กล้วยป่าดอยปุย
ชื่ออื่นๆ : กล้วยป่าดอยปุย
ต้นกำเนิด : ประเทศไทย
ชื่อสามัญ : Kluai Pa Doi Pui
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Musa acuminata Colla
ชื่อพ้อง : Musa acuminata subsp. acuminata, Musa corniculata Kurz, Musa simiarum Kurz
ชื่อวงศ์ : MUSACEAE
ลักษณะของกล้วยป่าดอยปุย
ต้น ลำต้นเทียมสูงประมาณ 4.8 ม. เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 12 ซม. กาบลำต้นด้านนอกสีเขียวประสีดำ
ใบ รูปขอบขนาน กว้าง 50-70 ซม. ยาว 1.9-2.3 ม. สีเขียว ก้านใบยาวประมาณ 80 ซม. สีเขียวอมเหลือง ร่องใบเปิด ก้านใบเรียวเล็ก

ดอก หรือปลี มีใบประดับสีเหลืองอ่อนหรือสีม่วง รูปไข่ ปลายแหลม
ผล ช่อผลมี 3-7 หวี หวีหนึ่งมี 10-16 ผล ผลมีขนาดเล็ก รูปทรงกระบอกหรือทรงรี ยาว 7-10 ซม. กว้าง 2-5 ซม. ไม่มีเหลี่ยม ปลายมน เปลือกบางสีเขียวอมเหลือง เนื้อสีเหลือง เมล็ดจำนวนมาก

การขยายพันธุ์ของกล้วยป่าดอยปุย
การแยกหน่อ, การเพาะเมล็ด
ชอบขึ้นเป็นกลุ่มในดินที่อุ้มน้ำ บริเวณริมลำธารที่มีความชื้นสูง พบขึ้นทั่วไปในป่าดิบ ในประเทศไทยพบทั่วทุกภาค ที่ความสูง 1,200 ม. จากระดับทะเลปานกลาง
ธาตุอาหารหลักที่กล้วยป่าดอยปุยต้องการ
การปลูกกลางแจ้ง,ร่มรำไร
ประโยชน์ของกล้วยป่าดอยปุย
- ผลสุกใช้รับประทานเป็นผลไม้
- กล้วยป่าสามารถใช้ประโยชน์ได้ตลอดทั้งปี โดยนำมาปรุงอาหารได้สารพัด เช่น หยวกกล้วยนำมาแกงใส่ไก่ กระดูกหมู หรือปลาแห้ง ยำใส่ปลากระป๋อง กินกับน้ำพริกได้ทั้งดิบและสุก หรือนำมาตำกับมดแดง
- หัวปลีนำมาชุบแป้งทอด ห่อนึ่งใส่เนื้อหมู หรือยำกับเนื้อไก่
- กาบต้นแห้งนำไปขายเพื่อทำกระดาษสา
สรรพคุณทางยาของกล้วยป่าดอยปุย
- ยาง สมานแผลห้ามเลือด
- ผลดิบ แก้ท้องเสีย
- ผลสุก เป็นยาระบายสำหรับผู้ที่เป็น โรคริดสีดวงทวาร
- หัวปลี แก้โรคเกี่ยวกับลำไส้ แก้โรคโลหิตจาง ลดน้ำตาลในเส้นเลือด
คุณค่าทางโภชนาการของกล้วยป่าดอยปุย
การแปรรูปของกล้วยป่าดอยปุย
สามารถติดตามความรู้เเกี่ยวกับเรื่องกล้วย การปลูกกล้วย พันธุ์กล้วย เพิ่มเติมได้ที่ เกษตรตำบล.คอม
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : www.rpplant.royalparkrajapruek.org
ภาพประกอบ : www.shopee.co.th