ชำมะนาด
ชื่ออื่นๆ : ชำมะนาด, ดอกข้าวใหม่, ดอกขาวใหม่, อ้มส้าย
ต้นกำเนิด : ทวีปเอเชียเขตร้อน โดยเฉพาะเกาะชวา ประเทศอินโดนีเซีย และมาเลเซีย
ชื่อสามัญ : ชมนาด (Bread flower)
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Vallaris glabra (L.) Kuntze
ชื่อวงศ์ : APOCYNACEAE
ลักษณะของชำมะนาด
ต้น ไม้เถาเลื้อย ยาวได้ถึง 6 เมตร เนื้อค่อนข้างแข็ง มีน้ำยางสีขาว เปลือกมีร่องแตก
ใบ ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม รูปไข่แกมรูปรี ปลายแหลม โคนมน ขอบเรียบ แผ่นใบเป็นคลื่นเล็กน้อย ผิวใบด้านบนสีเขียวเข้มเป็นมัน
ดอก ช่อดอกแบบช่อกระจุก ออกตามซอกใบและปลายกิ่ง ช่อละ 15-30 ดอก ดอกสีขาว กลีบเลี้ยงสีเขียวอ่อน 5 กลีบ รูปสามเหลี่ยมแคบ กลีบดอกเชื่อมกัน เป็นรูปถ้วยตื้นสีขาว ปลายแยกเป็น 5 แฉก ปลายแหลมม้วนงอเข้าเล็กน้อย เกสรเพศผู้ 5 เกสร เกสรเพศเมียอยู่ภายในเหนือฐานรองดอก การติดดอก มกราคม – เมษายน
การขยายพันธุ์ของชำมะนาด
การใช้เมล็ด หรือตอนการตอนต้องรอให้ยางหมดก่อนจึงจะลงมือหุ้มมะพร้าวได้
ธาตุอาหารหลักที่ชำมะนาดต้องการ
ประโยชน์ของชำมะนาด
- ปลูกประดับซุ้มหรือข้างรั้ว
- ดอกชำมะนาด มีกลิ่นหอม คล้ายกลิ่นข้าวใหม่ หอมเหมือนใบเตยอ่อน หรือข้าวหอมมะลิสุกใหม่ ช่วยในการผ่อนคลาย บำรุงหัวใจซึ่งอาจเป็นเพราะมีกลิ่นอ่อน
- คนโบราณจึงมักนำดอกชำมะนาดอบเพื่อใช้กลิ่นมาทำขนมไทยๆ
- ชำมะนาดยังนำมาใช้ในการทำน้ำปรุงอีกด้วย
สรรพคุณทางยาของชำมะนาด
ยางขาว ใช้รักษาแผลภายนอกและยังเป็นยาถ่ายอย่างแรง
คุณค่าทางโภชนาการของชำมะนาด
การแปรรูปของชำมะนาด
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : www.bedo.or.th, www.adeq.or.th, www.flickr.com
One Comment