ดอกราตรี ดอกบานตอนกลางคืนและมีกลิ่นหอมแรง

ดอกราตรี

ชื่ออื่นๆ : หอมดึก, ต้นราตรี

ต้นกำเนิด : แคริบเบียน

ชื่อสามัญ : Lady of the night, Night Cestrum

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Costrum nocturnum Linn

ชื่อวงศ์ : Solanaceae

ลักษณะของดอกราตรี

ลำต้น เป็นพุ่ม ลำต้นสูงประมาณ  1 – 4  เมตร  กิ่งก้านเป็นเหลี่ยม ปลายโน้มลง

ใบ เดี่ยว ออกตรงกันข้าม ใบรูปรียาว ปลายและโคนใบเรียว แผ่นใบบาง สีเขียว รูปร่างของใบคล้ายกับใบหอก    ยาวประมาณ  8 – 16  เซนติเมตร  ตัวใบกว้างประมาณ   2.5 – 6  เซนติเมตร  ผิวใบเรียบ  ก้านใบยาวประมาณ  1 – 1.5  เซนติเมตร

ต้นดอกราตรี
ต้นดอกราตรี เป็นไม้พุ่ม กิ่งก้านเป็นเหลี่ยม

ดอก ออกดอกเป็นช่อตามซอกใบและปลายกิ่ง ดอกย่อยจำนวนมาก ขนาดเล็ก โคนกลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นหลอดยาว ปลายแยก 5 กลีบ สีขาวอมเขียวแล้วเปลี่ยนเป็นสีขาวนวล ดอกบานตอนกลางคืนและมีกลิ่นหอมแรง มักส่งกลิ่นในตอนกลางคืน  ออกดอกตลอดปี

ผล ค่อนข้างกลม สีขาวขุ่น ฉ่ำน้ำ เมล็ดแก่สีขาว ผลสุกถ้ารับประทานทำให้คลื่นไส้ ปวดศีรษะ อาเจียน ประสาทหลอน ใจสั่น ระคายเคืองเยื่อบุลำไส้เล็ก

ดอกราตรี
ดอกราตรี ดอกเป็นหลอดยาวสีขาวอมเขียวแล้วเปลี่ยนเป็นสีขาวนวล

การขยายพันธุ์ของดอกราตรี

ปักชำและตอนกิ่ง

ธาตุอาหารหลักที่ดอกราตรีต้องการ

ประโยชน์ของดอกราตรี

นิยมปลูกเป็นไม้ประดับ

สรรพคุณทางยาของดอกราตรี

ใบใช้ต้มน้ำดื่มแก้อาการเกร็งของกล้ามเนื้อ ควรใช้อย่างระมัดระวัง เพราะมีพิษถึงตายได้ เนื่องจากมีสาร sapogenin ซึ่งเป็นพิษต่อหัวใจ

ผลดอกราตรี
ผลดอกราตรี ผลกลม สีขาวขุ่น ฉ่ำน้ำ

คุณค่าทางโภชนาการของดอกราตรี

การแปรรูปของดอกราตรี

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=11611&SystemType=BEDO
https://www.flickr.com

2 Comments

Add a Comment