ตะเคียนราก เนื้อไม้ค่อนข้างละเอียด ใช้ทำเสาและสิ่งปลูกสร้างทั่วไป

ตะเคียนราก

ชื่ออื่นๆ : แคนฮากหย่อง (บึงกาฬ) เคียน (ตราด) ตะเคียนแดง (ภาคตะวันออกเฉียงใต้) ตะเคียนทราย, ตะเคียนราก (ตราด)

ต้นกำเนิด :

ชื่อสามัญ :

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Hopea pierrei Hance

ชื่อวงศ์ : Dipterocarpaceae

ลักษณะของตะเคียนราก

ต้น  เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง สูงประมาณ 15-20 เมตร ไม่ผลัดใบ ลำต้นมักคดงอ โคนเป็นพูเล็กๆ และมีรากค้ำยันตามบริเวณโคนต้น เรือนยอดเป็นพุ่มกลมยาว หรือรูปเจดีย์ ค่อนข้างทึบ เปลือกเรียบสีน้ำตาลแก่ ค่อนข้างบาง มีประสีเทาทั่วไป เปลือกในสีน้ำตาลอมชมพู กระพี้สีเหลืองอ่อนปนน้ำตาล มีริ้วเป็นคลื่น ขวางกับรัศมี และมียางเหนียวๆ ซึมเมื่อตัดใหม่ๆ กิ่งอ่อนเรียบ เกลี้ยง

ใบ  ใบเป็นชนิดใบเดี่ยว รูปมนแกมรูปหอก ขนาด 2-4 x 4-8 ซม. โคนมนค่อยๆเรียวไปทางปลาย ปลายหยักเป็นติ่งทู่ๆ ยาวๆ เนื้อค่อนข้างหนา และเกลี้ยงเป็นมัน

ดอก  ดอกสีเหลืองอ่อน ออกเป็นช่อสั้นๆตามง่ามใบ และเหนือรอยแผลใบ ตอนปลายๆกิ่ง

ผล  ผลรูปกรวยแหลม ขนาด 7 x 10 มม. ปลายสุดเป็นหนามแหลม มีปีกรูปใบพาย 2 ปีก

ต้นตะเดียนราก
ต้นตะเดียนราก เปลือกเรียบสีน้ำตาลแก่ และมียางเหนียว

การขยายพันธุ์ของตะเคียนราก

ใช้เมล็ด/การเพาะปลูกด้วยเมล็ด

ธาตุอาหารหลักที่ตะเคียนรากต้องการ

ประโยชน์ของตะเคียนราก

  • แก่นสีน้ำตาลออกเหลืองอมเขียว แก่กว่าสีกระพี้เล็กน้อย สีใกล้เคียงกับไม้ตะเคียนทอง เมื่อถูกอากาศนานๆ สีจะคล้ำลงเล็กน้อย เสี้ยนตรง เนื้อค่อนข้างละเอียด แข็ง เหนียว เลื่อย ผ่า ไสกบ ตบแต่งไม้สู้ยากรัก ขัดชักเงาได้ดี
  • ไม้ ใช้ทำเสา กระดานพื้น คาน คร่าว ด้ามเครื่องมือ และสิ่งปลูกสร้างทั่วไป ฯลฯ
ผลตะเคียนราก
ผลตะเคียนราก ผลรูปกรวยแหลม มีปีกรูปใบพาย 2 ปีก

สรรพคุณทางยาของตะเคียนราก

  • เปลือก ต้มกับเกลือ อมป้องกันฟันหลุด เนื่องจากกินยาเข้าปรอท และใช้ชะล้างบาดแผลเรื้อรัง
  • แก่น ใช้ผสมยารักษาทางเลือดลม กษัย
  • ดอก อยู่ในจำพวกเกสรร้อยแปด ใช้ผสมยาทิพย์เกสร
  • ยาง ใช้ผสมน้ำมันรักษาบาดแผล

คุณค่าทางโภชนาการของตะเคียนราก

การแปรรูปของตะเคียนราก

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=9772&SystemType=BEDO
https://www.dnp.go.th

Add a Comment