ถั่วฝักยาว
ถั่วฝักยาว จัดเป็นพืชผักในตระกูลถั่ว ปลูกได้ตลอดปี แต่ปลูกได้ผลที่สุด คือ ช่วงเดือนกุมภาพันธ์ถึงพฤศจิกายน เป็นผักชนิดหนึ่งที่ชาวเอเซียนิยมบริโภคโดยเฉพาะชาวฮ่องกง และสิงคโปร์ นอกจากตลาดเอเซียแล้ว ตลาดต่างประเทศทางยุโรปซึ่งมีคนเอเซียอพยพเข้าไปอยู่อาศัยเป็นจํานวนมาก เช่น ฝรั่งเศสอังกฤษ และเยอรมันตะวันตก ตลอดจนประเทศทางแถบตะวันออกกลาง ก็นับว่าเป็นตลาดที่ค่อนข้างจะมีความต้องการสูง จึงนับได้ว่า ถั่วฝักยาวเป็นพืชผักชนิดหนึ่งที่นิยมบริโภคทั้งภายใน และนอกประเทศ
ถั่วฝักยาวเป็นพืชตระกูลถั่วที่มีความสําคัญชนิดหนึ่งของประเทศไทย นอกจากจะใช้ปรุงอาหาร บางชนิดใช้บริโภคสดในชีวิตประจำวันแล้ว ยังใช้เป็นวัตถุดิบในด้านอุตสาหกรรมบรรจุกระป๋องและแช่แข็งด้วย
ดินฟ้าอากาศที่เหมาะสม
ดินฟ้าอากาศที่เหมาะสม ถั่วฝักยาวปลูกได้ทั่วทุกภาคของประเทศชอบอากาศค่อนข้างร้อน ช่วงอุณหภูมิที่เหมาะสมอยู่ในระหว่าง 16-24 องศาเซลเซียส สามารถปลูกได้ในดินทุกชนิด แต่ปลูกไดดีในดินร่วนปน ทราย มีการระบายนํ้าได้ดี สภาพความเป็นกรดด่าง (pH) อยู่ระหว่าง 5.5-6.0 และเป็นพืชที่ต้องการแสงแดดตลอดวัน
แหล่งปลูก
แหล่งปลูกที่สําคัญ ได้แก่ ราชบุรี นครปฐม สระบุรี ปทุมธานี อ่างทอง นครนายก นครราชสีมา หนองคาย อุดรธานี บุรีรัมย์ มหาสารคาม ร้อยเอ็ด นครศรีธรรมราช สุราษฎร์ธานี ตรัง นครสวรรค์ เชียงใหม่ ลำปาง เป็นต้น
พันธุ์ถั่วฝักยาว
อาจแบ่งพันธุ์ของถั่วฝักยาว โดยอาศัยแหล่งที่มาและอาศัยสีของเมล็ด คือ
ก.แบ่งตามแหล่งที่มาของพันธุ์
1) พันธุ์ของทางราชการ ได้แก่ พันธุ์ ก 2-1A (จากกรมวิชาการเกษตร),พันธุ์ มก.8(จากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์)
2) พันธุ์ของบริษัทเอกชน ได้แก่ พันธุ์ RW 24, พันธุ์สองสี,พันธุ์เขียวดก, พันธุ์กรีนพอท, พันธุ์แอร์โรว์, พันธุ์เอเชียน นิโกร, พันธุ์กาชุง เป็นต้น พันธุ์ มข. 25 (ไม่ต้องใช้ค้าง)
3) พันธุ์พื้นเมือง ได้แก่ พันธุ์พื้นเมืองของท้องถิ่นต่างๆ เช่นพันธุ์ถั่วด้วง (สระบุรี) พันธุ์ดำเนิน (ราชบุรี) พันธุ์พื้นเมือง (ตรัง) พันธุ์พื้นเมือง (หนองคาย) เป็นต้น
ข.แบ่งตามลักษณะสีของเมล็ดพันธุ์
1) เมล็ดสีแดง ดอกสีม่วงอ่อนหรือสีม่วงฝักสีเขียว หรือเขียวเข้ม
2) เมล็ดสีแดงเข้ม ดอกสีม่วงฝักสีม่วงเข้ม
3) เมล็ดสีขาว ดอกสีครีม ฝักสีเขียวอ่อน
4) เมล็ดสีดํา ดอกสีม่วงฝักสีเขียวเข้ม
5) เมล็ดสีแดงด่างขาว ดอกสีม่วงฝักสีเขียว
นอกจากนี้ มหาวิทยาลัยขอนแก่นได้พัฒนาพันธุ์ถั่วพุ่ม ซึ่งให้ฝักที่มีลักษณะเช่นเดียวกับถั่ว ฝักยาว แต่ไม่ต้องใช้ค้างทนต่อสภาพแห้งแล้ง ได้แก่ พันธุ์ มข. 25
ฤดูปลูก
ถั่วฝักยาวเป็นผักที่ปลูกได้ทุกฤดูกาลใน เขตร้อน ชอบอากาศค่อนข้างร้อน ฝนไม่ชุก ถ้าอากาศร้อนเกินไปหรือฝนตกชุก จะทําให้ดอกร่วงและฝักร่วง ถ้าอากาศหนาวเกินไปจะชะงักการเจริญเติบโต เนื่องจากระบบรากไม่ทํางาน ดังนั้น ถั่วฝักยาวมักให้ผลผลิตในช่วงฤดูแล้งสูงกว่าในฤดูฝนแต่ในช่วงฤดูฝนหากมีการดูแลรักษาที่ดี คุณภาพของฝักที่ได้จะสมบูรณ์กว่าในช่วงฤดูร้อน
ดินและการเตรียมดิน
- ถั่วฝักยาวสามารถเจริญเติบโตไดดีในดินแทบทุกชนิด แต่ลักษณะดินที่มีความเหมาะสมในการปลูก คือดินร่วนทราย หรือดินร่วนปนทราย และความเป็นกรดและด่างของดิน (pH) มีค่าระหว่าง 5.5-6
- การเตรียมดิน ถั่วฝักยาวเป็นพืชที่มีระบบรากละเอียดอ่อน การเตรียมดินที่ดีจะช่วยให้การเจริญเติบโตสมบูรณ์และสมํ่าเสมอ ขั้นตอนแรกให้ไถพรวน ความลึกประมาณ 6-8 นิ้ว ตากดินทิ้งไว้ 5-7วัน เพื่อทําลายไข่แมลง และศัตรูพืช บางชนิด เก็บเศษวัชพืชออกจากแปลงให้หมด จากนั้น จึงไถคราด ควรใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักที่สลายตัวแล้ว เพื่อปรับปรุงโครงสร้างของดินให้ดีขึ้น การยกร่องสําหรับถั่วฝักยาวนั้น ปกติจะยกร่องกว้างประมาณ 1-1.2 เมตร โดยให้ความยาวเหมาะสมกับสภาพแปลง และเตรียมร่องระหว่างแปลงสําหรับเขัาไปปฏิบัติงาน กว้างประมาณ 0.5-0.8 เมตร ในสภาพพื้นที่ ที่ไม่เคยมีการวิเคราะห์ดินมาก่อนควรเก็บตัวอย่างดินเพื่อนำไปวิเคราะห์เคมี เพื่อให้ทราบถึงความจําเป็นและได้ข้อมูลในการปรับปรุงบํารุงดินให้เหมาะสมต่อไป
การปลูก
- การเตรียมเมล็ดพันธุ์
ปกติในการปลูกถั่วฝักยาวในเนื้อ ที่ 1 ไร่ ใชัเมล็ดพันธุ์ 3-4 กิโลกรัม นําเมล็ดพันธุ์ไปทดสอบความงอก คัดเมล็ดที่มีตำหนิออก และควรคลุกเมล็ดด้วยสารเคมีป้องกันกําจัดแมลง เพื่อป้องกันแมลงเข้าทําลายด้วย - การเตรียมหลุมปลูก
ให้ใช้จอบขุดหลุมให้ระยะระหว่างแถวห่างกัน 0.8 เมตร ระยะระหว่างหลุม 0.5 เมตร โดยให้หลุมลึกประมาณ 4-6 นิ้ว ใช้ปุ๋ยเคมีสูตรที่เหมาะสมกับถั่วฝักยาว เช่น 15-15-15, 13-13-21,12- 24-12, 5-10-5 หรือ 6-12-12 ใส่หลุมละ 1/2 ช้อนแกง (10-15 กรัม) คลุกเคล้าให้เข้ากัน - การปลูกโดยหยอดเมล็ด
หลุมละ 4 เมล็ดแล้วกลบดินให้ลึก ประมาณ 5 เซนติเมตรแล้วจึงรดนํ้าทันที สําหรับการให้นํ้าระยะ 1-7 วัน ควรให้น้ำทุกวันๆ ละ 1 ครั้ง ทั้งนี้ให้พิจารณาสภาพภูมิอากาศ และสภาพดินด้วย - การถอนแยก
หลังจากหยอดเมล็ดแล้วประมาณ 5-7 วัน เมล็ดจะเริ่มงอก เมื่อมีใบจริงประมาณ 4 ใบ ให้ถอนแยกเหลือต้นแข็งแรงไว้ 2 ต้นต่อหลุม ขณะที่ถอนแยกให้พรวนดินและกําจัดวัชพืช เพื่อไม่ให้วัชพืชมาแย่งนํ้า และอาหารจากถั่วฝักยาว
การดูแลรักษา
ถั่วฝักยาว เป็นพืชที่ต้องการการดูแลรักษาอย่างใกล้ชิด การดูแลรักษาที่ดีจะมีผลต่อปริมาณ และคุณภาพของผลผลิตอย่างมาก ขั้นตอนต่างๆ ของการดูแลรักษานั้น มีดังนี้
- การให้น้ำ
ถั่วฝักยาวเป็นพืชที่ให้นํ้าอย่างสมํ่าเสมอ แต่ไม่ควรแฉะเกินไป ระยะเจริญเติบโตหลังจาก ถอนแยกแล้วควรให้นํ้าทุก 3-5 วันต่อครั้ง ให้ตรวจสอบความชื้นในดินให้เหมาะสมกับการเจริญเติบโตระบบการให้นํ้าอาจใช่วิธีการใส่นํ้าเข้าตามร่อง หรืออาจจะใช้วิธีการตักรดโดยตรง ขึ้น อยู่กับแหล่งนํ้าที่มีสภาพพื้นที่ปลูกและความชํานาญของผู้ปลูก - การปักค้าง
ถั่วฝักยาวเป็นพืชที่ต้องอาศัยค้างเพื่อเกาะพยุงลําต้นให้เจริญเติบโต ไม้ที่ใช้สําหรับทําไมค้างนั้นใช้ไม้ไผ่ หรือไม้อื่นๆ ที่หาได้ง่ายในท้องถิ่นโดยความยาวของไม้ที่ความยาวประมาณ 2.5-3 เมตรหรือ อาจจะสร้างโครงเสาแล้วใช้ลวดขึงด้านบน และใช้เชือกห้อยลงมายังลําต้นถั่วฝักยาวให้เลื้อยขึ้นระยะ เวลาการใส่ค้างถั่วฝักยาวนั้น จะเริ่มใส่หลังจากงอกแล้ว 15-20 วัน โดยจับต้นถั่วฝักยาวให้พันเลื้อยขึ้น ค้างในลักษณะทวนเข็มนาฬิกา วิธีการปักค้างทําได้หลายวิธี เช่น
2.1 ปักไม้ค้างหลุมละ 1 ค้างโดยให้ตั้งฉากกับผิวดิน
2.2 ปักไม้ค้างหลุมละ1คัาง โดยให้เอียงเข้าหาร่องเป็นคู่และมัดปลายเข้าด้วยกันใช้ไม้ไผ่พาดยึดค้างด้านบนให้แข็งแรง
2.3 ปักไม้คัางหลุมละ 1 ค้าง โดยให้เอียงเข้าหากันกลางร่องเป็นคู่ แล้วมัดปลายเช่นเดียวกับ ข้อ 2.2 แต่ใช้ไม้คํ้ายันแต่ละคู่เป็นแบบกระโจม
2.4 การใช้เชือกแทนค้าง พบว่าในแหล่งที่หาค้างยาก ผู้ปลูกพยายามใช้เชือกแทนค้าง ซึ่งมีความเป็นไปได้สูง ดังนั้น การปลูกถั่วฝักยาว ควรมีการทดสอบการใช้เชือกแทนค้าง เพื่อหาข้อมูลสําหรับการลดต้นทุนการผลิตต่อไป - การใส่ปุ๋ย
ถั่วฝักยาวเป็นพืชที่ต้องการธาตุฟอสฟอรัสสูงในการสร้างดอก ในทางวิชาการแนะนําให้ใช้ปุ๋ยอัตราส่วนของไนโตรเจน (N)ฟอสฟอรัส (P2O5) และโปรแตสเซียม (K2O) คือ 1:1.5-2:1 ปุ๋ยสูตรดังกล่าวไม่มีจำหน่ายในท้องถิ่น อาจใช้สูตร 15-15-15 ซึ่งใช้ในสภาพดินที่เป็นดินเหนียว หรือ สูตร13-13-21 ในสภาพดินที่เป็นดินทราย สําหรับการใส่นั้น ควรแบ่งใส่ดังนี้ คือ
ก. ใส่ขณะที่เตรียมหลุมปลูกตามที่ได้กล่าวแล้วข้างต้น
ข. ใส่เมื่อต้นถั่วอายุประมาณ 15 วัน โดยการพรวนดินแล้วโรยปุ๋ยรอบๆ ต้นให้ห่างจากโคนต้นประมาณ 10 เซนติเมตร ในอัตรา 1 ช้อนแกง (25-30 กรัม) ต่อหลุมแล้วใช้ดินกลบเพื่อป้องกันไม่ให้ปุ๋ยสูญเสียไป การใสปุ๋ย ร่วมกับปุ๋ยคอกในระยะนี้ จะทําให้การใช้ปุ๋ยเคมีมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
ค. ใส่เมื่อเก็บผลครั้งแรกเมื่ออายุประมาณ 55 วัน โดยใส่ปุ๋ยประมาณ 2 ช้อนแกงต่อต้น และหลังจากนั้นให้ใส่ปุ๋ยทุกๆ 7-10 วัน การใส่ปุ๋ยระหว่างช่วงเก็บเกี่ยวอย่างสมํ่าเสมอ และปริมาณพอจะทําให้เก็บถั่วฝักยาวได้นาน โดยผลผลิตมีคุณภาพดี และปริมาณผลผลิตต่อไร่สูงขึ้น -
การกําจัดวัชพืช
หลังจากถั่วฝักยาวงอกแลัว ต้องคอยดูแลวัชพืชในแปลงปลูก โดยทั่วไปแลัวจะกําจัดวัชพืช หลังจากเมล็ดงอกแล้วประมาณ 10-15 วัน หรือก่อนที่จะปักค้างหลังจากนั้น จึงคอยสังเกตจํานวนวัชพืชในแปลง หากพบวัชพืชควรกําจัด และเมื่อต้นถั่วเจริญเติบโตคลุมแปลงแล้วจะทําให้การแข่งขันของวัชพืชลดลง ในการกำจัดวัชพืชในระยะที่ถั่วฝักยาวเริ่มออกดอกนั้น ต้องเพิ่มควรระมัดระวังเป็นพิเศษเนื่องจากการกําจัดวัชพืชอาจกระทบกระเทือนรากอันเป็นสาเหตุให้ดอกร่วงได้
การเก็บเกี่ยว
ถั่วฝักยาวจะเก็บเกี่ยวได้หลังจากปลูกประมาณ 55-75 วัน ขึ้นอยู่กับสายพันธุ์และสภาพแวด ล้อมที่เกี่ยวข้อง การเก็บนั้น อาจจะสังเกตจากลักษณะฝักที่ตรงตามความต้องการของตลาด หรืออาจจะนับวันโดยเริ่มจากวันผสมเกสรซึ่งจะอยู่ในช่วงประมาณ10-15 วัน วิธีการเก็บให้ปลิดขั้ว ระวังไม่ให้ดอกใหม่หลุดเสียหาย เพราะจะกระทบกระเทือนต่อปริมาณผลผลิตลักษณะการเก็บให้ทยอยเก็บทุกๆ 2-4 วัน โดยไม่ปล่อยให้ฝักแก่ตกค้าง ปกติแล้วระยะเวลาการให้ผลผลิตของถั่วฝักยาวอยู่ในช่วง 1-2 เดือน หรืออาจเก็บได้ 20-40 ครั้งขึ้นอยู่กับการดูแลรักษาและสายพันธุ์ที่ปลูกขณะนั้น หลังจากเก็บเกี่ยวถั่วฝักยาวแล้วให้นําเข้าร่มทันที ไม่ควรวางไว้กลางแดด แล้วนําลงบรรจุในภาชนะ เช่น ตะกร้า หรือเข่งซึ่งบุด้วยวัสดุที่ป้องกันการขูดขีดผลผลิต ได้แก่ ใบตอง หรือวัสดุอื่นๆ ที่ใช้ทดแทนกันได้ การบรรจุนั้น ไม่ควรบรรจุปริมาณมากเกินไป เพราะจะทําให้ผลผลิตบอบชํ้าเสียหายได้
ลักษณะถั่วฝักยาวที่ตลาดต้องการ แบ่งได้ดังนี้
- ความต้องการของตลาดในประเทศ ต้องการถั่วฝักยาวที่มีความยาว ฝัก 50-70 เซนติเมตร สีเปลือกเขียว ฝักไม่พอง แต่ความต้องการในแต่ละท้องถิ่นนั้นจะแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับความนิยมของผู้บริโภค และลักษณะการ ประกอบอาหารของแต่ละแหล่งด้วย
- ความต้องการของตลาดต่างประเทศ ต้องการถั่วฝักยาวที่มีความยาวฝักประมาณ 36-40 เซนติเมตรขนาดสมํ่าเสมอ สดไม่บอบชํ้า เก็บอ่อนกว่าปกติ 1-2 วัน
การเก็บเมล็ดไว้ทำพันธุ์
ไม่ควรปล่อยให้ฝักของถั่วฝักยาวแห่งคาต้น พอฝักเริ่มเหลืองและพองตัวก็สามารถเก็บมาแกะเมล็ดนําออกตาก เพื่อเก็บไว้เป็นเมล็ดพันธุ์ต่อไป ถ้าปลูกในฤดูฝน การเก็บเมล็ดพันธุ์จะยุ่งยากพอสมควรเพราะถ้าปล่อยให้แก่คาต้น เมล็ดในฝักจะงอกหรือเกิดเชื้อราทําลายเมล็ด ฉะนั้น ควรระมัดระวัง และดูจังหวะเวลาเก็บเกี่ยวให้ดี
การตัดแต่งฝัก
ควรมีการตัดแต่งฝักที่อยู่ระดับล่างออกบ้าง เพื่อมิให้ต้นถั่วฝักยาวโทรมก่อนถึงอายุการเก็บเกี่ยวจริง และทําให้ฝักที่อยุ่ส่วนยอดเต่งงามไม่ลีบ โดยเฉพาะเมื่อปลูกในฤดูฝนจะเป็นการช่วยไม่ให้ฝักนอนอยู่บนผิวดิน ซึ่งจะป้องกันไม่ให้เกิดโรคระบาดได้ง่ายและลดปัญหาเมล็ดแก่งอกในฝัก
ราคาขาย
ราคาขายตลาดสี่มุมเมือง ณ วันที่ 21 มีนาคม 2565
- ถั่วฝักยาวด้วง (ใหญ่สวย) ราคากิโลกรัมละ 48 บาท / ถั่วฝักยาวด้วง (เล็กสวย) ราคากิโลกรัมละ 40 บาท
- ถั่วฝักยาวเส้น (ใหญ่สวย) ราคากิโลกรัมละ 40 บาท / ถั่วฝักยาวเส้น (เล็กสวย) ราคากิโลกรัมละ 36 บาท
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ :
http://www.eto.ku.ac.th
https://www.flickr.com
https://www.simummuangmarket.com