จอกหูหนู เนื้อใบหนานุ่ม ขอบใบห่อโค้งขึ้นทำให้ดูคล้ายหูหนู

จอกหูหนู

ชื่ออื่นๆ :

ต้นกำเนิด :

ชื่อสามัญ :  จอกหูหนู

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Salvinia cucullata Roxb. ex Bory

ชื่อวงศ์ : Salviniaceae

ลักษณะของจอกหูหนู

เป็นเฟินลอยน้ำ ลำต้นเป็นเหง้ากลม แตกกิ่งสาขาทอดขนานไปกับผิวน้ำ มีใบออกเวียนรอบ เป็น 3 แถว โดย 2 แถวบน เป็นส่วนที่เราเห็นเป็นใบลอยน้ำ เนื้อใบหนาและนุ่ม รูปกลม หรือกว้างมากกว่ายาว ขอบใบห่อโค้งขึ้นทำให้ดูคล้ายหูหนู ขอบใบเรียบ ขนาด 1.-1.8 ซ.ม. ตัวใบไม่เปียกน้ำ ผิวใบด้านบนปกคลุมแน่นด้วยตุ่มขน จัดเรียงเป็นแถว รูปร่างแถวไม่เป็นระเบียบ ผิวใบด้านล่างมีขนสีน้ำตาลปกคลุม ส่วนใบอีกแถวเป็นส่วนที่จมน้ำ ที่เรียกว่า ใบราก แตกกิ่งสาขาได้ มีสีขาว ปกคลุมด้วยขนน้ำตาล และเป็นส่วนที่สร้างกระเปาะเก็บสปอร์ ขยายพันธุ์ด้วยการแยกเหง้าแบ่งกอ

จอกหูหนู
จอกหูหนู ลำต้นเป็นเหง้า เนื้อใบหนาและนุ่ม รูปกลม ขอบใบห่อโค้ง

การขยายพันธุ์ของจอกหูหนู

แยกไหล, ขยายพันธ์รวดเร็วใช้ส่วนของลำต้นและสปอร์  พบตามคลองระบายน้ำ หนองน้ำ บ่อน้ำ บริเวณที่มีน้ำขัง

ธาตุอาหารหลักที่จอกหูหนูต้องการ

ประโยชน์ของจอกหูหนู

เป็นไม้ประดับในอ่างเลี้ยงปลา มีการนำจอกหูหนูไปหมักเป็นปุ๋ยอินทรีย์ สำหรับเพิ่มธาตุอาหารให้กับต้นไม้ และยังนำไปใช้เป็นอาหารเสริมในการเพาะเห็ดฟาง จอกหูหนู ยังเป็นตัวบ่งชี้เบื้องต้นในการวัดคุณภาพของแหล่งน้ำได้ด้วย กล่าวคือ จอกหูหนูที่เกิดในแหล่งน้ำที่มีปริมาณออกซิเจนเพียงพอ ใบของจอกหูหนูจะเป็นสีเขียวอมฟ้า แต่หากน้ำมีปริมาณออกซิเจนน้อยแล้ว ใบจะออกเหลือง

สรรพคุณทางยาของจอกหูหนู

คุณค่าทางโภชนาการของจอกหูหนู

การแปรรูปของจอกหูหนู

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=11084&SystemType=BEDO
https://www.flickr.com

Add a Comment