ต้นงวงสุ่ม ทั้งต้นมีสรรพคุณทางยา ลำต้นใช้ทำเครื่องจักสาน

งวงสุ่ม

ชื่ออื่นๆ : ติ่งตั่งตัวผู้ (เหนือ) งวงสุ่มขาว, เมี่ยงชนวนไฟ, สังขยาขาว (พล สท) งวงสุ่ม (ตะวันออกเฉียงเหนือ) งวงชุม (ขอนแก่น) มันเครือ (นครราชสีมา) ดวงสุ่ม (อุบลราชธานี) ดอกโรค (เลย) ข้าวตอกแตก (กลาง) เถาวัลย์นวล (ราชบุรี) ประโยค (ตราด) หน่วยสุด (ใต้) กรูด (สุราษฎร์ธานี) ตะกรูด (นครศรีธรรมราช) มันแดง (กาญจนบุรี)

ต้นกำเนิด : อินเดีย จีนตอนใต้ และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ประเทศไทยพบได้ทุกภาคตามป่าเบญจพรรณและตามป่าดิบแล้งทั่วไป

ชื่อสามัญ :

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Calycopteris floribunda (Roxb.) Lam.

ชื่อพ้อง :  Getonia floribunda

ชื่อวงศ์ : COMBRETACEAE

ลักษณะของงวงสุ่ม

ต้นงวงสุ่ม ไม้เถาเลื้อยเนื้อแข็งขนาดใหญ่ สูง 1-5 เมตร เปลือกสีน้ำตาลเถาและกิ่งอ่อนมีขนปกคลุม

ต้นงวงสุ่ม
ต้นงวงสุ่ม ไม้เถาเนื้อแข็ง เปลือกเป็นสีน้ำตาลมีขนปกคลุม

ใบงวงสุ่ม  ใบเดี่ยว เรียงตรงข้ามหรือกึ่งตรงข้าม รูปไข่หรือรูปวงรี กว้าง 2-7 เซนติเมตร ยาว 6-17 เซนติเมตร ด้านบนมีขนนุ่มหนาแน่นเมื่อยังอ่อนอยู่ ท้องใบมีขนสีน้ำตาลแกมเหลืองหนาแน่น ปลายใบสอบแหลม ฐานใบมน ขอบใบเรียบมีลักษณะเป็นคลื่น

ใบงวงสุ่ม
ใบงวงสุ่ม ใบรูปไข่หรือรูปวงรี ด้านบนมีขนนุ่มหนาแน่นเมื่อยังอ่อนอยู่

ดอกงวงสุ่ม ดอกช่อขนาดใหญ่แบบแยกแขนง ออกที่ปลายกิ่ง ดอกย่อยจำนวนมาก กลีบเลี้ยงสีเขียวแกมเหลือง ไม่มีกลีบดอก มีริ้วประดับ สีเหลืองปนเขียว 5 กลีบ เกสรเพศผู้มี 10 อัน เรียงเป็น 2 วง วงละ 5 อัน ออกดอกช่วงเดือนกุมภาพันธ์ถึงมีนาคม

ดอกงวงสุ่ม
ดอกงวงสุ่ม ดอกออกเป็นช่อสีเขียวแกมเหลือง

ผลงวงสุ่ม ผลแห้ง รูปกระสวย มีกลีบเลี้ยงติดอยู่ มีเมล็ดเดียว

การขยายพันธุ์ของงวงสุ่ม

การเพาะเมล็ด, การตอนกิ่ง, การปักชำกิ่ง

เจริญเติบโตได้ในดินทุกประเภท ชอบแสงแดดจัด น้ำปานกลาง

ธาตุอาหารหลักที่งวงสุ่มต้องการ

ประโยชน์ของงวงสุ่ม

  • ลำต้นนำมาใช้ทำเครื่องจักสานได้
  • เครือมีเนื้อไม้เหนียว สามารถนำมาใช้ทำขอบกระบวยวิดน้ำสำหรับตักน้ำรดน้ำผักหรือขอบเครื่องจักสาน ทำด้ามมีด เครื่องใช้สอย

สรรพคุณทางยาของงวงสุ่ม

  • ใบมีรสเฝื่อน มีสรรพคุณเป็นยาเจริญอาหาร
  • ใบใช้เป็นยารักษาไข้ป่า ไข้มาลาเรีย
  • รากใช้เป็นยาแก้พิษไข้เด็ก
  • เปลือกต้นมีสรรพคุณเป็นยาบำรุงหัวใจ
  • เนื้อไม้เป็นยาแก้เบื่อเมา แก้พิษสุราเรื้อรัง
  • ใบใช้เป็นยาแก้อาการจุกเสียดแน่น
  • ใบใช้เป็นยาขับพยาธิ
  • เนื้อไม้ช่วยแก้ปัสสาวะดำหรือปัสสาวะเป็นเลือด
  • เปลือกต้นใช้เป็นยาแก้นิ่วในทางเดินปัสสาวะ
  • ยาพื้นบ้านอีสาน ใช้รากต้มน้ำดื่ม แก้กามโรค
  • ยาพื้นบ้านล้านนา  ใช้ลำต้นและราก ผสมกับ ลำต้นเปล้าลมต้น ลำต้นเปล้าลมเครือ ลำต้นรางแดง ลำต้นแหนเครือ ลำต้นบอระเพ็ด ลำต้นหนาด ต้มน้ำดื่ม แก้ปวดเมื่อย
  • ยาพื้นบ้านนครราชสีมา ใช้ใบแก้แผลเรื้อรัง นำใบตำให้ละเอียดผสมกับเนยทาแผล

องค์ประกอบทางเคมี : ดอกมีสารกลุ่มฟลาโวนอยด์ซึ่งมีฤทธิ์ต้านเนื้องอก

คุณค่าทางโภชนาการของงวงสุ่ม

การแปรรูปงวงสุ่ม

สามารถติดตามความรู้เเกี่ยวกับการเกษตร เพิ่มเติมได้ที่ เกษตรตำบล.คอม

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : ฐานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, www.arit.kpru.ac.th
ภาพประกอบ : www.flickr.com

One Comment

Add a Comment