คอแลน หมักแวว
ชื่ออื่นๆ : บัคหมักแงว (นครราชสีมา) คอแลน (ภาคกลาง, ภาคเหนือ) มะแงว, หมักงาน (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) มะแงะ, หมักแงว (ภาคกลาง, ภาคตะวันออก) คอแลนตัวผู้, ลิ้นจี่ป่า (ภาคตะวันออกเฉียงใต้) กะเบน, คอรั้ง, สังเครียดขอน (ภาคใต้)
ต้นกำเนิด : เอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ชื่อสามัญ : คอแลน มะแงว
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Nephelium hypoleucum Kurz
ชื่อวงศ์ : SAPINDACEAE
ลักษณะของคอแลน หมักแวว
ต้น ไม้ยืนต้นขนาดกลางหรือขนาดใหญ่ สูงประมาณ 10 – 30 เมตร ไม่ผลัดใบ เปลือกหนา สีน้ำตาลคล้ำ ค่อนข้างเรียบ หรือแตกเป็นสะเก็ดทั่วไป
ใบ ใบประกอบแบบขนนก เรียงตัวแบบเวียนเป็นเกลียว ปลายใบแหลม ฐานใบมน ขอบใบเรียบ กว้างประมาณ 4-6 เซนติเมตร ยาว 10 – 16 เซนติเมตร ก้านใบยาว 5 – 10 เซนติเมตร
ดอก ดอกเล็กสีขาว ออกเป็นช่อตามปลายกิ่ง และตามง่ามใบ ดอกเพศผู้ ดอกเพศเมีย และดอกสมบูรณ์เพศอยู่ต้นเดียวกัน ออกดอกเดือนธันวาคม-กุมภาพันธ์
ผล เป็นผลสดที่ผิวด้านนอกของผลจะปกคลุมด้วยหนามที่มีปลายทู่ เนื้อหุ้มเมล็ดสีขาว เปลือกหุ้มเมล็ดเรียบ สีขาว มีลายเป็นทางยาว ออกผลช่วงเดือนมีนาคม-พฤษภาคม
การขยายพันธุ์ของคอแลน หมักแวว
การเพาะเมล็ด
คอแลนพบตามป่าดงดิบ และป่าเบญจพรรณชื้นบ้าง ตามใกล้แหล่งน้ำ
ธาตุอาหารหลักที่คอแลน หมักแววต้องการ
ประโยชน์ของคอแลน หมักแวว
- ผลสุกใช้รับประทานเป็นผลไม้ มีรสเปรี้ยวหวาน
- เนื้อไม้ ใช้ก่อสร้าง ทำเครื่องมือการเกษตร
สรรพคุณทางยาของคอแลน หมักแวว
- ผลใช้เป็นยาช่วยการกระจายเลือด
- เปลือกใช้เป็นยาบำรุงเลือด
คุณค่าทางโภชนาการของคอแลน หมักแวว
การแปรรูปของคอแลน หมักแวว
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=12133&SystemType=BEDO
https://www.flickr.com