ขัดมอนเล็ก กัญชาป่า เป็นพรรณไม้พุ่ม ลำต้นไร้ขน

ขัดมอนเล็ก

ชื่ออื่นๆ : ขัดมอนเล็ก, หนวดแมว (ภาคกลาง) กระต่ายจามใหญ่, กัญชาป่า, มะไฟเดือนห้า (กรุงเทพฯ) ปีกแมงวัน (กาญจนบุรี) หูปลาช่อนตัวผู้ (ตราด) เทียนนา (จันทบุรี) หญ้าจ้าดตู๊ด, หญ้าหัวแมงฮุน (ภาคเหนือ) ขัดมอนเทศ (ตรัง) ตานซาน (ปัตตานี)

ต้นกำเนิด :

ชื่อสามัญ : Macao Tea

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Scoparia dulcis L

ชื่อวงศ์ : SCROPHULARIACEAE

ลักษณะของขัดมอนเล็ก

ต้น : เป็นพรรณไม้พุ่ม ลำต้นไร้ขน มีความสูงประมาณ 25-80 ซม.

ใบ : เป็นสีเขียวแก่ ใบเล็ก ขอบของใบจะหยักแบบฟันปลายาวประมาณ 1-2 นิ้ว ใบออกตรงข้ามกันเป็นเกลียวรอบกิ่ง

กิ่ง : กิ่งเล็กเรียว กิ่งแผ่สาขามาก

ดอก : ดอกสีขาว เล็ก กลีบเลี้ยงมีจำนวน 4 กลีบ เกสรตัวเมียมี 1 อัน ต้นหนึ่งจะมีดอกมาก

ผล ผลแห้ง รูปทรงกลม มีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 2.5 มม. เมล็ดเล็กมาก

ต้นขัดมอนเล็ก
ต้นขัดมอนเล็ก ไม้พุ่ม ลำต้นไร้ขน
ดอกขัดมอนเล็ก
ดอกขัดมอนเล็ก ดอกมีขนาดเล็ก สีขาว

การขยายพันธุ์ของขัดมอนเล็ก

ใช้เมล็ด

ธาตุอาหารหลักที่ขัดมอนเล็กต้องการ

ประโยชน์ของขัดมอนเล็ก

เป็นสมุนไพร,ใบชงน้ำดื่มแก้ไอ และรักษาโรคติดเชื้อของทางเดินอาหารบางชนิด

สรรพคุณทางยาของขัดมอนเล็ก

สรรพคุณทางสมุนไพร

  • ใบ รสฝาด ขับระดูขาว แก้ไอ แก้หลอดลมอักเสบ บำรุงธาตุ แก้ไข้ แก้ปวดฟัน
  • ต้น รสฝาด แก้ไอ แก้ไข้ แก้ท้องเสีย แก้ปวดท้อง แก้ลำไส้อักเสบ แก้ผื่นคัน แก้ขัดเบา ลดอาการบวมน้ำ แก้เหงือกบวม แก้ปากเปื่อย
  • ลูก รสฝาดเมา ขับพยาธิไส้เดือน
  • ราก รสฝาด ขับปัสสาวะ แก้ไข้ แก้ปวดศีรษะ แก้โรคเบาหวาน แก้ผื่นคัน สมานลำไส้ แก้บิด แก้ท้องร่วง แก้จุกเสียด

ตำรับยา

  1. เด็กที่เป็นไข้ให้ใช้ลำต้นที่สด ประมาณ 15 กรัม นำมาต้มใส่น้ำ ใส่น้ำตาลพอมีรสชาติ แล้วกรองเอาน้ำกิน
  2. เป็นผื่นคัน ให้ใช้ลำต้นที่สดตำให้ละเอียด คั้นเอาน้ำมาทาที่เป็น
  3. ขาบวมเนื่องจากเป็นโรคเหน็บชา ใช้ลำต้นที่สดขนาด 30 กรัม แล้วเอากินทุกเช้า-เย็นหลังอาหาร
  4.  เป็นหัด ให้ใช้ลำต้นที่สด ต้มแล้วกรองเอาน้ำกินติดต่อกัน 3 วัน
  5. ลำไส้อักเสบ ปวดท้อง ปัสสาวะขัด ใช้ลำต้นขนาด 15-30 กรัม ต้มให้เดือดแล้วเอาน้ำกิน
  6. มีอาการเจ็บคอ ใช้ลำต้นที่สด ประมาณ 120 กรัมตำให้ละเอียดแล้วคั้นเอาน้ำผสมกับน้ำผึ้ง รับประทาน
  7. ไอ ใช้ลำต้นที่สด ประมาณ 30-60 กรัม ต้มให้เดือดแล้วเอาน้ำรับประทาน

สารเคมีที่พบ
ต้นสด มี tritriacontone,sitosterol,d-mennitol,dulciol,dulcioline,scoparol,amellin,betulinic acid,iffaionic acid,benzoxazolinone,friedilin,glutinol,l-amyrin,dulcioic acid และ แอลคาลอยด์
ราก มี d-mannitol และ tannin,
เปลือก มี hexacosanol,B-sitosterol และ d-mannitol

คุณค่าทางโภชนาการของขัดมอนเล็ก

การแปรรูปของขัดมอนเล็ก

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : ศูนย์พัฒนาตำราการแพทย์แผนไทย มูลนิธิการแพทย์แผนไทยพัฒนา. (2549). พฤกษชาติสมุนไพร. หน้า 26.
https://www.flickr.com

Add a Comment