3 กลีบ ผลเป็นแบบผลกลุ่มเมื่อแก่แตก ผิวด้านในของผลเป็นสีแดงสด เมล็ดสีดำ
การขยายพันธุ์ของกล้วยน้อย
เพาะเมล็ด
ธาตุอาหารหลักที่กล้วยน้อยต้องการ
ประโยชน์ของกล้วยน้อย
ผลสุกรับประทานได้ และใบอ่อน เนื้อไม้ ทำบ้าน ถ่าน ก่อสร้าง และใช้ในพิธีกรรม โดยใช้กิ่งของต้นตันทางนี้ ขีดที่ดินเพื่อแบ่งดินแดนระหว่างคนกับผี หลังจากเสร็จพิธีเผาผี เชื่อว่าวิญญาณข้ามเส้นที่ขีดไว้ไม่ได้
สรรพคุณทางยาของกล้วยน้อย
ยาพื้นบ้านอีสานใช้ ดอก เข้าเกสรร้อยแปดปรุงยาหอม บำรุงหัวใจ
คุณค่าทางโภชนาการของกล้วยน้อย
การแปรรูปของกล้วยน้อย
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=10957&SystemType=BEDO
https://www.flickr.com