ทองคันชั่ง
ชื่ออื่นๆ : หญ้ามันไก่ ทองพันดุลย์ ทองคันชั่ง(กลาง)
ต้นกำเนิด :
ชื่อสามัญ : ทองคันชั่ง
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Rhinacanthus nasutus
ชื่อวงศ์ : ACANTHACEAE
ลักษณะของทองคันชั่ง
ทองพันชั่ง เป็นพันธุ์ไม้พุ่มสูงประมาณ1-1.50 เมตร แตกกิ่งก้านมาก กิ่งอ่อนเป็น
สี่เหลี่ยม ใบเดี่ยวรูปหอกหรือยาวรี ปลายแหลม โคนสอบแคบ โตเต็มที่ใบยาว ประ
มาณ 13 ซม. กว้างประมาณ 6 ซม. ดอกสีขาว ออกเป็นช่อตามซอกใบ ดอกเล็ก
กลีบดอก โคนเชื่อมกันเป็นหลอดยาวประมาณ 1 ซม. เหนือปากหลอด มีจุดประสี
แดงปลายแยกเป็น 2 ส่วน ส่วนบนเล็กเรียวโค้งขึ้น ปลายแยกเป็น 2 แฉก เกสรตัว
ผู้ 2 อัน ก้านเกสรสั้นติดอยู่ที่ปากหลอด

การขยายพันธุ์ของทองคันชั่ง
เพาะเมล็ดและนำกิ่งมาปักชำ
ธาตุอาหารหลักที่ทองคันชั่งต้องการ
ประโยชน์ของทองคันชั่งใบ และราก รักษากลาก เกลื้อน ผื่นคัน
ส่วนที่ใช้ประโยชน์
ใบ ใช้รักษาโรคกลากเกลื้อน(ใบสด 5-8 ใบ ตำให้ละเอียด เติมเหล้าโรงเล็กน้อย
ทาบริเวณที่เป็นเกลื้อนและกลาก หรือใช้ใบสด ตำให้ละเอียด ผสมน้ำมันก๊าด ทา
บริเวณที่เป็นกลาก
สรรพคุณทางยาของทองคันชั่ง
ตำรายาไทยใช้
ใบ และราก รักษากลาก เกลื้อน ผื่นคัน โดยใช้ใบสด และรากโขลกให้ละเอียด แช่เหล้าโรง 1 สัปดาห์ เอาน้ำเหล้าทาบริเวณที่มีอาการ วันละ 2-3 ครั้ง
ใบ รสเบื่อเย็น ดับพิษไข้ แก้ไข้ตัวร้อน แก้พยาธิผิวหนัง นำใบสดหรือคั่วแห้ง มาชงในน้ำดื่ม เป็นยาขับปัสสาวะ ยาระบาย
ราก รสเบื่อเมา แก้กลากเกลื้อน ผื่นคัน และโรคผิวหนังที่เป็นน้ำเหลืองบางชนิด
องค์ประกอบทางเคมี
ใบพบสารสำคัญคือ rhinacanthin และoxymethylanthraquinone
คุณค่าทางโภชนาการของทองคันชั่ง
การแปรรูปของทองคันชั่ง
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=11775&SystemType=BEDO
https://www.flickr.com