กำจัดต้น พริกหอม มะแขว่น
ชื่ออื่นๆ : กำจัดต้น, พริกหอม, หมากเทศ (กรุงเทพฯ) มะข่วง, มะแขว่น (ภาคเหนือ) มะแข่น (ประเทศลาว) ลูกระมาศ (ภาคกลาง) หมักข่วง (แม่ฮ่องสอน)
ต้นกำเนิด :
ชื่อสามัญ : –
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Zanthoxylum rhetsa (Roxb.) DC.
ชื่อวงศ์ : RUTACEAE
ลักษณะของกำจัดต้น พริกหอม มะแขว่น
ต้น ไม้ต้นสูงได้ถึง 20 ม. มีหนามแหลมตามลำต้น และกิ่ง
ใบ ใบประกอบแบบขนนกปลายคี่หรือคู่ เรียงสลับ มีใบย่อย 5-8 คู่ และอาจมีได้ถึง 11 คู่ ใบย่อยรูปไข่หรือรูปรี ปลายแหลมมาก โคนแหลม และเบี้ยว ขอบเรียบหรือหยักห่างๆ บางครั้งมีต่อมกลมเล็กๆ ที่บริเวณหยัก
ดอก ช่อดอกแบบช่อแยกแขนง ขนาดใหญ่ ออกที่ยอดหรือตามง่ามใบใกล้ยอด ดอกเล็ก แยกเพศ กลีบดอก 4 กลีบ สีนวลหรือขาวอมเขียว รูปรีหรือรูปไข่ เกสรเพศผู้ 4 อัน ดอกเพศเมียคล้ายดอกเพศผู้ มีรังไข่ใหญ่ ผลค่อนข้างกลม เส้นผ่านศูนย์กลาง 6-7 มม. ผิวขรุขระ
ผล ผลอ่อนสีเขียว รสเผ็ดซ่ามาก เมื่อแก่เปลือกเป็นสีน้ำตาล และแตกอ้าเห็นเมล็ดสีดำเป็นมัน
การขยายพันธุ์ของกำจัดต้น พริกหอม มะแขว่น
ใช้เมล็ด
ธาตุอาหารหลักที่กำจัดต้น พริกหอม มะแขว่นต้องการ
ประโยชน์ของกำจัดต้น พริกหอม มะแขว่น
- ใบอ่อน กินเป็นผักสดจิ้มน้ำพริกปลาร้า ลาบ ก้อย
- ผลแก่และเมล็ด ใช้เป็นเครื่องเทศผสมเครื่องแกงของอาหารพื้นเมืองภาคเหนือผสมกับลาบ หลู้ ยำต่างๆ และเป็นเครื่องแกงแค ใส่เป็น เครื่องผสมแกงอ่อมไก่ แกงอ่อมเนื้อ ดับกลิ่นคาวทำให้ มีกลิ่นหอม
สรรพคุณทางยาของกำจัดต้น พริกหอม มะแขว่น
- เมล็ด รสสุขุมกลิ่นหอม แก้ลมวิงเวียน บำรุงโลหิต บำรุงหัวใจ ขับลมในลำไส้ ถอนพิษฟกบวม แก้หนองใน
- รากและเนื้อไม้ รสร้อน ขับลมในลำไส้ แก้ลมขึ้นเบื้องสูง หน้ามืด ตาลาย วิงเวียน ขับระดู (ห้ามใช้กับหญิงมีครรภ์)
- ใบ ขยี้อุดฟันแก้รำมะนาด แก้ปวดฟัน
- ในตำรายาจีน ใช้แก้ปวด ท้อง ท้องอืด ท้องเฟ้อ แก้อาเจียน แก้ท้องเสีย และแก้อาการปวดไส้เลื่อน
คุณค่าทางโภชนาการของกำจัดต้น พริกหอม มะแขว่น
การแปรรูปของกำจัดต้น พริกหอม มะแขว่น
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=10509&SystemType=BEDO
www.flickr.com