สะเดา
สะเดา มีชื่อทางการค้าว่า Neem, Nim, Margosa, Yepa, Tamaka เป็นไม้ขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ ขึ้นได้ดีทุกสภาพพื้นที่โดยเฉพาะที่ดินดอน น้ำไม่ท่วม อากาศร้อนชื้นอุณหภูมิสูงถึง 44 0c ที่ระดับความสูง 50-1,000 เมตร จากระดับน้ำทะเลปริมาณน้ำฝนเฉลี่ย ประมาณ 450-1,150 มม./ปี เจริญเติบโตเร็ว ปัญหาเกี่ยวกับโรคแมลงทำอันตรายมีน้อย เริ่มให้เมล็ดเมื่ออายุประมาณ 5 ปี 1 กก. จะมีเมล็ดประมาณ 4,000 เมล็ด ต้นหนึ่งๆ จะให้เมล็ดเฉลี่ยประมาณ 50 กก. เมล็ดจะมีน้ำมันประมาณ 45% ของน้ำหนัก เมล็ดไม่สามารถ เก็บไว้ได้นานเพราะสูญเสียการงอกเร็วมาก
การเตรียมกล้าไม้
ก่อนเพาะเมล็ดควรนำผลที่ได้จากการเก็บจากกิ่ง หรือร่วงหล่นตามโคนต้นมาขยำกับทรายและ ล้างน้ำเพื่อให้เนื้อเยื่อหุ้มเมล็ดหลุดออกเสียก่อนแล้วนำไปเพาะหรือผึ่งในที่ร่มให้แห้ง อาจเพาะเมล็ดลงใน ถุงพลาสติก หรือแปลงเพาะซึ่ง เตรียมไว้มีขนาดกว้าง 0.75-1 เมตร ความยาวแล้วแต่งสภาพพื้นที่ โดยหว่านเมล็ดให้กระจายทั่วแปลงกลบดินหนาประมาณ 0.5 ซม. ชั้นบนคลุมด้วยฟางบาง ๆ หลังจากหว่านเมล็ด รดน้ำเช้า เย็น 5-7 วัน เมล็ดจะเริ่มงอก ซึ่ง การเพาะเมล็ดในแปลงเพาะ หากย้ายชำกล้าไม้ไม่ทันก็สามารถปล่อยให้กล้าไม้โตค้างปีได้ ต่อมาก็ถอนกล้าตบแต่งให้มีลักษณะคล้ายเหว้าชำในถุงพลาสติกได้ หรือพื้นที่ใดมีฝนตกดีก็สามารถถอนย้ายปลูกแบบไม่มีดินติดรากได้ โดยเปอร์เซ็นต์การรอดตายก็ไม่แตกต่างจากกล้าไม้ในถุงพลาสติกมากนักขนาดกล้าไม้ที่ย้ายชำลงในถุงพลาสติกย้ายได้ตั้งแต่รากเริ่มปริและแทงยอดอ่อนจนถึงกล้าใหญ่สําหรับกล้าขนาดเล็กควรย้ายชําเมื่อมีใบจริงไม่ต่ำกว่า 2 คู่ กล้าไม้ที่เหมาะสมในการย้ายปลูกควรสูงประมาณ 8-12 นิ้ว อายุประมาณ 4-5 เดือน
การเตรียมพื้นที่ปลูก
การเตรียมพื้นที่จะกระทําตามความเหมาะสมของพื้นที่ โดยการใช้รถแทรกเตอร์ไถพรวนก่อนปลูกและเก็บริบสุมเผาในช่วงฤดูร้อน แล้วปักหลักที่มีขนาดพอสังเกตได้กําหนดระยะปลูก เพื่อใช้หมายที่ปลูก ตรวจสอบการรอดตายของไม้ที่ปลูก การปลูกตรวจสอบการรอดตายของไม้ที่ปลูกการปลูกซ่อนในภายหลังและความสวยงามเป็นระเบียบในการปลูก ส่วนการขุดหลุมที่เหมาะสมคือ กว้าง X ยาว X ลึกขนาด 25 X 25 X 25 ซม. ระยะปลูกสามารถใช้ตั้งแต่ 2 X 4 หรือ 4 X 4 เมตร ตามความเหมาะสมและวัตถุประสงค์
การปลูก
การปลูกควรใช้กล้าอายุประมาณ 4-5 เดือน สูงประมาณ 8-12 นิ้ว และถ้าได้กล้าไม้ในถุงพลาสติกค้างปีก็ยิ่งดีโดยทําการตัดรากและยอดแล้วรดนํ้าให้ชุ่มเพื่อให้แตกรากขึ้นมาใหม่ เมื่อฝนตกหนักก็ย้ายปลูกในวันรุ่งขึ้น กล้าสะเดาจะเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วกว่ากล้าไม้ที่เตรียมในปีนั้น ฉีกถุงพลาสติกออกวางกล้าตรงกลางหลุมกลบดินและกดรอบๆ โคนต้นให้แน่น ระดับดินที่กลบควรให้เป็นแอ่งลึกกวาระดับรอบประมาณ 1 กว่ามือ เพื่อรอรับนํ้าฝนเลี้ยงต้นไมต่อไป
การบำรุงรักษา
- กําจัดวัชพืช ไม่สะเดาต้องการแสงมากแม้ว่ากล้าไม้สะเดาจะมีความสามารถแก่งแย่งกับพวกวัชพืชได้ดีก็ตาม แต่ในปีแรกก็จําเป็นต้องเอาใจใส่ด้านวัชพืชให้เมื่อมีวัชพืชเบียดบัง แย่งแสงและอาหารจากต้นไม้
- การใส่ปุ๋ยสําหรับพื้นที่ที่ความอุดมสมบูรณ์ต่ำเมื่อกล้าไม้ที่ปลูกตั้งตัวได้แล้ว ควรเร่งการเจริญเติบโตด้วยการใส่ปุ๋ยสูตร 15-15-15 หรือ 20-20-20 ประมาณต้นละ 1 ช้อนกาแฟ โดยการพรวนดินรอบๆ โคนต้นแล้วโรยปุ๋ยตาม
- การลิดกิ่ง ปกติเมื่อสะเดาสูงประมาณ 1 เมตรขึ้นไป จะเริ่มแตกกิ่งก้านเป็นพุ่ม หากต้องการ ให้มีลําต้นเปลาตรง ให้ประโยชน์ในการแปรรูปได้มากขึ้นจึงควรหมั่นลิดกิ่งอย่างสมํ่าเสมอ และอาจนํากิ่งมาทําฟืนได้
- การตัดสางขยายระยะ เมื่อต้นไม้มีเรือนยอดเบียดชิดกัน มีการแก่งแย่งกัน อัตราการเจริญเติบโตลดลง ควรตัดสางออกมาให้ประโยชน์ในรูปของไม้ขนาดเล็กได้ก่อน อาจตัดออกแถวเว้นแถว หรือเลือกตัดเป็นต้นๆ ตอของต้นที่ตัดออกจะแตกหน่อต่อไป
- การป้องกันไฟ สะเดาเป็นไม้ทนไฟ หากไฟไหม้รุนแรง ต้นเดิมอาจตาย แต่ก็จะแตกหน่อใหม้ จึงเป็นสาเหตุให้การเจริญเติบโตชะงักงัน และทำให้เกิดแผลตามลำต้น จึงควรทำแนวกันไฟกว้างประมาณ 6-8 เมตร รอบแปลงปลูก หลังสะเดาเจริญเติบโตมีเรือนยอดชิดติดกันปกคลุมพื้นที่ปริมาณวัชพืชจะน้อยลงปัญหาเรื่องไฟก็จะหมดไปด้วย
ประโยชน์
เนื้อไม้ใช้ก่อสร้างบ้านเรือน เฟอร์นิเจอร์ เปลือกราก เปลือกต้นและผลอ่อน เป็นยาเจริญอาหารแก้ไข้มาเลเรีย เปลือกรากเป็นยาสมานแผล แก้ไข้ ใบ เมล็ดเป็นยาฆ่าแมลง ฆ่าเชื้อ ใบอ่อนและดอกเป็นอาหารเป็นยาเจริญอาหารและช่วยย่อยอาหาร ดอกแก้พิษเลือดกําเดา บํารุงธาตุ ผลแก่โรคหัวใจ กระพี้แก่นํ้าดีพิการ แก่นแก้คลื่นเหียนอาเจียน รากแก้ลม เสมหะที่แน่นในอกและจุกคอ ยางดับพิษร้อนเปลือกรากแก้วแก้ไข้ ทําให้อาเจียน แก้โรคผิวหนัง ยอดอ่อนใชถ่ายพยาธิ์ แก้ริดสีดวงและปัสสาวะพิการเมล็ดสามารถสกัดนํ้ามัน เป็นสารยับยั้งการเจริญเติบโตแพร่พันธุ์แมลง
ราคาขาย
- ดอกสะเดา (ใหญ่สวย) ราคากิโลกรัมละ 12 บาท ราคา ณ วันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2565
- ใบสะเดา ราคากำละ 10 บาท ราคา ณ วันที่ 10 มีนาคม 2565
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ :
http://www.eto.ku.ac.th
https://www.simummuangmarket.com
https://www.flickr.com