การปลูกหอมหัวใหญ่ พืชผักที่มีความสําคัญทางเศรษฐกิจ

หอมหัวใหญ่

หอมหัวใหญ่ เป็นพืชผักที่มีความสําคัญทางเศรษฐกิจพืชหนึ่งในโลกมีการใช้บริโภคสดกับผักสลัด ประกอบอาหาร และใชแปรรูปในโรงงานอุตสาหกรรมได้แก่ อบแห้ง ดองนํ้าส้ม และใช้เป็นส่วน ประกอบในปลากระป๋อง เป็นต้น สําหรับประเทศไทยมีการปลูกหอมหัวใหญ่และให้ผลผลิตได้เพียง 1 ครั้ง ในรอบปี โดยจะเริ่มมีการเก็บเกี่ยวผลผลิต ตั้งแต่เดือนธันวาคม – เมษายน หลังจากนั้นจะเก็บ รักษาผลผลิตตั้งแต่เดือนพฤษภาคมถึงตุลาคม ไว้ใช้บริโภคจนถึงฤดูปลูกใหม่ ถ้าหอมหัวใหญ่ภายนอกประเทศมีต้นทุนการผลิตตํ่า และมีการลักลอบนําเมล็ดพันธุ์มาปลูกทําให้ มีปริมาณหอมหัวใหญ่ในท้องตลาดมาก ก็จะเกิดภาวะราคาตกต่ำ ก่อความเดือดร้อนให้แก่เกษตรกรซึ่ง ในปัจจุบันได้มีการทําเป้าหมายการผลิตเป็นรายปี เพื่อให้พื้นที่ปลูกมีปริมาณเหมาะสมและสามารถควบ คุมคุณภาพผลผลิตให้สอดคล้องกับความต้องการบริโภคและเกษตรกรขาย ผลผลิตได้ในราคาดี สําหรับแหล่งผลิตที่สําคัญได้แก่ จังหวัดกาญจนบุรีและจังหวัดเชียงใหม่นั้น มีสภาพแวดล้อมเหมาะสมใน การผลิตหอมหัวใหญ่ แต่การที่จะผลิตหอมหัวใหญ่ให้ได้ปริมาณและ คุณภาพตรงตามความต้องการของตลาด ต้องมีการปฏิบัติ ตามคําแนะนําทางวิชาการ ดูแลเอาใจใส่ อย่างใกล้ชิด และขอคําแนะนําปรึกษาจากเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องส่วนในการจะปลูก หอมหัวใหญ่ให้ได้คุณภาพดีนั้นสามารถทําได้ดังนี้

หอมหัวใหญ่
หอมหัวใหญ่ หัวทรงกลม มีเปลือกบางแห้งสีน้ำตาลหุ้มอยู่

เกษตรกรนิยมใช้พันธุ์กราเน็กซ์ ซึ่งเป็นพันธุ์ดั้งเดิมที่นํามาจากประเทศสหรัฐอเมริกา หัวมีลักษณะค่อนข้างกลมคอเล็ก เปลือกสีน้ำตาลปนเหลือง เนื้อมีสีขาว อายุการเก็บเกี่ยวประมาณ 150 วัน นับตั้งแต่วันเพาะเมล็ด การปลูกหอมหัวใหญ่สามารถทําได้หลายวิธี เช่น หยอดเมล็ดในแปลงปลูกโดยตรง และเพาะกล้าปลูก สําหรับในประเทศไทยนิยมเพาะกล้าแล้วย้ายปลูก

1. การเตรียมเมล็ดพันธุ์

การเพาะหอมหัวใหญ่ในพื้นที่ 1 ไร่ จะต้องใช้เมล็ด พันธุ์ 1 ปอนด์ หรือประมาณ 454 กรัม โดยนําเมล็ดพันธุ์หอมหัวใหญ่แช่นํ้า ค้างคืนไว้ 1 คืน เพื่อให้เมล็ดพันธุ์งอกอย่างสมํ่าเสมอ แล้วนํามาคลุกด้วยสารป้องกันกําจัดโรคแมลง ทิ้งให้หมาดแล้วนำไปหว่านในแปลงเพาะ

2. การเตรียมแปลงเพาะกล้า

ให้เลือกพื้นที่ที่ทําแปลงกล้าใกล้บริเวณที่มีแหล่งนํ้า ไม่มีนํ้าขังแปลงกล้านี้จะต้องเตรียมให้ดีกว่า แปลงกล้าพืชผักอื่น ๆ เพราะกล้าหอมหัวใหญ่จะต้องอยู่ในแปลง นานถึง 40-45 วัน จึงจะย้ายปลูกได้ กําจัดวัชพืชออกให้หมด ย่อยดินให้ละเอียด ตากดินไว้ 7-10 วัน ใส้ปุ๋ยอินทรีย์ ได้แก่ ปุ๋ย คอก ปุ๋ยหมัก อัตรา 1-2 ตัน/ไร่ ปุ๋ยเคมี สูตร 15-15-15 อัตรา 30 กก./ไร่ แล้วคลุกเคล้าดินกับปุ๋ย ให้เข้ากัน ปรับและเกลี่ยดินในแปลงให้เรียบ

3. การเพาะกล้าและดูแลรักษา

โรยเมล็ดให้เป็นแถวตามความ กว้างของแปลง หรือตามแนวขวางบนแปลงเพาะ แต้ละแถวห้างกัน 10 เซนติเมตร แลเวหยอดเมล็ดลงในร้องที่ทําไวเ ให้เมล็ดในแต่ละแถวห่างกันประมาณ 1-2 เซนติเมตร เพื่อไม่ให้ต้นกล้าขึ้นแน่นและย่องอาหารกัน จากนั้นกลบด้วยดินหนา 1 เซนติเมตร ควรฉีดสารป้องกันกำจัดวัชพืช เช่น อะลาคลอร์ หรือโกล 2 อี เป็นต้น หลังจากนั้นใช้ฟางหรือหญ้าแห่งที่สะอาด คลุมแปลง รดนํ้าพอชุ่ม แต่อย่าให้แฉะ วันต่อไปต้องรดนํ้าให้ชุ่มอยู่เสมอ เมล็ดจะงอกภายใน 4-5 วัน

หลังจากทําการเพาะกล้าหอมหัวใหญ่แล้ว ควรทําหลังคาผ่าหรือ พลาสติกคลุมแปลงเพาะเพื่อช่วยรักษาดินให้ชุ่มชื้นพอเหมาะและ เพื่อป้องกันแสงแดดและฝนด้วย โดยใช้ไม้ไผ่เหลาดัดโค้งทําเป็นโครง หลังคาแล้วคลุมทับด้วยผ้าดิบหรือผ้า พลาสติกแล้วขึงให้ตึง เมื่อกล้าอายุได้ 2-3 วัน ให้ดึงเศษฟางหรือหญ้าแห้งที่คลุมออกให้เหลือบาง ๆ และเปิดผ้าคลุมแปลงให้กล้าได้รับแสงอาทิตย์โดยปฏิบัติดังนี้

สัปดาห์แรก เปิดช่วงเช้า 6.00-9.00 น.บ่าย 16.00-18.00 น.
สัปดาห์ที่ 2 เป็ดช่วงเช้า 6.00-10.00 น.บ่าย 15.00-18.00 น.
สัปดาห์ที่ 3 เปิดช่วงเช้า 6.00-11.00 น.บ่าย 15.00-18.00 น.

หลังจากนี้ไปเปิดผ้าคลุมตลอดวัน จะปิดก็ต่อเมื่อฝนตกหนักเท่านั้น

การเตรียมแปลงปลูก

หอมหัวใหญ่เป็นพืชผักประเภทลงหัว ฉะนั้นดินที่จะปลูกหอมหัวใหญ่ควร เป็นดินร่วน หรือดินร่วนปนทราย ควรไถพลิกดินตากแดดไว้อย่างน้อย 7 วัน และใส่ปุ๋ยอินทรีย์อย่างน้อย 2 ตันต่อไร่ และใส่ปุ๋ยเคมีสูตรที่มีฟอสเฟตสูง หรือ 15-15-15 ในอัตรา 50 กิโลกรัม/ไร่ รองพื้นคลุกเคล้าไปกับการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ ขนาดของแปลงควรกว้างประมาณ 1-1.20 เมตร

การงอกของหอมหัวใหญ่
หอมหัวใหญ่ ลำต้นเป็นหัวอยู่ใต้ดิน

ระยะปลูก

ระยะปลูกที่เหมาะสม คือ ใช้ระยะระหว่างต้น 10-15 เซนติเมตร ระยะระหว่างแถว 15-20 เซนติเมตร

การใส่ปุ๋ย

การปลูกหอมหัวใหญ่ในช่วงนอกฤดูซึ่งตรง กับช่วงฤดูฝนของบ้านเรา ซึ่งฝนจะตกชุก ในช่วงดังกล่าว การให้เฉพาะปุ๋ยสูตร 15-15-15 อย่างเดียวไม่เพียงพอเกษตรกรผู้จัดทําแปลงควรให้ปุ๋ยยูเรียเสริมด้วย เพื่อเร่งการเจริญเติบโตของหอมหัวใหญ่ โดยใส๋ปุ๋ยหลังจากที่หอมหัวใหญ่มีอายุ 60-65 วัน นับจากวันเพาะกล้า อัตรา 25 กก./ไร่ และ ใส่ปุ๋ยสูตร 15-15-15 อีก 2 ครั้ง ครั้งละ 30 กก./ไร่ ครั้งแรกเมื่อหอมหัวใหญ่มีอายุ80-85 วัน และครั้งที่สองเมื่อหอมหัวใหญ่มีอายุ 95-100 วัน

การย้ายปลูก

การย้ายกล้าปลูกควรย้ายกล้าปลูกในขณะ ที่แดดยังอ่อนอยู่หรือในช่วงเวลาประมาณ 16.00-18.00 น. จะเป็นเวลาที่เหมาะ สมที่สุด กล้าที่ใช้ต้องแข็งแรงสมบูรณ์ และต้นกล้าควรมีอายุประมาณ 45 วัน หลังจากเพาะกล้า เพราะถ้ากล้าอายุเกิน 45 วันไปแล้วจะเริ่มลงหัว การขุดต้นกล้าต้องระมัดระวังอย่าให้รากขาดเพราะจะทําให้หอมหัวใหญ่ชะงักการเจริญเติบโต แช่ต้น กล้าในสารป้องกันกําจัดเชื้อราซึ่งผสมไว้ให้เข้มข้นกว่าฉีดในแปลง 1 เท่าตัว เพื่อป้องกันโรคเข้าทําลาย ตามรอยแผลของโคนหัวหอมจากนั้นจึงนํากล้ามาปลูกหลุมละ 1 ต้น กดดินรอบ ๆ ต้นให้แน่น รดนํ้าแต่ พอชุ่มอย่าให้แฉะในการเลือกกล้าย้ายปลูกนี้ควรเลือกกล้าที่มีขนาดเดียวกัน หากเอากล้าขนาดเล็กและ ใหญ่ปลูกปนกัน ต้นกล้าจะโตไม่ทันกัน ทําให้ไม่สะดวกในการเก็บเกี่ยว ควรใช้ฟางคลุมแปลงภายหลัง จากย้ายปลูกไปแล้ว เพื่อช่วยเก็บรักษาความชื้นในดินและช่วยป้องกันไม่ให้ดินจับตัวกันแน่น แต่ควรคลุมแปลงให้บาง ๆ เพื่อต้นหอมจะได้แทงใบขึ้นได้ง่าย

การให้น้ำ

การให้นํ้ากล้าหอมหัวใหญ่ที่ย้ายลงปลูกใน แปลงใหญ่โดยปกติจะให้นํ้าวันเว้นวัน และ หลังจากตั้งตัวได้แล้วให้นํ้า 3-5 วันต่อครั้ง แต่ทั้งนี้ให้ดูความชื้นของดินประกอบ ไปด้วย การให้นํ้าสามารถทําได้หลายวิธี คือ ใช้สายยางรด ใช้สปริงเกอร์หรือปล่อยนํ้าเข้าตามร่องแบบการให้นํ้าพืชไร่แต่ต้องจัดระบบการระบายนํ้าให้ดีอย่าให้ขัง แฉะ เพราะถ้านํ้าขังแฉะมากเกินไปจะทําให้หอมหัวใหญ่เน่าได้ง่าย และเมื่อสังเกตเห็นว่าดินเริ่มแห้งจึง เริ่มให้นํ้าสําหรับแปลงที่ใช้ฟางคลุมอยู่แล้วอาจจะให้นํ้าเพียงสัปดาห์ละครั้งก็ได้ วิธีการที่ให้นํ้าดีที่สุดคือ ปล่อยน้ำให้เข้าตามร่อง เพื่อให้นํ้าซึมเข้าแปลงอย่างเพียงพอ แล้วจึงระบายนํ้าออกอย่าให้ขังแฉะและจะลดปัญหาการระบาดของโรคได้

แปลงปลูกหอมหัวใหญ่
แปลงปลูกหอมหัวใหญ่ ปลูกในแปลงที่มีร่อง

การเก็บเกี่ยว

ควรเก็บเกี่ยวหอมหัวใหญ่ที่แก่จัด อายุ ประมาณ 150 วัน นับจากวันเพาะเมล็ด หรือสังเกตว่าเมื่อหอมหัวใหญ่เริ่มแก่ซึ่งใบ จะเริ่มถ่างออก ทั้งสองด้าน ใบหอมหัว ใหญ่เปลี่ยนเป็นสีเขียวปนเทา และเริ่มมีสีเหลืองสีของเปลือกหุ้มหัว เป็นสีนํ้าตาล แสดงว่าหอมหัวใหญ่เริ่มแก่จัดสามารถทําการเก็บเกี่ยว ได้ เหตุที่ต้องเก็บหอมหัวใหญ่มีอายุแก่จัดนั้นเพราะจะทําให้สามารถเก็บรักษาได้นาน รากจะไม่งอกและมีการแทงยอดขึ้นมาเร็วกว่าปกติ

วิธีการเก็บเกี่ยว

เมื่อหอมหัวใหญ่มีอายุประมาณ 150 วัน ใช้จอบหรือเสียมขุดลงไป ลึกกว่าระดับของหัวหอมเล็กน้อย หรือถ้าหัวลอยอยู่ก็สามารถถอนขึ้นมาได้เมื่อถอนขึ้นมาแล้วควรนํามามัดจุกไว้และผึ่งในที่ร่มให้แห้งสนิท

การปฏิบัติหลังการเก็บเกี่ยว

เมื่อถอนขึ้นมาแล้ว ควรนํามามัดจุกไว้ ผึ่งในที่ร่มให้แห้งสนิทไม่ควรตัดต้นหอมหัวใหญ่ขณะที่ต้น และใบยังสดอยู่เด็ดขาด เพราะจะทําให้เชื้อโรคเข้าทางแผลได้ ควรตัดต้นหอมเมื่อใบและต้นหอมหัว ใหญ่แห้งดีแล้ว โดยตัดตรงคอหอมให้สูงจากหัวประมาณ 2-3 เซนติเมตร ส่วนการตัดรากนั้นควรตัดให้ ชิดกับหัวเมื่อรากแห้งแล้ว และนํามาคัดขนาดตามเส้นผ่าศูนย์กลางของหัวเป็นประเภท ๆ ไป ควรคัด หอมที่เน่าและหอมแฝดออก เพราะหอมประเภทนี้เมื่อนําไปจําหน่ายจะไม่ได้ราคาสําหรับหอมหัวใหญ่ที่จะต้องแขวนเก็บไว้นั้น ควรเก็บไว้ในชายคาบ้านหรือโรงเรือนที่มีอากาศถ่ายเทได้ดี

การเก็บหอมหัวใหญ่
การเก็บหอมหัวใหญ่ โดยการมัดจุกไว้ในที่ร่ม

ราคาขาย

ราคาขายตลาดสี่มุมเมือง ณ วันที่ 1 มีนาคม 2565

  • หอมหัวใหญ่ (ใหญ่สวย) ราคากิโลกรัมละ 17 บาท / หอมหัวใหญ่ (เล็กสวย) ราคากิโลกรัมละ 15 บาท

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ :
http://www.eto.ku.ac.th
https://www.simummuangmarket.com
https://www.flickr.com

One Comment

Add a Comment