กล้วยหวานทับแม้ว
ชื่ออื่นๆ : กล้วยหวานทับแม้ว, กล้วยทับแม้ว
ต้นกำเนิด :
ชื่อสามัญ : Kluai Wan Tub Maeo
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Musa acuminata Colla.
ชื่อพ้อง : Musa acuminata subsp. acuminata, Musa corniculata Kurz, Musa simiarum Kurz
ชื่อวงศ์ : MUSACEAE
ลักษณะของกล้วยหวานทับแม้ว
ต้น ลำต้นสูงประมาณ 3 เมตร เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 15 เซนติเมตร กาบด้านนอกมีสีชมพู มีประลายกาบด้านในมีสีเขียวอ่อน
ใบ ก้านใบสีเขียวอ่อน ก้านใบเรียวยาว ก้านใบมีสีชมพูตลอดแนว ร่องใบเปิด
ดอก หรือปลีรูปร่างเรียวขนาดเล็ก สีม่วงมีนวล กาบด้านในมีสีแดงสด
ผล ก้านเครือสีเขียวมีขน เครือหนึ่งมี 7 – 8 หวี หวีหนึ่งมี 10 -18 ผล ผลมีลักษณะคล้ายกล้วยน้ำว้า
การขยายพันธุ์ของกล้วยหวานทับแม้ว
การแยกหน่อ, การเพาะเมล็ด
การปลูก ขุดหลุมกว้าง 50 เซนติเมตร ยาว 50 เซนติเมตร รองก้นหลุมด้วยมะพร้าวสับหรือปุ๋ยหมักให้สูงนูนขึ้นมา 20 เซนติเมตร เสร็จแล้ววางหน่อกล้วยลงไปกลางหลุม เอาดินกลบ 1 ชั้น กดให้แน่น แล้วเอาดินกลบอีกชั้นไม่ต้องกดให้แน่น แล้วเอาฟางคลุมรอบต้นกล้วย เสร็จแล้วรดน้ำ ถ้าดินชื้นหรือฝนตกไม่ต้องรดน้ำ และเว้นระยะปลูกอย่าให้ใกล้กันมากเกินไป
ธาตุอาหารหลักที่กล้วยหวานทับแม้วต้องการ
ชอบขึ้นเป็นกลุ่มในดินที่อุ้มน้ำ บริเวณริมลำธารที่มีความชื้นสูง พบขึ้นทั่วไปในป่าดิบ ในประเทศไทยพบทั่วทุกภาค ที่ความสูง 1,200 ม. จากระดับทะเลปานกลาง
ประโยชน์ของกล้วยหวานทับแม้ว
- ผลสุกรับประทานเป็นผลไม้
- กล้วยป่าสามารถใช้ประโยชน์ได้ตลอดทั้งปี โดยนำมาปรุงอาหารได้สารพัด เช่น หยวกกล้วยนำมาแกงใส่ไก่ กระดูกหมู หรือปลาแห้ง ยำใส่ปลากระป๋อง กินกับน้ำพริกได้ทั้งดิบและสุก หรือนำมาตำกับมดแดง
- หัวปลีนำมาชุบแป้งทอด ห่อนึ่งใส่เนื้อหมู หรือยำกับเนื้อไก่
- กาบต้นแห้งนำไปขายเพื่อทำกระดาษสา
สรรพคุณทางยาของกล้วยหวานทับแม้ว
- ยาง สมานแผลห้ามเลือด
- ผลดิบ แก้ท้องเสีย ผลสุก เป็นยาระบายสำหรับผู้ที่เป็น โรคริดสีดวงทวาร
- หัวปลี แก้โรคเกี่ยวกับลำไส้ แก้โรคโลหิตจาง ลดน้ำตาลในเส้นเลือด
คุณค่าทางโภชนาการของกล้วยหวานทับแม้ว
การแปรรูปของกล้วยหวานทับแม้ว
สามารถติดตามความรู้เเกี่ยวกับเรื่องกล้วย การปลูกกล้วย พันธุ์กล้วย เพิ่มเติมได้ที่ เกษตรตำบล.คอม
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : https://rpplant.royalparkrajapruek.org
ภาพประกอบ : www.kaidee.com, www.shopee.co.th