การปลูกกะหล่ำปลีและวิธีการป้องกันโรค แมลง

กะหล่ำปลี

กะหล่ำปลี  เป็นพืชผักชนิดหนึ่ง ซึ่งแต่เดิมเป็นพืชที่ปลูกในเขตเมดิเตอร์เรเนียนแถบยุโรบ ต่อมาได้แพร่กระจายเข้ามาในประเทศทไทย โดยในสมัยก่อนกะหล่ำปลีปลูกได้ดีเฉพาะฤดูหนาวทางภาคเนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ต่อมาเริ่มเป็นที่นิยมบริโภคกันทั่วไป จึงได้มีการพยามยามปลูกกะหล่ำปลีนอกฤดูกันมากขึ้น และได้หาพันธุ์ทนร้อนเหมาะสมกับสภาพอากาศของประเทศไทย จึงทำให้ปัจจุบันสามารถปลูกกะหล่ำปลีได้ทุกฤดู กะหล่ำปลีเป็นผักอายุประมาณ 2 ปี แต่นิยมปลูกเป็นผักอายุปีเดียว คือ อายุตั้งแต่ย้ายปลูกจนถึงเก็บเกี่ยวประมาณ 50-120 วัน ปลูกได้ดีในช่วงเดือน ตุลาคม – มกราคม ถ้าปลูกนอกเหนือจากนี้ต้องเลือกพันธุ์ที่เหมาะสม

หัวกะหล่ำปลี
หัวกะหล่ำปลี เป็นทรงกลม เปลือกสีเขียว

สภาพดินฟ้าอากาศที่เหมาะสม

กะหลํ่าปลีสามารถขึ้นได้ในดินแทบทุกชนิด ชอบดินโปร่ง อุณหภูมิที่เหมาะสมสําหรับการเจริญเติบโต ประมาณ 22-25 องศาเซลเซียส มีสภาพความเป็นกรดเป็นด่างของดิน (pH) อยู่ในช่วง 6-6.5 ความชื้นในดินสูงพอสมควรและได้รับแสงแดดเต็มที่ตลอดวัน

พันธุ์กะหล่ำปลี

พันธุ์ของกะหลํ่าปลีสามารถแยกได้เป็น 3 กลุ่มใหญ่ คือ

  1. กะหลํ่าปลีธรรมดา มีความสําคัญและปลูกมากที่สุดในแง่ผักบริโภค มีลักษณะหัวหลายแบบ ตั้งแต่หัวกลม หัวแหลมเป็นรูปหัวใจ จนถึงกลมแบนราบ มีสีเขียวจนถึงเขียวอ่อน เป็นพันธุ์ที่ทนร้อน อายุการเก็บเกี่ยวสั้นประมาณ 50-60 วัน พันธุ์ที่นิยมปลูก ได้แก่ พันธุ์ลูกผสมต่างๆ นอกจากนี้ ยังมีพันธุ์ผสมเปิดอื่นๆ อีก เช่น พันธุ์โคเปนเฮเกนมาร์เก็ต พันธุ์โกเดนเอเลอร์ เป็นต้น

  2. กะหลํ่าปลีแดง มีลักษณะหัวค่อนข้างกลม ใบสีแดงทับทิมส่วนใหญ่มีอายุเก็บเกี่ยวประมาณ 90 วัน ต้องการอากาศหนาวเย็นพอสมควรเมื่อนําไปต้มนํ้าจะมีสีแดงคลํ้า พันธุ์ที่นิยมปลูก ได้แก่ พันธุ์รูบี้บอล รูบี้เพอเฟคชั่น

  3. กะหลํ่าปลีใบย่น มีลักษณะผิวใบหยิกย่นและเป็นคลื่นมาก ต้องการอากาศหนาวเย็นในการปลูก

การเตรียมดิน

  • แปลงเพาะกล้า เตรียมดินโดยการขุดไถให้ลึกประมาณ 15-20 เซนติเมตร กว้าง 1 เมตร กว้าง 1 เมตร ยาวตามความต้องการ ตากดินไว้ประมาณ 5-7 วัน แล้วคลุกด้วยปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักย่อยดินให้ละเอียดพอสมควร รดนํ้าให้ชื้นแล้วทําการหว่านเมล็ดลงไป ควรพยายามหว่านเมล็ดให้กระจายบางๆ ถ้าต้องการปลูกเป็นแถว ก็ควรจะทําร่องไว้ก่อนแล้วหว่านเมล็ดตามร่องที่เตรียมคลุมด้วยฟางหรือหญ้าแห้งบางๆ เมื่อกล้าออกใบจริงประมาณ 1-2 ใบ ก็ทําการถอนแยกต้้นที่แน่น หรืออ่อนแอทิ้ง
  • แปลงปลูก กะหลํ่าปลีที่นิยมปลูกในประเทศไทยเป็นพันธุ์เบาระบบรากตื้น ควรเตรียมดินลึกประมาณ 18-20 เซนติเมตร ตากดิน 5-7 วัน ใส่ปุ๋ยอินทรีย์ เช่น ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมักให้มาก เพื่อปรับสภาพของดิน และเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของดินโดยเฉพาะในดินทรายและดินเหนียว จากนั้นย่อยผิวหน้าดินให้มีขนาดก้อนเล็กแต่ไม่ต้องละเอียดจนเกินไป ถ้าดินเป็นกรดควรใส่ปูนขาวเพื่อปรับสภาพดินให้มีความเหมาะสมต่อการปลูก

การปลูก

เมื่อกล้ามีอายุได้ประมาณ 25-30 วัน จึงย้ายปลูกในแปลงปลูกที่ เตรียมไว้โดยให้มีระยะปลูก 30-40 x 30-40 เซนติเมตร การปลูกอาจปลูกเป็นแบบแถวเดียว หรือแถวคู่ก็ได้ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับขนาดของสวน

แปลงกะหล่ำปลี
แปลงปลูกกะหล่ำปลี

การดูแล

  1. การใส่ปุ๋ย กะหลํ่าปลีเป็นพืชที่ต้องการธาตุไนโตรเจนและโปตัสเซียมสูง เพื่อใช้ในการสร้างความเจริญเติบโตให้แก่ต้นพืช ปุ๋ยที่แนะนําให้ใช้คือ ปุ๋ยสูตร 13-13-21 หรือ 14-14-21 โดยแบ่งใส่ 2 ครั้ง คือ ครั้งที่ 1 ใส่รองพื้นขณะปลูก แล้วพรวนกลบลงในดิน ครั้งที่ 2 ใส่หลังจากกะหลํ่าปลีมีอายุได 7-14 วัน และควรใส่ปุ๋ยไนโตรเจน เช่น ปุ๋ยแอมโมเนียมซัลเฟต หรือยูเรียควบคู่ไปด้วย ซึ่งการใส่ปุ๋ยนี้ก็แบ่งใส่ 2 ครั้งเช่นกัน คือ ใส่เมื่อกะหลํ่าปลีมีอายุได้ 20 วัน และเมื่ออายุได้ 40 วัน โดยการโรยข้างๆ ต้น
  2. การให้นํ้าควรให้นํ้าอย่างสมํ่าเสมอ โดยปล่อยไปตามร่องระหว่างแปลงประมาณ 7-10 วัน/ครั้ง ในเขตร้อนและแห้งแล้วจําเป็นต้องให้นํ้ามากขึ้น และเมื่อกะหลํ่าปลีเข้าปลีเต็มที่แล้ว ควรลดปริมาณนํ้าให้น้อยลง เพราะหากกะหลํ่าปลีได้รับนํ้ามากเกินไปจะทําให้ปลีแตก
  3. การพรวนดินและกําจัดวัชพืช ในระยะแรกๆ ควรปฏิบัติบ่อยๆ เพราะวัชพืชจะเป็นตัวแย่งอาหารในดินรวมทั้งเป็นที่อาศัยของโรคและแมลงอีกด้ว

การเก็บเกี่ยว

อายุการเก็บเกี่ยวของกะหลํ่าปลี ตั้งแต่ปลูกจนถึงวันเก็บเกี่ยว ขึ้นอยู่กับลักษณะของแต่ละพันธุสําหรับพันธุ์เบาที่นิยมปลูกจะมีอายุประมาณ 50-60 วัน แต่พันธุ์หนักมีอายุถึง 120 วันการเก็บควรเลือกหัวที่ห่อหัวแน่นและมีขนาดพอเหมาะ กะหลํ่าปลี 1 หัวมีนํ้าหนักประมาณ 2-3 กิโลกรัม หากปล่อยไว้นานหัวจะหลวมลง ทําให้คุณภาพของหัวกะหลํ่าปลีลดลง การเก็บควรใช้มีดตัดให้ใบนอกที่หุ้มหัวติดมาเพราะจะทําให้สามารถเก็บรักษาได้ตลอดวัน เมื่อตัดและขนออกนอกแปลงแล้วให้ตัดแต่งใบนอกออกเหลือเพียง 2-3 ใบ เพื่อป้องกันความเสียหายเนื่องจากการบรรจุและขนส่ง จากนั้นคัดแยกขนาด แล้วบรรจุถุง

โรคและแมลงศัตรูที่สําคัญ

โรคที่สําคัญของกะหลํ่าปลี ได้แก

  1. โรคเน่าเละของกะหลํ่าปลี
    สาเหตุ  เกิดจากเชื้อราแบคทีเรีย
    ลักษณะอาการ  โรคนี้พบได้เกือบทุกระยะการเจริญเติบโตแต่พบมากในระยะที่กะหลํ่าปลีห่อหัว โดยในระยะแรกพบเป็นจุดหรือบริเวณมีลักษณะฉํ่านํ้าคล้ายรอยชํ้า ต่อมาแผลจะขยายลุกลามออกไปทําให้เกิดการเน่าเละเป็นเมือกเยิ้มมีกลิ่นเหม็นจัด เมื่ออาการรุนแรงจะทําให้กะหลํ่าปลีเน่าเละทั้งหัวและหักพับลง
    การป้องกันกำจัด
    1. ระมัดระวังอย่าให้เกิดแผลหรือรอยชํ้าทั้งขณะเก็บเกี่ยวและขนส่ง
    2. ฉีดพ่นสารกําจัดแมลงปากกัดหรือแมลงวันในแปลงปลูก
    3. กําจัดเศษวัชพืชออกจากแปลง อย่าไถกลบ
    4. ในแปลงปลูกควรมีการระบายนํ้าดี
    5. หลังจากเก็บเกี่ยวแล้วให้เก็บผักไว้ในที่อุณหภูมิตํ่าประมาณ 10 องศาเซลเซียส
  2. โรคเน่าดํ
    สาเหตุ  เกิดจากเชื้อบักเตรี ซึ่งจะเข้าทําลายทางรูใบที่อยู่ตามขอบใบ
    ลักษณะอาการ  ใบจะแห้งจากด้านขอบใบเข้าไปเป็นรูปสามเหลี่ยมที่มีปลายแหลมชี้ไปที่เส้นกลางใบ บนเนื้อเยื่อที่แห้งจะมีเส้นใยสีดําเห็นชันเจน อาการใบแห้งจะลุกลามไปจนถึงเส้นกลางใบและลุกลามลงไปถึงก้านใบ อาจตายได้ โดยเชื้อบักเตรีที่เป็นสาเหตุของโรคนี้จะอาศัยอยู่ในดิน เมื่อฝนตกจะระบาดไปทั่ว นอกจากนี้ทําให้เกิดอาการใบเหลืองเหี่ยวและแห้งตาย กะหลํ่าปลีจะชักงักการเจริญเติบโตยังสามารถติดไปกับเมล็ดผักได้อีกด้วย
    การป้องกันกำจัด
    1. ก่อนนําเมล็ดพันธุ์ผักไปปลูกควรแช่เม็ดพันธุ์ผักในนํ้าอุ่นที่ อุณหภูมิประมาณ 50-55 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 20-30 นาที เพื่อฆ่าเชื้อโรคที่ติดอยู่ในเมล็ด
    2. ไม่ปลูกพืชตระกูลกะหลํ่าติดต่อกันเกิน 3 ปี เพราะจะทําให้แหล่งสะสมโรค

แมลงที่สําคัญ ได้แก่

หนอนเจาะ
โรคหนอนเจาะกะหล่ำ
  1. หนอนใยผัก หนอนใยผักเป็นหนอนผีเสื้อที่มีขนาดเล็กที่สุดในบรรดาหนอนผีเสื้อศัตรูผัก จะมีลักษณะหัวท้ายแหลม เมื่อถูกตัวจะดิ้นอย่างแรง และทิ้งตัวลงดินโดยการสร้างใย มักจะพบตัวแก่ตามใบโดยเกาะอยู่ในลักษณะยกหัวขึ้น หนอนใยผักเกิดจากการที่แม่ผีเสื้อวางไข่ไว้ ไข่มีขนาดเล็กค่อนข้างแบนสีเหลือง ติดกัน2-5 ฟอง อายุไข่ประมาณ 3 วัน อายุดักแด้ 3-4 วัน ตัวเต็มวัยมีเหลืองเทา ตรงส่วนหลังมีแถบสีเหลืองอายุตัวเต็มวัย 1 สัปดาห์ การทําลายของหนอนใยผักจะกัดกินผักอ่อน ดอกหรือใบที่หุ้มอยู่ทําให้ใบเป็นรูพรุน หนอนใยผักมีความสามารถในการทนต่อสารเคมี และปรับตัวต้านทานต่อสารเคมีป้องกันกําจัดได้ดี
    การป้องกันกำจัด
    1. ใช้สารเคมีกําจัดตัวหนอนโดยตรง
    2. โดยการใช้เชื้อแบคทีเรีย บาซิลลัสทรูรินเจนซิส ทําลาย
    3. หมั่นตรวจดูแปลงกะหลํ่าปลี เมื่อพบตัวหนอนควรรีบทําลายทันที
  2. หนอนกระทู้ผัก หนอนกระทู้ผักมักพบบ่อยในพวกผักกาดโดยจะกัดกินใบ ก้าน หรือเข้าทําลายในหัวปลี มักจะเข้าทําลายเป็นหย่อม ๆ ตามจุดที่ผีเสื้อวางไข่ หนอนชนิดนี้สังเกตได้ง่าย คือ ลําตัวอ้วนป้อม ผิวหนังเรียบ คล้ายหนอนกระทู้หอม มีสีสันต่าง ๆ กัน มีแถบสีข้างลําตัวแต่ไม่ค่อยชัดนัก เมื่อโตเต็มที่จะมีขนาด3-4 เซนติเมตร เคลื่อนไหวช้า ระยะตัวหนอนประมาณ 15-20 วัน และจะเข่าดักแด้ตามใต้ผิวดิน ระยะดักแด้ประมาณ 7-10 วัน การทําลายจะกัดกินก้านใบและปลีในระยะเข้าปลี
    การป้องกันกำจัด
    1. หมั่นตรวจดูสวนผัก เมื่อพบหนอนกระทู้ผักควรทําลายเสีย เพื่อป้องกันไม่ให้มีการระบาดลุกลามต่อไป
    2. ฉีดพ่นด้วยสารเคมี เช่น เมโธมิล อัตรา 10-12 กรัม/นํ้า 20 ลิตร หรืออาจใช้เมวินพอส 20-30 ซี.ซี./นํ้า 20 ลิตร
  3. หนอนเจาะยอดกะหลํ่ จะพบระบาดทําความเสียหายให้แก่พืชผักในตระกูลกะหลํ่ โดยหนอนจะเจาะเข้าไปกัดกินในหัวหรือยอดผักที่กําลังเจริญเติบโต ทําให้ยอดขาดไม่เข้าหัว ถ้าระบาดในระยะออกดอก จะเจาะเข้าไปในลําต้น ก้านดอก หรือในระยะเล็กจะกัดกินดอก
    การป้องกันกำจัด
    ควรปฏิบัติตั้งแต่ระยะแรกโดยการเลือกกล้าผักที่ไม่มีไข่หรือหนอนเล็กติดมา จะช่วยป้องกันมิใหหนอนเข้าไปทําลายส่วนสําคัญของพืช เช่น หรือก้านดอกได้ นอกจากนี้อาจใช้สารเคมีในการป้องกันกำจัด โดยหากเป็นแหล่งปลูกผักที่ไม่ค่อยมีการใช้สารเคมีกันมาก่อน ควรใช้เมวินฟอสหรือเมทโธมิล ควรเลือกใช้สารเคมีชนิดนี้ในระยะใกล้เก็บผักสด และถ้าเป็นแหล่งที่เคยปลูกผักและมีการใช้สารเคมีมาก่อน ควรเลือกใช้สารในกลุ่มไพรีทรอยด์สังเคราะห์ทั้งหลาย ในอัตรา 20-30 ซี.ซี. วิธีการใช้สารเคมีทั้ง สิ่งชนิดนี้คือใช้ เมื่อพบไข่หรือหนอนเริ่มเข้าทําลาย ช่วงเวลาพ่นประมาณ 7 วัน/ครั้ง
  4. แมลงศัตรูอื่น ได้แก
    ด้วงหมัดผัก จะพบการทําลายได้ตลอดปี ป้องกันโดยการฉีดพ่นด้วยเซฟวิน 85 หรือแลนเนท
    มด จะทําลายช่วงก่อนกล้างอก สังเกตได้จากทางเดินของมดป้องกันกําจัด โดยใช้เซฟวิน 85 และคูมิฟอส รดแปลงกลา
หนอนเจาะกะหล่ำปลี
หนอนเจาะกะหล่ำปลี ทำให้ใบเสียหายเป็นรู

ราคาขาย

ราคาขายตลาดสี่มุมเมือง ณ วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2565

  • กะหล่ำปลีม่วง ราคากิโลกรัมละ 35 บาท
  • กะหล่ำปลีขาว (ใหญ่) ราคากิโลกรัมละ 12 บาท / กะหล่ำปลีขาว (เล็ก) ราคากิโลกรัมละ 10 บาท
  • กะหล่ำปลีเขียว (ใหญ่) ราคากิโลกรัมละ 8 บาท / กะหล่ำปลีเขียว (เล็ก) ราคากิโลกรัมละ 5 บาท

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ :
http://www.eto.ku.ac.th
https://www.simummuangmarket.com
https://www.flickr.com

Add a Comment