การทำนาในสภาพฝนแล้งหรือฝนทิ้งช่วง

การทำนา

สภาพการทํานาปีในเขตลุ่มน้ำเจ้าพระยาส่วนใหญ่อาศัยนํ้าฝน เพื่อใช้ในการทํานาหว่านและ การปักดําสําหรับการใช้น้ำชลประทานก็เพียงเพื่อการเสริมให้มีปริมาณนํ้าพอเพียง เมื่อยามที่มีปริมาณน้ำฝนไม่พอเพียงเท่านั้น อย่างไรก็ดี หากมีฝนตกปกติตามฤดูกาลการใช้น้ำชลประทานก็ไม่มีความจำเป็น

ต้นกล้าข้าว
ต้นกล้าของข้าว

ปัญหา

ตามที่ได้เกิดภาวะแห้งแล้งติดต่อกันเป็นเวลานานในเขตลุ่มน้ำเจ้าพระยา มีผลทำให้ปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำเขื่อภูมิพลและสิริกิตติ์ในปี 2535 อยู่ในระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ ไม่สามารถระบายน้ำเสริมเพื่อการทํานาปีในเขตลุ่มน้ำเจ้าพระยาได้เป็นปกติ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยกรมชลประทานจึงได้ประกาศให้เกษตรกรซึ่งอยู่ใ นเขตลุ่มน้ำเจ้าพระยา เลื่อนการทำนาปีในเดือนสิงหาคมเป็นเหตุให้เกษตรกรต้องชะลอการลงมือปลูกข้าว

คำแนะนำสำหรับเกษตรกร

  1. เลื่อนการทํานาปีออกไปจนกว่าจะเริ่มมีฝนตกชุก คือประมาณต้นเดือนสิงหาคม
  2. ในช่วงสัปดาห์แรกของเดือนสิงหาคม ถ้ามีปริมาณน้ำพอที่จะตกกล้าได้ แนะนําให้ทานาดำหรือหากมีน้ำมากพอก็ใช้วิธีหว่านน้ำตมได้เพื่อลดขั้นตอนและช่วงระยะเวลาการทํานา 
  3. ถ้าหากถึงกลางเดือนสิงหาคม ปริมาณน้ำในทุ่งยังไม่เพียงพอที่จะตกกล้า แนะนําให้ทำการหว่านข้าวแห้งหรือหว่านสำรวย
  4. กรณีที่ต้องการใช้น้ำเพื่อช่วยเหลือการทำนาปีในช่วงฝนทิ้งช่วง ก็จะให้มีการใช้น้ำจากแหล่งน้ำหรือคูคลองที่อยู่ใต้พื้นที่เขื่อเก็บกักน้ำ โดยทางราชการจะสนับสนุนเครื่องสูบน้ำเพื่อช่วยเหลือเกษตรกร
  5. สำหรับพื้นที่ดอนที่เสี่ยงต่อการขาดแคลนน้ำในการทํานา ขอให้เกษตรกรงดการปลูกข้าวและหันมาปลูกพืชอายุสั้น เช่น ถั่วและพืชผักต่างๆ แทน

วิธีการแก้ปัญหา

โดยสภาพทั่วไป ฝนจะตกชุกในช่วงเดือนสิงหาคมทุกปี หากในพื้นที่นามีน้ำมากเพียงพอก็ขอให้เกษตรกรทำการตกกล้า เพื่อจะได้ทำการปักดำหรือทำนาหว่านน้ำตม ถ้าเกิดสภาพฝนทิ้งช่วงเป็นระยะเวลายาวนานไปถึงช่วงเดือนสิงหาคม หากเกษตรกรได้ตกกล้าไว้ตั้งแต่ช่วงปลายเดือนกรกฎาคม อายุกล้าจะแก่และย่างปล้องแล้ว ในการปักดำให้ใช้จำนวนต้นต่อจับให้มากขึ้น และปักดำให้ถี่ เพราะกล้าเหล่านี้จะแตกกอน้อย หรือใช้วิธีการปลูกข้าวโดยการหว่านข้าวแห้งเพื่อลดขั้นตอนในการตกกล้าและไม่ชะงักในการเจริญเติบโตเก็บเกี่ยวได้ทันดูกาล

การปลูกข้าวโดยการหว่านข้าวแห้งหรือหว่านสำรวย

การปลูกข้าวโดยการหว่านข้าวแห้งหรือหว่านสำรวย การปลูกโดยใช้เมล็ดแห้งที่ยังไม่ได้ให้งอก ทำได้ดังนี้ 

  1. ทำการไถดะตากดินไว้เพื่อทำลายวัชพืช จึงทำการไถแปรย่อยดินให้มีขนาดพอเหมาะ แล้วปรับดินให้เรียบสม่ำเสมอ ได้ระดับ แล้วจึงหว่านเมล็ดข้าวแห้ง
  2. การหว่าน ใช้เมล็ดพันธุ์ข้าวที่ได้เตรียมไว้หว่าน ไร่ละ 15 กก. แล้วคราดกลบ 
  3. เมล็ดพันธุ์ข้าวควรใช้เมล็ดพันธุ์ข้าวที่ไม่ไวแสงปลูก หากใช้ข้าวไวแสงเวลาจะไม่ทันได้ผลผลิตต่ำ
  4. การใส่ปุ๋ย ข้าวที่ปลูกในช่วงในแล้ง เป็นการปลูกข้าวล่าช้ากว่าฤดูกาลมาก จึงมีความจำเป็นที่จะต้องใส่ปุ๋ย ช่วยเร่งให้ต้นข้าวมีการเจริญเติบโตได้เต็มที่ จึงจะทำให้ได้ผลผลิตสูงใกล้เคียงกับการทำนาดำตามฤดูกาลปกติ
รวงข้าว
รวงข้าว ช่อดอกของข้าว

การใส่ปุ๋ยครั้งที่ 1

ในพื้นที่ดินเหนียวให้ใส่ปุ๋ยสูตร 16-20-0, 18-22-0 หรือ 20-20-0 สูตรใดสูตรหนึ่งในอัตราไร่ละ 25 กก. ในดินทรายให้ใส่ปุ๋ยสูตร16-16-8 ในอัตราไร่ละ 25 กก. โดยใส่ปุ๋ยหลังจากข้าวงอกแล้ว 5-6 วัน

การใส่ปุ๋ยครั้งที่ 2

ให้ใส่ปุ๋ย หลังจากข้าวงอกแล้ว 40-45 วัน โดยใช้ปุ๋ยแอมโมเนียมซัลเฟต หรือ แอมโมเนียคลอไรด์ ไร่ละ 25-30 กก. หรือ ปุ๋ยยูเรีย ไร่ละ 10-15 กก. ในการใส่ปุ๋ย ควรจะคำนึงถึงว่าดินจะต้องเปียกแฉะหรือมีน้ำขังไม่ควรเกิน 20 เซนติเมตร ถ้าหากดินแห้งหรือระดับน้ำมากกว่านี้ ให้เลื่อยการใส่ปุ๋ยออกไป มิฉะนั้นจะทำให้การใช้ปุ๋ยไม่มีประสิทธิภาพเกิดการสูญเสียปุ๋ย ทำให้ต้นข้าวได้รับปุ๋ยไม่พอเพียง ผลผลิตจะต่ำ

การดูแลรักษา

  • ควรปรับปรุงคันนาให้ดี อุดรูรั่วของน้ำ
  • หมั่นตรวจดูนาอย่างสม่ำเสมอ หากพบศัตรูข้าวให้รีบกำจัด
  • ถ้าหากพบว่าข้าวขึ้นไม่สม่ำเสมอ ควรถอนต้นข้าวที่แตกกอไปซ่อมแซม

ในที่ฝนแล้วหรือฝนทิ้งช่วงเป็นประจำ ให้เปลี่ยนวิธีการปลูกข้าว จากการปักดำนามาปลูกโดยการหว่านแห้ง ไม่ควรรอให้ฝนตก ได้น้ำเพียงพอในการตากกล้าและปักดำ เพราะจะล่วงเข้าในฤดูกาลมากทำให้ข้าวที่ปักดำไม่เท่าไรก็จะตั้งท้องและออกดอก ทำให้ได้ผลผลิตต่ำอย่างไรก็ตาม หากฝนล่ามาจนถึงปลายเดือนสิงหาคม จนถึงปลายเดือนสิงหาคมชนต้นกันยายนจะทำให้การกว่านแห้งก็ไม่ค่อยได้ผล เพราะฤดูกาลล่ามากฝนจะหมดควารงดการปลูกข้าว หันไปปลูกพื้ชอายุสั้นแทน เช่น ถั่วและพืชผักต่างๆ

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ :
http://www.eto.ku.ac.th
https://www.flickr.com

Add a Comment