จิกทะเล ไม้มงคลพระราชทานประจำจังหวัดสมุทรสงคราม

จิกทะเล

ชื่ออื่นๆ : จิงเล, โดนเล (ภาคใต้) และ อามุง (มาเล-นราธิวาส)

ต้นกำเนิด :  มาดากัสการ์ อินเดีย ศรีลังกา ไต้หวัน ญี่ปุ่น ภูมิภาคมาเลเซียรวมถึงฟิลิปปินส์ หมู่เกาะในมหาสมุทรแปซิฟิก ไปจนถึงทางภาคเหนือของออสเตรเลีย และในหมู่เกาะโพลีนีเซีย

ชื่อสามัญ : จิกทะเล Fish Poison Tree, Putat และ Sea Poison Tree

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Barringtonia asiatica (L. ) Kurz

ชื่อวงศ์ : Lecythidaceae (Barringtoniaceae)

ลักษณะของจิกทะเล

ต้น เป็นพรรณไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ไม่ผลัดใบ มีความสูงได้ประมาณ 7-20 เมตร แตกกิ่งก้านสาขาออกที่เรือนยอดของลำต้น เรือนยอดเป็นพุ่มกลมทึบแตกกิ่งต่ำ ซึ่งเป็นกิ่งที่มีขนาดใหญ่จะมีรอยแผลอยู่ทั่วไป ซึ่งเป็นรอยแผลที่เกิดจากใบที่ร่วงหล่นไป เปลือกต้นเป็นสีน้ำตาลตาลหรือเทา แตกเป็นร่องตามแนวยาวและมีช่องระบายอากาศด้วย ส่วนเนื้อไม้เป็นสีขาวหรือสีเหลืองอ่อนๆ

ต้นจิกทะเล
ต้นจิกทะเล เรือนยอดเป็นพุ่มกลม เปลือกต้นเป็นสีน้ำตาลตาลหรือเทา

ใบ ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงเวียนสลับกันไปตามข้อต้น ลักษณะของใบเป็นรูปมนรี รูปไข่กลับ หรือรูปไข่แกมรูปขอบขนาน ปลายใบมนเว้า โคนใบสอบเข้าหาก้านใบ ส่วนขอบใบเรียบ แผ่นใบเป็นสีเขียว เนื้อใบหนาเกลี้ยงเป็นมันวาวด้านบน เส้นแขนงใบมีข้างละ 12-14 เส้น นูนทั้งสองด้าน

ใบจิกทะเล
ใบจิกทะเล แผ่นใบเป็นสีเขียว เนื้อใบหนาเกลี้ยงเป็นมันวาวด้านบน

ดอก ดอกเป็นช่อแบบช่อกระจะตามส่วนยอดของลำต้น ตั้งตรง ช่อหนึ่งจะมีดอกอยู่ประมาณ 7-8 ดอก ช่อดอกยาวประมาณ 2-15 เซนติเมตร แกนช่อหนา ดอกเป็นสีขาวและมีกลิ่นหอม เกล็ดหุ้มยอดเป็นรูปไข่ มีใบประดับเป็นรูปไข่ โดยจะออกดอกในช่วงประมาณเดือนพฤศจิกายนถึงเดือนธันวาคม

ดอกจิกทะเล
ดอกจิกทะเล ดอกเป็นสีขาวและมีกลิ่นหอม

ผล ผลเป็นผลแห้งไม่แตก ลักษณะของผลเป็นรูปพีระมิดสี่เหลี่ยม ตรงโคนผลจะเว้า ผลเป็นสีเขียวและเป็นมัน ผลเมื่อโตจะมีขนาดกว้างประมาณ 8.5-10 เซนติเมตร และยาวประมาณ 8.5-11 เซนติเมตร ผนังผลเป็นเส้นใยมีกากเหนียวหุ้มหนาคล้ายฟองน้ำ ทำให้ลอยน้ำได้คล้ายผลมะพร้าว ส่วนผนังผลด้านในแข็ง ภายในผลมีเมล็ด 1 เมล็ด เมล็ดมีลักษณะเป็นรูปขอบขนาน

ผลจิกทะเล
ผลจิกทะเล ผลเป็นรูปพีระมิดสี่เหลี่ยม ตรงโคนผลจะเว้า

การขยายพันธุ์ของจิกทะเล

การใช้เมล็ด

ชอบขึ้นตามริมชายหาดที่มีดินเลน และขึ้นได้ในที่มีดินเลนแข็ง

ธาตุอาหารหลักที่จิกทะเลต้องการ

ประโยชน์ของจิกทะเล

  • เป็นพันธุ์ไม้ที่พบได้ตามริมชายฝั่งทะเลที่เป็นดินทราย หรือโขดหิน 
  • ไม้มงคลพระราชทานประจำจังหวัดสมุทรสงคราม โดยสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถได้พระราชทานให้กับผู้ว่าราชการจังหวัดของแต่ละจังหวัด เพื่อให้นำไปปลูกเป็นสิริมงคลแก่จังหวัดและเพื่อเป็นการรณรงค์ให้ประชาชนปลูกต้นไม้ใน “โครงการปลูกป่าถาวรเฉลิมพระเกียรติ” เนื่องในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ รัชกาลที่ 9 ทรงครบรอบปีที่ 50 ในการครองราชสมบัติ ที่ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ เมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม 2537

สรรพคุณทางยาของจิกทะเล

ส่วนที่นำมาใช้ประโยชน์ : ใบ, เปลือก, ผล และ เมล็ด
สรรพคุณทางยา :

  1. ใบ รักษาบรรเทาอาการปวดศีรษะ
  2. เปลือก รักษาบรรเทาอาการปวดศีรษะ ยานอนหลับทำให้นอนหลับสบาย
  3. ผล รักษาบรรเทาอาการปวดศีรษะ
  4. เมล็ด ขับพยาธิออกจากร่างกาย

วิธีการใช้ :                                     

  1. รักษาบรรเทาอาการปวดศีรษะ นำใบมาต้มกับน้ำ ดื่มรับประทาน
  2. รักษาบรรเทาอาการปวดศีรษะ ยานอนหลับทำให้นอนหลับสบาย นำเปลือกมาต้มกับน้ำ ดื่มรับประทาน
  3. รักษาบรรเทาอาการปวดศีรษะ นำผลมาต้มกับน้ำ ดื่มรับประทาน
  4. ขับพยาธิออกจากร่างกาย นำเมล็ดมาต้มกับน้ำ ดื่มรับประทาน

คุณค่าทางโภชนาการของจิกทะเล

การแปรรูปของจิกทะเล

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th
https:// thaiherbal.org
https://www.flickr.com

One Comment

Add a Comment