กล้วย
ชื่ออื่นๆ : กล้วยน้ำว้าทองสัมฤทธิ์, กล้วยน้ำว้าไฟ, กล้วยน้ำว้าสำริด, กล้วยน้ำว้าแดง
ต้นกำเนิด : พบมากในแถบภาคกลาง
ชื่อสามัญ :
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Musa (ABB group) “Kluai Nam Wa Dam”
ชื่อวงศ์ : MUSACEAE
ลักษณะของกล้วยน้ำว้าดำ
ต้น ลำต้นเทียมสูง 3.0-3.5 เมตร เส้นผ่านศูนย์กลางลำต้นเทียมมากกว่า 15 เซนติเมตร สีของกาบลำต้นเทียมด้านนอกสีเขียว มีปื้นดำเป็นแถบกว้าง ไม่มีนวล กาบด้านในสีเหลืองซีดสม่ำเสมอ มีปื้นแดง
ใบ ก้านใบค่อนข้างปิด ก้านใบสีเขียวและมีแถบดำ โดยเฉพาะก้านใบด้านล่างจะแถบสีดำ มีครีบก้านใบสีดำ
ดอก หรือปลี ก้านช่อดอกไม่มีขน ลักษณะของใบประดับค่อนข้างยาว ด้านนอกสีม่วงอมแดง มีไข ด้านในสีแดงเข้มสม่ำเสมอ ปลายใบประดับแหลม ม้วนงอขึ้น การเรียงของใบประดับไม่ซ้อนกันลึก ดอกมีก้านดอกค่อนข้างยาว
ผล ผลขนาดปานกลาง ทรงกระบอก มีเหลี่ยมผล ปลายผลมีจุก การเรียงของผลเป็นระเบียบ จำนวนหวีต่อเครือประมาณ 9-10 หวี หวีหนึ่งมีประมาณ 17-18 ผล ขนาดผลยาว 14-15 เซนติเมตร เส้นรอบวงผล 10-12 เซนติเมตร ผลอ่อนมีสีเขียวและจะเริ่มมีกระสีน้ำตาลทองหรือสีสนิม เนื้อผลสีขาว รสชาติหวาน เนื้อแน่น มีกลิ่นหอมอ่อนๆ ไม่มีเมล็ด อร่อยเหมือนกล้วยน้ำว้า
การขยายพันธุ์ของกล้วยน้ำว้าดำ
การแยกหน่อ, การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ
การปลูก ขุดหลุมขนาด 30x30x30 เซนติเมตร วางหน่อลงปลูกกลางหลุม กลบดินโดยรอบให้แน่น หลังปลูก 1 เดือนให้ใส่ปุ๋ยสูตร 46-0-0 จากนั้นให้ปุ๋ยสูตร 15-15-15 สลับกับปุ๋ยอินทรีย์ทุก 3 เดือน
ธาตุอาหารหลักที่กล้วยน้ำว้าดำต้องการ
ประโยชน์ของกล้วยน้ำว้าดำ
- รับประทานผลสดและนำไปแปรรูปเป็นอาหาร เช่น กล้วยเชื่อม กล้วยบวชชี กล้วยกวน กล้วยฉาบ กล้วยทอด(กล้วยแขก) กล้วยปิ้ง
- ดอก(ปลี) นำมาใช้ทำอาหารได้ไม่มีรสฝาด เช่นรับประทานเป็นผักสด คู่กับน้ำพริก ผัดไท ขนมจีน นำดอกไปแกงเลียง แกงข่าไก่ ยำหัวปลี ลาบหัวปลี ทอดมันหัวปลี เป็นต้น
- ใบใช้ในการห่อของ
- ลำต้นเป็นอาหารสัตว์ ทำเชือกกล้วย ทำกระดาษ ทำปุ๋ยหมัก
สรรพคุณทางยาของกล้วยน้ำว้าดำ
- หัวปลีมีสรรพคุณทางยาเป็นยารักษาการอักเสบภายในร่างกาย
- ผลสุกช่วยสร้างภูมิคุ้มกันโรคภูมิแพ้
- ผิวเปลือกสุกด้านในรักษาโรคส้นเท้าแตกได้
คุณค่าทางโภชนาการของกล้วยน้ำว้าดำ
การแปรรูปของกล้วยน้ำว้าดำ
ผลิตภัณฑ์แปรรูปได้แก่ กล้วยตาก กล้วยแผ่นอบ กล้วยกวน กล้วยทอดกรอบ(กล้วยฉาบ) แป้งกล้วย เป็นต้น
สามารถติดตามความรู้เเกี่ยวกับเรื่องกล้วย การปลูกกล้วย พันธุ์กล้วย เพิ่มเติมได้ที่ เกษตรตำบล.คอม
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : รวบรวมสายพันธุ์กล้วย, www.thaibiodiversity.org
One Comment