กล้วยสายน้ำผึ้ง
ชื่ออื่นๆ : กล้วยสายน้ำผึ้ง, หอมสายน้ำผึ้ง, ตะกุ่ยเปี๊ยฮายีซา (กะเหรี่ยง)
ต้นกำเนิด : เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในประเทศไทยพบที่จังหวัดราชบุรี
ชื่อสามัญ : Kluai Sai Namphueng
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Musa (AAA) ‘Kluai Sai Namphueng’
ชื่อวงศ์ : MUSACEAE
ลักษณะของกล้วยสายน้ำผึ้ง
ต้น ลำต้นใหญ่พอสมควร สูงประมาณ 2.5-3 เมตร
ใบ ก้านใบสีเขียว มีครีบก้านใบสีเขียว ลักษณะคล้ายกล้วยน้ำว้า โคนใบมน
ดอก หรือปลี ลักษณะของใบประดับยาว ปลายใบประดับแหลมม้วนงอขึ้น ใบประดับด้านนอกสีม่วงแดง ดอกมีก้านดอกสั้น
ผล เครือหนึ่งมี 6-8 หวี ผลใหญ่เท่ากับกล้วยไข่พระตะบอง แต่มีรสชาติหวานและหอมกลิ่นน้ำผึ้ง เนื้อฟูนุ่ม เป็นกล้วยที่มีลักษณะเด่นมาก คือรับประทานแล้วไม่มีแก๊ส ไม่ทำให้ท้องอืด ลมไม่ตีขึ้น ผู้ป่วยรับประทานได้
การขยายพันธุ์ของกล้วยสายน้ำผึ้ง
การแยกหน่อ
ธาตุอาหารหลักที่กล้วยสายน้ำผึ้งต้องการ
ประโยชน์ของกล้วยสายน้ำผึ้ง
รับประทานผลสด
สรรพคุณทางยาของกล้วยสายน้ำผึ้ง
สามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่ *สรรพคุณของกล้วย*
คุณค่าทางโภชนาการของกล้วยสายน้ำผึ้ง
การแปรรูปของกล้วยสายน้ำผึ้ง
สามารถติดตามความรู้เเกี่ยวกับเรื่องกล้วย การปลูกกล้วย พันธุ์กล้วย เพิ่มเติมได้ที่ เกษตรตำบล.คอม
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : www.rpplant.royalparkrajapruek.org, www.scitech.kpru.ac.th
ภาพประกอบ : www.pantip.com, www.shopee.co.th