กะหล่ำปลี รับประทานเป็นผักสด หรือนำไปปรุงเป็นอาหารได้หลากหลาย

กะหล่ำปลี

ชื่ออื่นๆ : กะหล่ำปลี (ทั่วไป), กะหล่ำใบ

ต้นกำเนิด :

ชื่อสามัญ : Cabbage, Common Cabbage, White Cabbage, Red Cabbage

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Brassica oleracea L. var. capitata L.

ชื่อวงศ์ : BRASSICACEAE (CRUCIFERAE)

ลักษณะของกะหล่ำปลี

ต้น เป็นพืชล้มลุกอายุฤดูเดียว ลำต้นมีลักษณะทรงกลม สูงประมาณ สูงประมาณ 25-45 เซนติเมตร เปลือกลำต้นมีสีขาว มีลักษณะเป็นข้อๆที่เกิดจากรอยแผลใบ ส่วนระบบรากกะหล่ำปลีประกอบด้วยรากแก้ว และมีรากแขนงแตกออกด้านข้าง และรากฝอยบริเวณปลายราก รากแขนงสามารถหยั่งลึกได้มากกว่าถึง 30 เซนติเมตร มีลักษณะแตกออกด้านข้าง

ใบ ใบกะหล่ำปลีมีหลายสีขึ้นอยู่กับสายพันธุ์ เป็นส่วนที่นำมาบริโภค ใบจะแตกออกด้านข้างลำต้น เรียงวนรอบลำต้น ผิวใบมีลักษณะเรียบ แต่เป็นลูกคลื่น ขอบใบย่น ใบโค้งงอเข้าตรงกลาง หุ้มซ้อนกันแน่น เรียกว่า หัวกะหล่ำปลี ที่มีลักษณะกลม ค่อนข้างแบน กะหล่ำปลี 1 ต้น จะมีใบห่อหุ้มประมาณ 20-40 ใบ หรือมากกว่า ขึ้นอยู่กับขนาดหัว ใบจะหุ้มลำต้นอัดกันแน่น แต่ละหัวหนักประมาณ 0.8-2 กิโลกรัม

ดอก กะหล่ำปลีออกดอกเป็นช่อ เป็นดอกสมบูรณ์เพศที่มีเกสรตัวผู้ และเกสรตัวเมียในดอกเดียวกัน ช่อดอกแทงออกตรงกลางของหัว มีก้านดอกชูยาว 30-80 ซม. ประกอบด้วยกลีบรองดอกสีเขียว 4 อัน ถัดมาด้านในเป็นกลีบดอก มีสีเหลืองสด จำนวน 4 กลีบ ด้านในสุดมีเกสรตัวผู้ 6 อัน ประกอบด้วยเกสรชั้นใน 4 อัน และชั้นนอก 2 อัน และตรงกลางมียอดเกสรตัวเมียที่เป็นลักษณะพู 2 อัน ซึ่งเชื่อมมายังรังไข่ ซึ่งอยู่ด้านในสุดของฐานดอก ทั้งนี้ ดอกกะหล่ำปลีจะทยอยบานจากด้านล่างขึ้นด้านบน

ผล ผลกะหล่ำปลี เรียกว่า ฝัก มีลักษณะเรียวยาว ปลายฝักแหลม เปลือกฝักมีร่องเป็นรอยตะเข็บสองข้าง ซึ่งจะปริแตกออกเมื่อฝักแห้ง ด้านในประกอบด้วยเมล็ดขนาดเล็กเรียงซ้อนกันเป็นแถว มีลักษณะกลม เมล็ดอ่อนมีสีเขียว และแก่เปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลเข้ม และแก่เต็มที่มีสีดำ เปลือกเมล็ดบาง ขนาดเมล็ดประมาณ 1.6 มิลลิเมตร ฝักหนึ่งจะมีเมล็ดประมาณ 10-20 เมล็ด

ต้นกะหล่ำปลี
มีลักษณะทรงกลม เปลือกสีเขียว

การขยายพันธุ์ของกะหล่ำปลี

ใช้เมล็ด

ธาตุอาหารหลักที่กะหล่ำปลีต้องการ

สามารถขึ้นได้ในดินแทบทุกชนิด ชอบดินโปร่ง อุณหภูมิที่ เหมาะสมสำหรับการเจริญเติบโตประมาณ 22-25 องศาเซลเซียส มีสภาพความ เป็นกรดเป็นด่างของดิน (pH) อยู่ในช่วง 6-6.5 ความชื้นในดินสูงพอสมควร และได้รับแสงแดดเต็มที่ตลอดวัน

ประโยชน์ของกะหล่ำปลี

ใบกินได้

สรรพคุณทางยาของกะหล่ำปลี

นักวิจัยศึกษาพบว่า สารกลูทามีนในกะหล่ำปลีช่วยเคลือบกระเพาะอาหาร ช่วยบรรเทาโรคกระเพาะอาหารอักเสบ อีกทั้งยังมีสารซัลเฟอร์ช่วยกระตุ้นการทำงานของลำไส้ใหญ่ ทำให้การขับถ่ายดี ไม่เพียงเท่านั้น สารซัลเฟอร์ยังช่วยลดระดับคอเลสเทอรอล ระงับประสาท ทำให้นอนหลับได้ง่ายอีกด้วย

กะหล่ำปลี
กะหล่ำปลีนำมาหั่น ผิวใบมีลักษณะเรียบ ซ้อนกัน

คุณค่าทางโภชนาการของกะหล่ำปลี

คุณค่าทางโภชนาการของกะหล่ำปลีดิบต่อ 100 กรัม พลังงาน 25 กิโลแคลอรี คาร์โบไฮเดรต 5.8 กรัม
น้ำตาล 3.2 กรัม
เส้นใย 2.5 กรัม
ไขมัน 0.1 กรัม
โปรตีน 1.28 กรัม
วิตามินบี1 0.061 มิลลิกรัม 5%
วิตามินบี2 0.040 มิลลิกรัม 3%
วิตามินบี3 0.234 มิลลิกรัม 2%
วิตามินบี5 0.212 มิลลิกรัม 4%
วิตามินบี6 0.124 มิลลิกรัม 10%
วิตามินบี9 43 ไมโครกรัม 11%
กะหล่ำปลีวิตามินซี 36.6 มิลลิกรัม44%
าตุแคลเซียม 14 มิลลิกรัม 1%
ธาตุเหล็ก 40 มิลลิกรัม 4%
ธาตุแมกนีเซียม 12 มิลลิกรัม 3%
ธาตุแมงกานีส 0.16 มิลลิกรัม 8%
ธาตุฟอสฟอรัส 26 มิลลิกรัม 4%
ธาตุโพแทสเซียม 170 มิลลิกรัม 4%
ธาตุโซเดียม 18 มิลลิกรัม 1%
ธาตุสังกะสี 0.18 มิลลิกรัม 2%
ฟลูออไรด์ 1 ไมโครกรัม

การแปรรูปของกะหล่ำปลี

กะหล่ำปลี สามารถนำมารับทานเป็นผักสด ทานกับน้ำพริก ส้มตำ นึ่ง ลวก ทานคู่กับน้ำพริก หรือจะนำไปปรุงเป็นเมนูอาหารก็ได้หลายประเภท เช่น ต้มจืด ต้มจับฉ่าย ผัดใส่ไข่ กะหล่ำปลีทอดน้ำปลา ไข่ตุ๋นกะหล่ำปลี ฯลฯ

กะหล่ำปลีผัดไข่
กะหล่ำปลีหั่นท่อน พอดีคำ ผัดใส่ไข่

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http:// www.rspg.or.th
https:// adeq.or.th
https://www.flickr.com

Add a Comment