ดีหมี ไม้ยืนต้นไม่ผลัดใบ ทั้งต้นมีสรรพคุณทางยา

ดีหมี

ชื่ออื่นๆ : ดีหมี ดินหมี (ลำปาง) กาดาวกระจาย (ประจวบคีรีขันธ์) กาไล, กำไล (สุราษฎร์ธานี) คัดไล (ระนอง) จ๊ามะไฟ, มะดีหมี (เหนือ) เซยกะชู้ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน)

ต้นกำเนิด : พบขึ้นตามป่าดงดิบริมน้ำ ที่ระดับความสูง 400-800 เมตร 

ชื่อสามัญ :

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Cleidion spiciflorum (Burm.f.) Merr.

ชื่อวงศ์ : EUPHORBIACEAE

ลักษณะของดีหมี

ต้น เป็นไม้ยืนต้นไม่ผลัดใบ ใบออกดกหนา มีความสูงของต้นประมาณ 10-20 เมตร เปลือกต้นเกลี้ยงและเป็นสีเทาดำ

ใบ ใบเป็นใบเดี่ยวออกเรียงสลับ ลักษณะของใบเป็นรูปวงรี รูปวงรีแกมใบหอก หรือเป็นรูปใบหอก ปลายใบเรียวแหลม โคนใบแหลม ขอบใบเป็นหยักฟันเลื่อมแกมซี่ฟัน ใบมีขนาดกว้างประมาณ 3.5-8 เซนติเมตรและยาวประมาณ 10-22 เซนติเมตร แผ่นใบหนาเรียบเป็นมันและเป็นสีเขียวเข้ม หลังใบเป็นสีอ่อน ที่ซอกของเส้นใบด้านท้องใบจะมีต่อมกระจัดกระจาย ก้านใบยาวประมาณ 3-7 เซนติเมตร

ดอก ดอกเป็นแบบแยกเพศอยู่ต่างต้นกัน โดยจะออกดอกตามซอกใบ ดอกเพศผู้ออกดอกเป็นช่อกระจะเชิงลด ช่อดอกยาวประมาณ 8-21 เซนติเมตร มีกลีบเลี้ยง 3 กลีบ ดอกมีเกสรเพศผู้จำนวนมาก ส่วนดอกเพศเมียออกดอกเป็นดอกเดี่ยว ๆ ไม่มีกลีบดอก มีแต่กลีบเลี้ยงดอก 5 กลีบ ยอดเกสรเพศเมียแยกเป็นแฉก 2-3 แฉก

ผล ผลมีลักษณะค่อนข้างกลม มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 2-3.5 เซนติเมตร ลักษณะของผลเป็นพู 2 พู ภายในผลมีเมล็ดประมาณ 2-3 เมล็ด เมล็ดเป็นสีขาว มีลักษณะกลม ผลเมื่อแก่จะแห้งและแตกได้

ดีหมี
ดีหมี แผ่นใบหนาเรียบเป็นมันและเป็นสีเขียวเข้ม หลังใบเป็นสีอ่อน

 

ผลดีหมี
ผลดีหมี ผลกลม ลักษณะของผลเป็นพู 2 พู

การขยายพันธุ์ของดีหมี

การเพาะเมล็ด

ธาตุอาหารหลักที่ดีหมีต้องการ

ขึ้นได้ทุกสภาพดิน ความชื้นและแสงแดด

ประโยชน์ของดีหมี

ใบสด ๆ นำไปลวกกินเป็นเมี่ยงได้

สรรพคุณทางยาของดีหมี

  1. เปลือกต้นนำมาต้มกับน้ำดื่มเป็นยารักษามะเร็ง (เปลือกต้น)
  2. ตำรายาไทยใช้แก่นต้มกับน้ำดื่มเป็นยาแก้ไข้ (แก่น) หรือจะใช้ทั้ง 5 ส่วน (ราก, ต้น, ใบ, ดอก, ผล) นำมาต้มกับน้ำดื่มเป็นยาแก้ไข้ตัวร้อน ช่วยดับพิษไข้ก็ได้ (ทั้งต้น) ส่วนชาวเขาเผ่ากระเหรี่ยงจะใช้ราก ต้น หรือใบ นำมาต้มกับน้ำดื่มและอาบเป็นยาแก้ไข้ รักษาไข้มาลาเรีย (ต้น, ราก, ใบ)
  3. แก่นนำมาต้มกับน้ำดื่มช่วยแก้อาการร้อนในกระหายน้ำ (แก่น)
  4. แก่นนำมาต้มกับน้ำดื่มช่วยขับเหงื่อ (แก่น) หรือจะใช้ทั้งห้าส่วนนำมาต้มกับน้ำดื่มก็สามารถช่วยขับเหงื่อได้เช่นกัน (ทั้งต้น)
  5. ช่วยแก้อาการปวดศีรษะ (แก่น) หรือจะใช้ทั้งห้าส่วนนำมาต้มกับน้ำดื่มก็ได้เช่นกัน (ทั้งต้น)
  6. เปลือกต้นนำไปต้มกับน้ำเป็นยาแก้อาการปวดท้อง (เปลือกต้น)
  7. เมล็ดใช้รับประทานเป็นยาระบาย (เมล็ด)
  8. เปลือกต้นนำมาต้มกับน้ำดื่มเป็นยาแก้ตับพิการ (เปลือกต้น) บ้างว่าใช้ส่วนของเปลือกต้น ลำต้น กิ่ง และใบ ใช้แก้ตับอักเสบ ตับพิการ ใบไม้ตับ (ต้น, เปลือกต้น, กิ่ง, ใบ)
  9. ช่วยรักษาโรคผิวหนัง (เปลือกต้นต้มน้ำดื่ม)
  10. ใบใช้ต้มกับน้ำอาบแก้ผื่นคัน (ใบ)
  11. รากใช้ต้มกับน้ำดื่มแก้ลมพิษในกระดูก (ราก)

คุณค่าทางโภชนาการของดีหมี

การแปรรูปของดีหมี

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th
https:// pstip.cc
https://www.flickr.com

Add a Comment