สิรินธรวัลลี
ชื่ออื่นๆ : สามสิบสองประโดง, ประดงแดง
ต้นกำเนิด : สิรินธรวัลลีเป็นพืชถิ่นเดียวของประเทศไทย พบครั้งแรกที่จังหวัดหนองคาย ตามชายป่าดิบแล้ง
ชื่อสามัญ :
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Bauhinia sirindhorniae K. & S.S. Larsen
ชื่อวงศ์ : CAESALPINIACEAE
ลักษณะของสิรินธรวัลลี
ต้น ไม้เถาเนื้อแข็ง ยาว 10-20 เมตร กิ่งอ่อนมีขนสีน้ำตาลแดง
ใบ ใบเดี่ยว รูปไข่ถึงเกือบกลม กว้าง 4-17 ซม. ยาว 5-18 ซม. ปลายใบแหลมและแยกเป็น 2 พู เว้าลึกเกือบถึงโคน ผิวใบเกลี้ยงด้านบนเขียวเข้มเป็นมัน หูใบเป็นเส้นม้วนโค้ง
ดอก ดอกสีน้ำตาลแดง ออกดอกเป็นช่อ ยาวได้ถึง 15 ซม. ดอกย่อยบานกว้างประมาณ 1 ซม. กลีบรองดอกเป็นหลอด กลีบดอกสีเหลืองอมส้มถึงแดง มี 5 กลีบ เกสรผู้สมบูรณ์ 3 อันรังไข่ และก้านเกสรเมียมีขน ออกดอกช่วงเดือน พฤษภาคม-สิงหาคม
ผล ผลเป็นฝักแบน รูปขอบขนาน กว้าง 3-4 ซม. ยาว 15-18 ซม. มีขนสีน้ำตาลแดงคลุมแน่น เมล็ด สีน้ำตาลดำรูปกลม ขนาดเล็ก
การขยายพันธุ์ของสิรินธรวัลลี
การใช้เมล็ด, การปักชำกิ่งและการตอนกิ่ง
ธาตุอาหารหลักที่สิรินธรวัลลีต้องการ
ประโยชน์ของสิรินธรวัลลี
- ปลูกเพื่อเป็นไม้ประดับตามบ้านเรือน และสถานที่ราชการ
- ปลูกเพื่อทำซุ้มสำหรับเป็นร่มเงาบังแดด
- ต้นสิรินธรวัลลี พันธุ์ไม้ในพระนามสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
- ต้นสิรินธรวัลลีเป็นต้นไม้และดอกไม้ประจำจังหวัดบึงกาฬ โดยสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถได้พระราชทานให้กับผู้ว่าราชการจังหวัดของแต่ละจังหวัด เพื่อให้นำไปปลูกเป็นสิริมงคลแก่จังหวัดและเพื่อเป็นการรณรงค์ให้ประชาชนปลูกต้นไม้ใน “โครงการปลูกป่าถาวรเฉลิมพระเกียรติ” เนื่องในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ รัชกาลที่ 9 ทรงครบรอบปีที่ 50 ในการครองราชสมบัติ ที่ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ เมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม 2537
สรรพคุณทางยาของสิรินธรวัลลี
- ผลอ่อน ขับปัสสาวะ แก้โรคหนองใน กามโรค ขับพยาธิในเด็ก
- ใบ เป็นยาขับพยาธิ
- เนื้อไม้ ใช้รักษาอาการประดงทั้งสามสิบสองประการ อาการคือ ผื่นคัน ปวดแสบปวดร้อน แก้น้ำเหลืองเสีย แก้ลมพิษ หรือภูมิแพ้ต่างๆ
- ลำต้นและรากแห้ง ทารักษาอาการฝีและหนอง
คุณค่าทางโภชนาการของสิรินธรวัลลี
การแปรรูปของสิรินธรวัลลี
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th
http:// www.agriman.doae.go.th
http:// www.ananhosp.go.th
http:// cfbt.or.th
https://www.flickr.com
One Comment