เคี่ยม
ชื่ออื่นๆ : เคี่ยม (ทั่วไป) เคี่ยมขาว, เคี่ยมดำ, เคี่ยมแดง (ภาคใต้)
ต้นกำเนิด : ป่าดงดิบภาคใต้ของประเทศไทย
ชื่อสามัญ : Resak tembage
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Cotylelobium lanceolatum Craib
ชื่อวงศ์ : Dipterocarpaceae
ลักษณะของเคี่ยม
ต้น เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่สูง 20–40 เมตร เรือนยอดเป็นพุ่มทึบทรงเจดีย์ต่ำๆ ลำต้นตรง เปลือกต้นเรียบสีน้ำตาลเข้ม มีรอยด่างสีเทาและเหลืองสลับ มีต่อมระบายอากาศกระจายทั่วไป ตามยอดอ่อนและช่อดอกมีขนสีน้ำตาลปกคลุม
ใบ ใบเดี่ยวสลับกัน โคนใบมน ปลายสอบเรียว หลังใบลื่นเป็นมัน ท้องใบมีขนเป็นกระจุก ๆ สีน้ำตาล
ดอก ดอกเล็กสีขาว ออกตามง่ามใบ ปลายกิ่งเป็นช่อยาว กลิ่นหอม มีขนปกคลุม ออกดอกช่วงเดือนกรกฎาคม-ตุลาคม
ผล ผลกลมเล็กสีน้ำตาล มีขนเหมือนกำมะหยี่สีน้ำตาล มีปีก 5 ปีก ยาว 2 ปีก สั้น 3 ปีก รองรับผล
การขยายพันธุ์ของเคี่ยม
การเพาะเมล็ด และการตอนกิ่ง
ต้นเคี่ยม มีมากในป่าดิบ ที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี มี 2 ชนิด คือ เคี่ยมดำและเคี่ยมขาว ซึ่งเคี่ยมดำเปลือกหนาและเข้มกว่าเคี่ยมขาว ต้นเปล่ากลม เรือนยอดเป็นพุ่มคล้ายพุ่มสน มีกิ่งใบทึบ เปลือกลำต้นสีน้ำตาล มีรอยแต้มสีเทา และเหลืองแตกเป็นร่องตามยาว มีต่อมระบายอากาศ
ธาตุอาหารหลักที่เคี่ยมต้องการ
ปลูกได้กับดินทุกชนิด แสงแดดปานกลาง
ประโยชน์ของเคี่ยม
- เนื้อไม้ ทีความละเอียด แข็ง เหนียวหนักและทนทาน จึงใช้ไม้เคี่ยมต่างสายพาน รองหนุนเสาเรือน เพื่อลากเรือนทั้งหลังในการย้ายบ้าน หรือทำเลื่อนในการชักพระ นอกจากนี้ใช้ไม้เคี่ยมทำหมอนรองรางรถไฟ ทำเสาหลักผูกเทียบเรือ ทำสะพานท่าเรือ ทำสะพานทอดขนานไปกับลำน้ำ
- เปลือกไม้ เคี่ยม นำมาตัดเป็นชิ้น ๆ ขนาดประมาณ 1 X 2 นิ้ว ตัดเป็นรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน กระบอกตาลรองรับน้ำหวานจากต้นตาล เพื่อใช้รสฝาด รักษาน้ำตาลไม่ให้บูดก่อนนำมาเคี่ยว หรือ ใช้ใส่น้ำตาลเมา นอกจากนี้เปลือกเคี่ยมใช้เป็นยากลางบ้าน สำหรับห้ามเลือดบาดแผลสด
- ต้นไม้มงคลพระราชทานประจำจังหวัดสุราษฎรธานี โดยสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถได้พระราชทานให้กับผู้ว่าราชการจังหวัดของแต่ละจังหวัด เพื่อให้นำไปปลูกเป็นสิริมงคลแก่จังหวัดและเพื่อเป็นการรณรงค์ให้ประชาชนปลูกต้นไม้ใน “โครงการปลูกป่าถาวรเฉลิมพระเกียรติ” เนื่องในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ รัชกาลที่ 9 ทรงครบรอบปีที่ 50 ในการครองราชสมบัติ ที่ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ เมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม 2537
สรรพคุณทางยาของเคี่ยม
- ชันจากไม้เคี่ยม เป็นยาสมานแผล และแก้ท้องร่วง
- ยอด ราก ดอก ลำต้น ใช้ตำพอกแผล แก้ฟก บวม เน่าเปื่อย หรือใช้ผสมกับ เปลือกหว้า ต้มบ้วนปาก แก้ปากเปื่อย
คุณค่าทางโภชนาการของเคี่ยม
การแปรรูปของเคี่ยม
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=10956&SystemType=BEDO
www.chmthai.onep.go.th
www.greenarea.deqp.go.th
www.flickr.com