น้ำพริกอ่อง เมนูอาหารพื้นบ้านของภาคเหนือ

น้ำพริกอ่องเมนูอาหารเหนือ

น้ำพริกอ่อง เป็นน้ำพริกซึ่งนิยมรับประทานกันในภาคเหนือของประเทศไทย โดยเฉพาะเมื่อมีงานบุญหรืองานออกรับแขกบ้านแขกเมืองจะต้องมีอาหารชนิดนี้อยู่ในสำรับขันโตก

น้ำพริกอ่องมีรสเผ็ดจากพริก เปรี้ยวจากมะเขือเทศ (มะเขือส้ม) และเค็มจากถั่วเน่า ส่วนผสมทั้งสามอย่างนี้ทำให้น้ำพริกมีสีแดงส้มสะดุดตา น้ำพริกอ่องจะมีลักษณะคล้ายผัดหมูสับ มากกว่าจะเป็นน้ำพริกไว้จิ้มทั่วไป สามารถใส่น้ำขลุกขลิกหรือใส่น้ำจนลักษณะคล้ายแกงก็ได้ เป็นน้ำพริกที่นิยมรับประทานกับแคบหมูและผักสด เช่น แตงกวาหั่นแว่น ถั่วฝักยาว ผักกาดขาว กะหล่ำปลี ทั้งนี้จะไม่นิยมใส่น้ำตาล

เครื่องปรุงสำคัญคือมะเขือส้ม นำมาผัดเคี่ยวกับเนื้อหมู และน้ำพริก แต่เดิมจะใช้เนื้อปลาช่อนย่างเพราะเนื้อหมูหายาก คำว่า “อ่อง” ในที่นี้หมายถึง วิธีการปรุงน้ำพริกที่ต้องผัดเคี่ยวทิ้งไว้ให้น้ำค่อย ๆ งวดลง รับประทานคู่กับผักชนิดต่าง ๆ เช่น ขนุนอ่อนต้ม ใบบัวบก

น้ำพริกสำหรับผัดน้ำพริกอ่องจะคล้ายน้ำพริกแกงส้มของทางภาคกลาง เพียงแต่ไม่ใส่กระชายและใช้พริกแห้งแทนพริกหยวก (ภาษาเหนือเรียกว่า พริกหนุ่ม) น้ำพริกจึงประกอบไปด้วย พริก เกลือ หอมแดง กระเทียม กะปิ ถั่วเน่า สามารถใส่หรือไม่ใส่ตะไคร้ก็ได้ เดิมนั้นใช้ถั่วเน่าแผ่นปิ้งไฟให้หอม ปัจจุบันสามารถใช้เต้าเจี้ยวสีน้ำตาลตามท้องตลาดแทนได้ การเจียวน้ำพริกหากไม่ชอบกระเทียมเจียวก็สามารถเจียวด้วยหอมแดงซอย น้ำพริกอ่องสามารถนำไปทำเป็นน้ำเงี้ยวต่อได้

มะเขือเทศ
มะเขือเทศ ผลกลม สีแดง

ส่วนผสม

  1. หมูติดมันบด                                     1    ถ้วยตวง
  2. กระเทียมโขลกสําหรับเจียว        10    กลีบ
  3. มะเขือเทศลูกเล็ก (มะเขือส้ม )     1     กิโลกรัม  (หั่นแล้วตวง 3 ถ้วยตวง)
  4. มะเขือเทศผลใหญ่                         3     ลูก
  5. ผักชีหั่น                                         1/2    ถ้วยตวง
  6. นํ้ามันพืช                                      1/2    ถ้วยตวง
  7. นํ้าปลา                                             1     ช้อนโต๊ะ

ส่วนผสม

  1. พริกแห้งเม็ดใหญ่                           7      เม็ด
  2. พริกขี้หนูแห้ง                                15     เม็ด
  3. หอมแดง ซอย                               15      หัว
  4. กระทียมแกะเปลือก                     10      กลีบ
  5. กะปิ                                                  1       ช้อนโต๊ะ
  6. ข่าหั่น                                             1/4     ถ้วยตวง
  7. รากผักชีหั่น                                     1       ช้อนโต๊ะ
  8. เกลือ                                                 2       ช้อนช
ส่วนผสม
ส่วนผสมในการทำน้ำพริกอ่อง

วิธีการทำ

  1. มะเขือเทศทั้ง 2 ชนิดล้างนํ้าให้สะอาดบีบเมล็ดออก หั่นหรือสับ 45 ชิ้นต่อลูกแล้วแต่ขนาด ลูกเล็กใหญ่ รวมกัน พักไว้
  2. หั่นพริกแห้งแล้วโขลกรวมกับ หอมแดง กระเทียม ข่า รากผักชี เกลือ ให้ละเอียด จึงส่กะปิ หรือถั่วเน่าแผ่น (แทนกะปิ) โขลกให้เข้ากัน ตักใส่ถ้วย พร้อมนํ้าล้างครกละลายพริกเตรียมไว้
  3. นํ้ามันใส่กระทะพอร้อน นํากระเทียมลงเจียวพอเหลืองหอ
  4. ใส่นํ้าพริกที่โขลกไว้ ผัดให้หอม
  5. ใส่เนื้อหมูบด ผัดให้ส่วนผสมเข้านํ้าพริก พอสุกใส่มะเขือเท
  6. ผัดไปเรื่อยๆโดยใช้ไฟกลาง ปรุงรสด้วยนํ้าปลา ซีอิ้วขาว ถ้านํ้าพริกแห้งให้เติมนํ้า
  7. ผัดจนนํ้าพริกขึ้นเงา มะเขือเทศสุกมีนํ้าขลุกขลิกพอจิ้มติด โรยผักชี ยกลง
  8. รับประทานกับผัดสดตามฤดูกาลเช่น แตงกวา กะหลํ่าปลี ยอดกระถิน  ถั่วฝักยาว  ถั่วพู  กะหลํ่าดอก  มะเขือเปราะ ฯลฯ
การปรุง
การปรุงผัดส่วนผสมทั้งหมดให้เข้ากัน

เทคนิคประกอบการทำ

  1. มะเขือเทศหลังจากที่หั่นแล้วจะบีบเอานํ้าออกอีกครั้งก็ได้ถ้าไม่ชอบเปรี้ยวมาก
  2. การใช้มะเขือเทศลูกใหญ่ผสมด้วยเพื่อลดความเปรี้ยวและได้รสหวานตามธรรมชาติของมะเขือเทศด้ว
  3. นํ้าพริกอ่องมีรสชาติที่เป็นเอกลักษณ์ คือ เปรี้ยว เค็ม หวานตามรสธรรมชาติของมะเขือเทศ
  4. นํ้าพริกอ่องจะมีรสชาติอร่อยต้องรับประทานตอนสุกใหม่
  5. การเลือกใช้หมูติดมันจะทําให้นํ้าพริกอร่อยกว่าการใช้หมูเนื้อแดงเพราะนุ่มนํ้าพริกขึ้นเงาหอม น่ารับประทาน

คุณค่าทางโภชนาการของน้ำพริกอ่อง

เมื่อกล่าวถึงน้ำพริกอ่องก็เป็นทราบกันอยู่แล้วก็คือ อาหารทางภาคเหนือน้ำพริกอ่องมีจุดเด่นคือมะเขือเทศ ที่เป็นตัวที่ทำให้น้ำพริกอ่องเมนูนี้มีสีแดงสดใสน่ารับประทาน ซึ่งสีแดงสดใสพบได้จากสารสำคัญที่อยู่ในมะเขือเทศก็คือ เบต้าแคโรทีนและไลโคปีน สารทั้ง 2 ตัวนี้ เป็นตัวสำคัญที่มีประโยชน์ต่อร่างกายในการกำจัดสารพิษ ป้องกันอนุมูลอิสระและที่สำคัญในไลโคปีน (Lycopene) ยังช่วยในเรื่องของหลอดเลือดอุดตัน ช่วยลดไขมันอุดตันในเส้นเลือดได้ และก็ลดความเสี่ยงต่อโรคมะร็งได้ด้วย นอกจากนี้ในผู้ป่วยเบาหวานมีรายงานวิจัยพบว่าสารไลโคปีนยังช่วยชะลอการเกิดโรคเบาหวานได้ด้วย นอกจากนี้พริกเองก็ยังมีสารแคปไซซิน (capsaicin) วิตามินซี รวมทั้งเบต้าแคโรทีน (β-carotene) ก็ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพทำให้เมนูนี้มีประโยชน์ต่อผู้บริโภคมากยิ่งขึ้น แต่สิ่งที่ระวังในการทำน้ำพริกอ่องก็คือ เนื้อหมูที่ส่วนมากนิยมใช้หมูสับก็ควรเลือกเนื้อหมูแดงให้มากเพราะว่าจะได้มีปริมานไขมันจากเนื้อสัตว์น้อยลงด้วย

น้ำพริกอ่อง
น้ำพริกอ่อง เสิร์ฟคู่กับผักสด ผักต้ม แคบหมู

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ :
http://www.sby.ac.th
https:// th.wikipedia.org
http:// www.clm.up.ac.th

Add a Comment