ลักษณะของกล้วย สายพันธุ์ของกล้วยไข่ทองเงย

กล้วยไข่ทองเงย

ชื่ออื่นๆ : กล้วยไข่ทองเงย, กล้วยทองเงย

ต้นกำเนิด : พบมากในจังหวัดสุราษฏร์ธานี จังหวัดนครศรีธรรมราช

ชื่อสามัญ :

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Musa (AAB Group) ‘Khai Thong Ngoei’

ชื่อวงศ์ : MUSACEAE

ลักษณะของกล้วยไข่ทองเงย

ต้น ลำต้นเทียมสูงประมาณ 3 เมตร เส้นรอบวงต้น 60-70 ซม. สีของกาบลำต้นเทียมด้านนอกสีเขียวอมเหลือง มีประดำที่ลำต้นและคอใบชัดเจน กาบด้านในสีเหลืองอมชมพู ลักษณะต้นอ่อนลำต้นสีเขียวอมส้ม มีนวล

ใบ ใบอ่อนมีปื้นแดง ก้านใบสีเหลืองอมเขียว มีครีบก้านใบสีชมพูอมส้ม ก้านใบเปิด โคนใบเรียวตำแหน่งโคนใบทั้งสองข้างเท่ากัน ลักษณะของใบประดับยาว ปลายใบประดับแหลม ม้วนงอขึ้น การเรียงของใบประดับเหลื่อมซ้อนกันชัดเจน ใบประดับด้านนอกสีม่วงแดงขอบเข้ม ใบประดับด้านในสีแดงสม่ำเสมอ ใบประดับด้านในโคนสีเหลือง ปลายใบประดับด้านในสีแดงส้ม

ดอก สีแดงอมม่วง กาบปลีเปิดม้วนขึ้น

ผล ลักษณะทรงเครือขนานกับพื้นดินปลายก้านช่อดอกโค้งลง ขนาดผลสั้นเรียวกลม ก้านผลสั้น เกสรตัวเมียเมื่อแห้งไม่หลุดจากผล การเรียงของผลเป็นระเบียบเวียนไปด้านเดียวกัน จำนวนหวีต่อเครือประมาณ 7-8 หวี หวีหนึ่งมีประมาณ 12-14 ผล ผิวผลดิบมีสีเขียวเข้ม ผิวผลสุกสีเหลืองทอง เมื่อสุกเนื้อผลสีเหลืองครีม รสชาติหวานอมเปรี้ยว ไม่มีเมล็ด

ต้นกล้วยไข่ทองเงย
ต้นกล้วยไข่ทองเงย สีของกาบลำต้นเทียมด้านนอกสีเขียวอมเหลือง มีประดำที่ลำต้นและคอใบชัดเจน
ผลกล้วยไข่ทองเงย
ผลกล้วยไข่ทองเงย ขนาดผลสั้นเรียวกลม

การขยายพันธุ์ของกล้วยไข่ทองเงย

การแยกหน่อ, การแยกเหง้า

การปลูก ขุดหลุมขนาด 30x30x30 เซนติเมตร วางหน่อลงปลูกกลางหลุม กลบดินโดยรอบให้แน่น หลังปลูก 1 เดือนให้ใส่ปุ๋ยสูตร 46-0-0 จากนั้นให้ปุ๋ยสูตร 15-15-15 สลับกับปุ๋ยอินทรีย์ทุก 3 เดือน

ธาตุอาหารหลักที่กล้วยไข่ทองเงยต้องการ

ประโยชน์ของกล้วยไข่ทองเงย

  • ผลใช้รับประทานสด ทำกล้วยทอด
  • กล้วยทองเงย กล้วยพันธุ์โบราณ

สรรพคุณทางยาของกล้วยไข่ทองเงย

คุณค่าทางโภชนาการของกล้วยไข่ทองเงย

การแปรรูปของกล้วยไข่ทองเงย

ใช้ทำกล้วยทอด

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : www.qsbg.org

One Comment

Add a Comment