ก่อ เกาลัดเมืองไทย เมล็ดนำมาต้ม หรือ คั่วให้สุกก่อนรับประทาน

ก่อ

ชื่ออื่นๆ : ต้นก่อ,  มะก่อ,  ก่อเดือย, ก่อหนาม, ก่อแป้น, ก่อสร้อย,  ก่อหนัด,  ก่อหัด, หมากก่อ,  เกาลัดป่า

ต้นกำเนิด : พบบริเวณป่าเบญจพรรณ ป่าเต็งรัง ป่าผสมผลัดใบ

ชื่อสามัญ : Evergreen Chinkapin.

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Castanopsis spp.

ชื่อวงศ์ : Fagaceae

ลักษณะของก่อ

ต้น  ไม้ยืนต้นไม่ผลัดใบ มีมากกวา 80 ชนิด ลำต้นสูง ตั้งแต่ 15 – 35 เมตร เปลือกลำต้นสีน้ำตาลอมเหลือง แตกล่อนเป็นสะเก็ดบางๆ

ใบ  ใบรูปหอก กว้าง 3-4 ซม. ยาว 10-15 ซม. โคนใบสอบเข้า ปลายใบเรียวแหลม มีส่วนย่นออกไปเป็นหาง ขอบใบเรียบ ใบเป็นมัน

ผล  ผลกลม เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 2 ซม. กาบหุ้มเมล็ดเป็นหนามแหลม ชนิดที่ผลมีหนามหุ้มเมื่อนำเมล็ดไปคั่วแกะกินเนื้อใน จะได้รสหวานมันคล้ายลูกเกาลัด

ผลก่อและใบ
ผลก่อและใบ ผลกลม กาบหุ้มเมล็ดเป็นหนามแหลม มีสีเขียว

การขยายพันธุ์ของก่อ

ใช้เมล็ด

ธาตุอาหารหลักที่ก่อต้องการ

ประโยชน์ของก่อ

  • ส่วนที่ใช้เป็นอาหาร เนื้อในเมล็ดสีขาว จะได้รสหวานมันเหมือนลูกเกาลัดของจีน
  • บำรุงร่างกาย บำรุงไต กล้ามเนื้อ ม้าม และกระเพาะอาหาร แก้ร่างกายอ่อนแอ
  • เนื้อไม้ ใช้ทำโครง สร้างส่วนต่างๆของบ้าน เช่น เสาบ้าน
เมล็ดก่อ
เมล็ดก่อ เมล็ดด้านใน สีน้ำตาล เงา เมื่อแกะจากกาบหุ้ม

สรรพคุณทางยาของก่อ

มีฤทธิ์อุ่น รสหวาน มีสรรพคุณบำรุงร่างกาย บำรุงไต กล้ามเนื้อ ม้าม และกระเพาะอาหาร บำรุงลม แก้ร่างกายอ่อนแอ แก้ไอ ละลายเสมหะ แก้อาเจียน คลื่นไส้ ท้องเดิน ช่วยห้ามเลือด ช่วยการไหล เวียนเลือด แก้อาการถ่ายเป็นเลือด เลือดกำเดาไหล
แก้วัณโรคที่ต่อมน้ำเหลืองที่คอโต และอาเจียนเป็นเลือด

คุณค่าทางโภชนาการของก่อ

การแปรรูปของก่อ

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=9511&SystemType=BEDO
https://www.flickr.com

Add a Comment