ต้นฉนวน สรรพคุณทางยา ต้นใช้เลี้ยงครั่ง

ฉนวน

ชื่ออื่นๆ : กระพี้ (ลำปาง) กระพี้โพรง (ราชบุรี) ฉนวน, สนวน (ภาคกลาง) ไฮปันชั้น (ลำปาง)

ต้นกำเนิด :

ชื่อสามัญ : Cha nuan

ชื่อวิทยาศาสตร์ :  Dalbergia nigrescens Kurz.

ชื่อวงศ์ :  FABACEAE

ลักษณะของฉนวน

ต้น  เป็นไม้ต้นสูง 12-18 เมตร เปลือกสีเทาอ่อน แตกเป็นเกล็ดสี่เหลี่ยม

ต้นฉนวน
ต้นฉนวน เปลือกสีเทาอ่อน แตกเป็นเกล็ดสี่เหลี่ยม

ใบ  ใบประกอบแบบขนนกชั้นเดียวปลายคี่ เรียงสลับ ก้านใบยาว 2-4 เซนติเมตร ใบย่อย 9-15 ใบ เรียงสลับ รูปขอบขนาน ยาว 3-6 เซนติเมตร กว้าง 2-2.2 เซนติเมตร ปลายมนหรือเว้าตื้น ฐานมน ขอบเรียบ ท้องใบมีขนสั้นนุ่มหนาแน่น

ใบฉนวน
ใบฉนวน ใบปลายมน ฐานมน ขอบเรียบ ท้องใบมีขนสั้นนุ่มหนาแน่น

ดอก  ดอกแบบช่อแยกแขนง ยาว 10-15 เซนติเมตร ออกที่ซอกใบและปลายกิ่ง กลีบเลี้ยงมี 5 กลีบ กลีบดอกสีขาว เกสรเพศผู้ มี 9 อัน เชื่อมกันเป็นกลุ่มเดียว เกสรเพศเมีย มีรังไข่ที่มีขนสั้นนุ่ม ออกดอกมีนาคม – เมษายน

ดอกฉนวน
ดอกฉนวน กลีบดอกสีขาว ออกที่ซอกใบและปลายกิ่ง

ผล  ผลเป็นฝักแห้งแตกตามตะเข็บ แบน รูปขอบขนาน เมล็ด มี 3-4 เมล็ด รูปมนหรือกลม

การขยายพันธุ์ของฉนวน

พบทั่วไปในป่าเบญจพรรณป่าดงดิบแล้งทั่วไป บนความสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง 200 – 400 เมตร

ธาตุอาหารหลักที่ฉนวนต้องการ

ประโยชน์ของฉนวน

  • ต้นใช้เลี้ยงครั่งและไม้ทำเยื่อกระดาษ

สรรพคุณของฉนวน

ส่วนที่ใช้  ราก เปลือกต้น แก่น

  • ราก ป้องกันรังแค
  • เปลือกต้น ผสมลำต้นตาปู ลำต้นตาเสือ ต้มน้ำดื่ม แก้คอพอก
  • แก่น แก้ขี้เรื้อนใหญ่ ขี้เรื้อนกวาง และขี้เรื้อนน้ำเต้า

คุณค่าทางโภชนาการของฉนวน

การแปรรูปฉนวน

สามารถติดตามความรู้เเกี่ยวกับการเกษตร เพิ่มเติมได้ที่ เกษตรตำบล.คอม

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : www.forest.go.th, www.ananhosp.go.th
ภาพประกอบ : www.pantip.com, www.adeq.or.th

2 Comments

Add a Comment