ต้นพญาสัตบรรณ ต้นตีนเป็ด
ชื่ออื่นๆ : ชบา, ตีนเป็ด, พญาสัตบรรณ (ภาคกลาง) ยางขาว (ลำปาง) หัสบรรณ (กาญจนบุรี) ตีนเป็ดดำ (นราธิวาส) บะซา, ปูลา, ปูแล (ปัตตานี)
ต้นกำเนิด : เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และพบได้ทุกภาคในประเทศไทย
ชื่อสามัญ : White Cheesewood
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Alstonia scholaris R. Br
ชื่อวงศ์ : APOCYNACEAE
ลักษณะของต้นพญาสัตบรรณ ต้นตีนเป็ด
ต้น เป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่มีความสูงประมาณ 12-20 เมตรผิวลำต้นมีสะเก็ดเล็กๆสีขาวปนน้ำตาลกรีดดูจะมียางสีขาว ลำต้นตรง แตกกิ่งก้านสาขามากลักษณะเป็นชั้นๆ
ใบ ใบออกเป็นกลุ่มบริเวณปลายกิ่งช่อหนึ่งมีใบประมาณ 5-7 ใบ ก้านใบสั้น ใบสีเขียวถ้าเด็ดก้านใบจะมียางสีขาวลักษณะใบยาวรีปลายใบมนโคนใบแหลมขนาดใบยาวประมาณ 10-12 เซนติเมตร
ดอก ออกดอกเป็นช่อตามปลายกิ่งหรือส่วนยอดของลำต้นดอกเป็นกลุ่มคล้ายดอกเข็ม ช่อหนึ่งจะมีกลุ่มดอกประมาณ 7 กลุ่มดอกมีสีขาวอมเหลือง
ผล ผลเป็นฝักยาว มีกลิ่นหอมแรง ลักษณะเป็นเส้นๆ มีขุยสีขาวคล้ายฝ้ายปลิวไปตามลมได้ ในฝักมีเมล็ดเล็กๆ ติดอยู่กับขุยนั้น
การขยายพันธุ์ของต้นพญาสัตบรรณ ต้นตีนเป็ด
การใช้เมล็ด
ธาตุอาหารหลักที่ต้นพญาสัตบรรณ ต้นตีนเป็ดต้องการ
ประโยชน์ของต้นพญาสัตบรรณ ต้นตีนเป็ด
- พญาสัตบรรณเป็นพืชที่มีฤทธิ์ทางอัลลีโลพาที สารสกัดจากใบสามารถยับยั้งการเจริญของคะน้าได้
- สารสกัดจากเปลือกลำต้นสามารถยับยั้งการเจริญของข้าว ข้าวโพด คะน้า ถั่วเขียวผิวดำ ถั่วเขียวผิวมันได้
- พันธุ์ไม้มงคลพระราชทานประจำจังหวัดสมุทรสาคร โดยสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถได้พระราชทานให้กับผู้ว่าราชการจังหวัดของแต่ละจังหวัด เพื่อให้นำไปปลูกเป็นสิริมงคลแก่จังหวัดและเพื่อเป็นการรณรงค์ให้ประชาชนปลูกต้นไม้ใน “โครงการปลูกป่าถาวรเฉลิมพระเกียรติ” เนื่องในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ รัชกาลที่ 9 ทรงครบรอบปีที่ 50 ในการครองราชสมบัติ ที่ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ เมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม 2537
สรรพคุณทางยาของต้นพญาสัตบรรณ ต้นตีนเป็ด
ในเอเชียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ใช้เปลือกต้นพญาสัตบรรณรักษาโรคบิด ลำไส้ติดเชื้อ และมาลาเรีย ใบใช้ในการรักษาโรคระบบทางเดินหายใจเรื้อรัง ในประเทศอินเดียมีการนำส่วนต่างๆ ของต้น พญาสัตบรรณมาใช้เป็นพืชสมุนไพรเช่นใช้เป็นยาสมุนไพรรักษาโรคมาลาเรีย ในชื่อ Ayush-64 ซึ่งมีขายตามท้องตลาด นำยางสีขาวและใบรักษาแผล แผลเปื่อย และอาการปวดข้อ นอกจากนี้ ต้นพญาสัตบรรณยังเป็นแหล่งของสารอัลคาลอยด์ที่สาคัญ ในบอร์เนียว นำเนื้อไม้ไปทำทุ่นของแหและอวน
นอกจากนี้ไม่ตีนเป็ดยังเป็นพืชสมุนไพรอีกด้วยส่วนต่าง ๆ ของต้นตีนเป็ดมีสรรพคุณทางยาได้แก่
- เปลือก ใช้แก้ไข้ ขับระดู ขับพยาธิ ขับน้ำเหลืองเสีย ขับน้ำนมรักษามาเลเลีย แก้ท้องเสีย แก้บิด แก้ไอ รักษาเบาหวาน
- Latex จากต้น อุดฟัน แก้ปวดฟัน แก้แผลอักเสบหยอดหูแก้ปวด
- ใบอ่อนใช้ชงดื่ม รักษาโรคลักปิดลักเปิด แก้ไข้หวัด
ส่วนประกอบทางเคมี มีปริมาณสารละลายในแอลกอฮอล์ เบนซินร้อยละ 4.01
- น้ำเย็นร้อยละ3.99
- น้ำร้อนร้อยละ 5.55
- โซเดียมไฮดร๊อกไซด์ 1%
ร้อยละ 13.99 มีปริมาณ
- ขี้เถ้าร้อยละ1.24
- เพ็นโตซานร้อยละ 13.15
- ลิกนินร้อยละ 31.75
- โฮโลเซลลูโลสร้อยละ 69.35
- เซลลูโลส(ดร๊อซซ์และบีแวน) ร้อยละ 53.51
คุณค่าทางโภชนาการของต้นพญาสัตบรรณ ต้นตีนเป็ด
การแปรรูปของต้นพญาสัตบรรณ ต้นตีนเป็ด
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=9864&SystemType=BEDO
www.satitm.chula.ac.th
www.th.wikipedia.org
www.dnp.go.th
www.flickr.com
3 Comments